ความถ่วงจำเพาะ

ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity, SG) คืออัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสสารหนึ่ง ๆ ต่อความหนาแน่นของน้ำ เมื่อทั้งสองอย่างมีอุณหภูมิเท่ากัน ความถ่วงจำเพาะจึงเป็นปริมาณที่ไร้มิติ (ไม่มีหน่วย) วัตถุที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าหนึ่ง หมายความว่าวัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ดังนั้นวัตถุนั้นจะจมน้ำ (โดยไม่นับผลจากแรงตึงผิวของน้ำ) ในทางตรงข้าม หากความถ่วงจำเพาะน้อยกว่าหนึ่ง วัตถุนั้นจะลอยน้ำความถ่วงจำเพาะเป็นกรณีหนึ่งของความหนาแน่นสัมพัทธ์ (relative density) ซึ่งเป็นอัตราส่วนของสสารอย่างอื่นที่อาจไม่ใช่น้ำ และมักใช้แทนความหมายของความถ่วงจำเพาะในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การใช้ความถ่วงจำเพาะไม่เป็นที่นิยมในสาขาวิทยาศาสตร์ที่ต้องการความละเอียดสูง แต่ใช้ความหนาแน่นที่แท้จริงของสสารมากกว่าความถ่วงจำเพาะ SG หรือ ถ.พ. สามารถแสดงได้ด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ดังนี้เมื่อ ρ s u b s t a n c e {\displaystyle \rho _{\mathrm {substance} }\,} แทนความหนาแน่นของสสาร และ ρ H 2 O {\displaystyle \rho _{\mathrm {H} _{2}\mathrm {O} }} แทนความหนาแน่นของน้ำ (อักษรกรีก ρ เป็นสัญลักษณ์แทนความหนาแน่น) แต่ความหนาแน่นของน้ำนั้นเปลี่ยนแปรไปตามอุณหภูมิและความดัน จึงกำหนดให้ความถ่วงจำเพาะใช้ความหนาแน่นที่อุณหภูมิ 4°C (39.2°F) และความดันบรรยากาศปกติ (standard atmosphere) 1 atm ซึ่งในกรณีนี้จะได้ ρ H 2 O {\displaystyle \rho _{\mathrm {H} _{2}\mathrm {O} }} เท่ากับ 1000 kg·m−3 ในหน่วยเอสไอหากกำหนดความถ่วงจำเพาะของสสารหนึ่งมาให้ ความหนาแน่นที่แท้จริงจึงสามารถคำนวณได้โดยการแปลงสูตรด้านบนในบางโอกาส สสารอย่างอื่นที่ถูกอ้างถึงนอกเหนือจากน้ำก็ได้ระบุเอาไว้ (เช่น อากาศ) ซึ่งในกรณีดังกล่าวความถ่วงจำเพาะจะหมายถึงความหนาแน่นที่สัมพันธ์กับสสารนั้นด้วยเนื่องจากความถ่วงจำเพาะถูกนิยามให้เป็นปริมาณที่ไร้มิติ จึงไม่ขึ้นอยู่กับหน่วยของความหนาแน่นที่ใช้ (ไม่ว่าจะเป็น slugs·ft−3 หรือ kg·m−3) อย่างไรก็ตาม ความหนาแน่นทั้งสองจะต้องสามารถแปลงให้เป็นหน่วยเดียวกันก่อนคำนวณหาอัตราส่วน

ใกล้เคียง

ความถูกต้องทางการเมือง ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล ความถี่ ความถ่วงจำเพาะ ความถี่เชิงมุม ความถี่วิทยุ ความถี่เชิงพื้นที่ ความถี่มูลฐาน ความถี่เสียงเปียโน ความถนัดซ้าย