การดำเนินคดี ของ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

การดำเนินคดีครั้งแรกได้แก่ นาย ประเดิม ดำรงเจริญ ถูกกล่าวหาโจมตีพระมหากษัตริย์ในบทกวีที่เขียนลงในนิตยสารของนักศึกษา เขาถูกปล่อยตัวใน เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 คดีที่สอง ได้แก่ นักหนังสือพิมพ์ นาย เสนีย์ สูงนาท ข้อหาวิพากษ์วิจารณ์พระราชเสาวนีย์ พระราชินี ลงในหนังสือพิมพ์ดาวสยาม นาย เสนีย์ จำคุก สองปี ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2519

มีผู้มีชื่อเสียงในสังคมไทยหลายคนถูกสอบสวนหรือดำเนินคดีในข้อหาดังกล่าว เช่น วีระ มุสิกพงศ์ สนธิ ลิ้มทองกุล ก่อแก้ว พิกุลทอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีชาวต่างชาติที่กระทำผิดและเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเช่น กรณีแฮร์รี นิโคเลดส์

โดยปกติเวลาฟ้องคดีจะต้องนำตัวผู้ต้องหามายื่นฟ้องต่อศาลด้วย แต่หากผู้ต้องหาถูกขังอยู่ในเรือนจำ อาจไม่ต้องนำตัวมาก็ได้ (เช่น ใช้เทเลคอนเฟอเรนซ์) และศาลมาสามารถเบิกตัวมาสอบถามคำให้การได้ในภายหลัง[25]

สุวิชา ท่าค้อถูกจับกุมและตัดสินจำคุก 20 ปี ต่อมาลดโทษเหลือ 10 ปี จากการโพสต์รูปภาพในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งซึ่งถูกพิจารณาว่าดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ การพิจารณาคดีสุวิชาเป็นครั้งแรกที่การพิจารณาคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเป็นผลสำเร็จ[26][27]

ในหลายคดีนั้นปรากฏว่าแม้ไม่ได้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์โดยตรง แต่ศาลพิจารณาเจตนาแล้วตัดสินว่ามีความผิด เช่น กรณีของวีระ ศาลฎีกาพิจารณาว่าคำกล่าวปราศรัยหาเสียงของวีระดังต่อไปนี้เป็นความผิด[28]

...ถ้าผมเลือกเกิดเองได้ ผมจะไปเลือกเกิดทำไมเป็นลูกชาวนาจังหวัดสงขลา จะไปเลือกเกิดอย่างนั้นทำไม ถ้าเลือกเกิดได้ก็เลือกเกิดมันใจกลางพระบรมมหาราชวังนั่น ออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระซะก็หมดเรื่อง ไม่จำเป็นต้องออกมายืนตากแดดพูดให้พี่น้องฟัง เวลาอย่างนี้เที่ยงๆ ก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทมไปแล้ว ตื่นอีกที่ก็บ่ายสามโมง ที่มายืนกลางแดดอยู่ทุกวันนี้ ก็มันเลือกเกิดไม่ได้ [...] ถ้าคนเราเลือกที่เกิดได้ ผมทำไมจะไปเกิดเป็นลูกชาวนาที่สงขลาให้มันโง่จนอยู่ทุกวันนี้ ผมเลือกเกิดมันในใจกลางพระบรมมหาราชวังไม่ดีเหรอ เป็นพระองค์เจ้าวีระไปแล้ว ถ้าเป็นพระองค์เจ้าป่านนี้ก็ไม่มายืนพูดให้คอแหบคอแห้ง นี่เวลาก็ตั้งหกโมงครึ่ง ผมเสวยน้ำจัณฑ์ เพื่อให้มันสบายอกสบายใจไม่ดีกว่าเหรอ ที่มายืนพูดนี่ก็เมื่อยพระชงฆ์เต็มทีแล้วนะ

ผู้ถูกตั้งข้อหานี้มักไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และถูกคุมขังในเรือนจำหลายเดือนก่อนมีการไต่สวนในชั้นศาล[13] มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนว่า กระบวนการขอให้ปล่อยชั่วคราวตลอดจนการพิจารณาเฉพาะในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะพบอุปสรรคมากมาย[29] บางกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว เช่น กรณีนิรันดร์ เยาวภาว์ อดีตผู้ดูแลเว็บไซต์แมเนเจอร์ออนไลน์ กรณีเผยแพร่แถลงการณ์สำนักพระราชวังปลอมลงในเว็บไซต์แมเนเจอร์[30] และกฤษณ์ บุดดีจีน นปช. เพชรบูรณ์ กรณีโพสต์แถลงการณ์ปลอมเช่นเดียวกัน[31] ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ทหารสังกัดกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ จำนวน 4 นายควบคุมตัวเขาจากบ้านพัก[32]

ผู้กระทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มักขอพระราชทานอภัยโทษ[ต้องการอ้างอิง] และมีตัวอย่างที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามที่ขอ[33]

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงว่า สุริยัน สุจริตพลวงศ์ (หมอหยอง) หมอดูผู้ต้องขังฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย เสียชีวิตเมื่อเวลา 22.20 น. ที่โรงพยาบาลกลางกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ แพทย์ และอัยการ ร่วมชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตและตรวจสอบแล้วว่าระบบหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลวจากการติดเชื้อ[34]

ในบทความ อากงปลงไม่ตก สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ว่า "...ตามฟ้อง จำเลยอายุหกสิบเอ็ดปี มิได้แก่ชราจนต้องอยู่ในความอนุบาลดูแลของผู้ใด...มิได้แก่เฒ่าคราวปู่ทวด สำหรับบุคคลที่เจนโลกโชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคม สถาบันหลักของประเทศชาติ และองค์พระประมุขอันเป็นที่เคารพสักการะ...ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก..."[35] เขาแสดงความคิดเห็นต่อกรณีที่ศาลอาญามิได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่อำพลว่า "…ถ้าคดีใดอัยการโจทก์สามารถนำสืบพิสูจน์จนให้ศาลเห็นและเชื่อได้ว่า จำเลยมีเจตนาชั่วร้าย...จำเลยในคดีนั้นก็สมควรที่จะได้รับโทษานุโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี..."[36] และเห็นว่า พฤติกรรมที่เชื่อว่าเป็นของอำพลตามคำฟ้องนั้นร้ายแรงเสมือนน้ำผึ้งหยดเดียวที่อาจนำไปสู่ความเสียหายใหญ่หลวงได้[35]

ตัวอย่างการกระทำที่ถูกดำเนินคดี

วันที่เกิดเหตุผู้ถูกกล่าวหาการกระทำที่ถูกกล่าวหา
13 กรกฎาคม 2529วีระ มุสิกพงศ์กรณีปราศรัยหาเสียงหาเสียงที่จังหวัดบุรีรัมย์ (ดูรายละเอียดข้างต้น)

ศาลฎีกาตัดสินจำคุกสองกระทง กระทงละ 2 ปี รวม 4 ปี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2531)

ตุลาคม 2549รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์วันที่ 3 ตุลาคม ถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากคำให้สัมภาษณ์ที่ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม 2549 ที่ระบุว่า "นายกฯ ที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีทหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีเถื่อน" ซึ่งผู้แจ้งความกล่าวว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 และมีลักษณะต่อต้านพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย[37]
7 มิถุนายน 2551ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล
(ดา ตอร์ปิโด)
ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทำผิดหลายครั้ง 6 วาระ พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี รวม 6 วาระ เป็น 18 ปี ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บทบัญญัติตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ อาญา) มาตรา 177 ที่ศาลชั้นต้นสั่งพิจารณาคดีลับขัดหรือแย้งสิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 29 และ 40 หรือไม่ ซึ่งจำเลยเคยยื่นคำร้องให้ศาลชั้นต้นส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว แต่ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์อนุญาตตามตำร้อง และได้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า บทบัญญัติตาม ป.วิ อาญา มาตรา 177 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 29 และ 40 (2) ศาลอาญาจึงนัดพิพากษาคดีใหม่ในวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์แล้ว พิพากษาจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม รวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 15 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาในวันที่ 12 มิถุนายน 2556 ตามศาลชั้นต้น[38]
31 สิงหาคม 2551แฮร์รี นิโคเลดส์ถูกตั้งข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์จากข้อความละเมิดในหนังสือ Verisimilitude ที่พิมพ์เอง หนังสือดังกล่าวขายได้ 7 เล่ม และกล่าวถึง "ความพัวพันและการคบชู้โรแมนติก" ของพระบรมวงศานุวงศ์[39] หลังยอมรับสารภาพ เขาถูกพิพากษาจำคุกสามปี[40] แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษหลังรับโทษไปแล้วหนึ่งเดือน ถูกปล่อยตัวและเนรเทศ[41][42]
22 มีนาคม 2552ก่อแก้ว พิกุลทองกรณีกล่าวปราศัยทำนอง ประชาชนส่วนหนึ่ง ปลดรูปที่มีอยู่ทุกบ้าน[43]
24 พฤษภาคม 2553อำพล ตั้งนพกุลส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือถึงเลขานุการนายกรัฐมนตรี 4 ข้อความ ศาลอาญาพิจารณาแล้วเห็นว่า "ข้อความดังกล่าวมีลักษณะที่เป็นการดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท โดยประการที่จะน่าทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง" พิพากษาว่า มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กับทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) และ (3) เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายสี่กรรม ลงโทษจำคุกกระทงละห้าปี รวมเป็นจำคุกยี่สิบปี[44][45]
20 กรกฎาคม 2553สนธิ ลิ้มทองกุลนำคำพูดของดารณี เชิงชาญศิลปกุลมาเผยแพร่ซ้ำ ศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง โดยมองเจตนาว่ามิได้เจตนากระทำความผิด แต่เป็นการให้เจ้าหน้าที่เร่งดำเนินคดีกับดารณีในความผิดดังกล่าว[46]
6, 13 สิงหาคม 2556ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย
และพวก
ผู้ต้องหาร่วมแสดงละครเวทีและร่วมจัดละครเวที เรื่อง เจ้าสาวหมาป่า ในงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลาฯ ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งตำรวจอ้างว่ามีเนื้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตำรวจจับกุมตามหมายจับศาลอาญา เลขที่ 988/2557 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2557 ได้ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ต้องหายอมรับว่าร่วมแสดงละครดังกล่าว แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้หมิ่นพระมหากษัตริย์ เจ้าหน้าที่นำตัวมาควบคุมไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม[47]ต่อมา อัยการยื่นฟ้องในวันที่ 24 ตุลาคม 2557[25]
4 กันยายน 2556พงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็งโพสต์รูปภาพและข้อความประกอบลงบนเฟซบุ๊กจำนวน 6 ข้อความ สื่อทั้งหมดยังอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 อันเป็นช่วงที่คดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยต้องพิจารณาที่ศาลทหาร วันที่ 8 สิงหาคม 2558 ศาลทหารพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จำนวน 6 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 10 ปี รวม 60 ปี แต่จำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 30 ปี[48] เป็นโทษหนักที่สุดที่เคยมีมา
พฤศจิกายน 2557ณัฐพล สุวะดี
สุดาทิพย์ ม่วงนวล
ณรงค์ สุวะดี
ชากานต์ ภาคภูมิ
และพวก
ตำรวจฟ้องศาล โดยศาลอาญาออกหมายจับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ระหว่างฝากขัง ผู้ต้องหาหลบหนี 1 ราย ได้แก่ นพพร ศุภพิพัฒน์ ถูกศาลทหารกรุงเทพออกหมายจับเลขที่ 138/2557 ส่วน นาย ชากานต์ ได้เข้ามอบตัว
6 ธันวาคม 2558ฐนกร ศิริไพบูลย์ถูกอัยการตั้งข้อหาว่าโพสต์ผังราชภักดิ์ โพสต์ภาพ 3 ภาพบนเฟซบุ๊กซึ่งมีเนื้อหา "เสียดสี" คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง[49]
พัฒน์นรี หรือหนึ่งนุช ชาญกิจไม่ห้ามปรามหรือว่ากล่าวข้อความสนทนาผ่านโปรแกรมแชตเฟซบุ๊กที่ผู้อื่นส่งมา เข้าข่ายรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิด[50] ในข้อความ 3 ประโยค

รายละเอียดบางคดี

คดีหญิงตาบอดแชร์คลิปวิทยุ

คดีนี้นางสาว นูรฮายาตี  มะเสาะ จำเลยถูกฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ต่อมาศาลมีคำตัดสินว่าจำเลยไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ศาลระบุว่าความผิดตาม มาตรา 112 เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม ไม่ใช้ความผิดอาญาในตัวเอง[51]คำตัดสินดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ระบุว่าเป็นคำตัดสินที่แปลกมาก และตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการแทรกแซงคำตัดสินของศาล

คดีการปราศรัยในที่สาธารณะ

กรมสอบสวนคดีพิเศษเห็นพ้องให้ออกหมายเรียก ตามพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 โดยออกหมายเรียกบุคคลที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย จำนวน 18 คน คือ จตุพร พรหมพันธุ์, นายแพทย์เหวง โตจิราการ, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, ก่อแก้ว พิกุลทอง, ธิดา ถาวรเศรษฐ์, การุณ โหสกุล, ยศวริศ ชูกล่อม (เจ๋ง ดอกจิก), วิภูแถลง พัฒนภูมิไท, วีระกานต์ มุสิกพงศ์, ชินวัฒน์ หาบุญพาด, วิเชียร ขาวขำ, สุภรณ์ อัตถาวงศ์ (แรมโบ้อีสาน), ขวัญชัย สาราคำ (ไพรพนา), นิสิต สินธุไพร, จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ, วรวุฒิ วิชัยดิษฐ, ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์, สมชาย ไพบูลย์ และพายัพ ปั้นเกตุ[52]

เนื่องจากการกระทำบุคคลดังกล่าวฝ่าฝืนพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เช่นการปราศรัยในที่สาธารณะ ในวันที่ 10 เมษายน 2554 บริเวณอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย และก่อนหน้านี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีความเห็นว่าการกระทำของบุคลดังกล่าวเป็นภัยต่อความมั่นคงต่อรัฐ ทั้งนี้เมื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาตรา 18 ข้อ (2) ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนดในห้วงเวลาที่ ปฏิบัติการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงดำเนินการออกหมายเรียกโดยอาศัยอำนาจตามความพระราชบัญญัติ ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาตรา 18 ข้อ (1) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด (ออกหมายเรียก) และฟ้องร้องต่อศาลโดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติ ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาตรา 24 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา 18 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ภายหลังกรมสอบสวนคดีพิเศษออกหมายเรียกพายัพ ปั้นเกตุ เพิ่มอีก 1 ราย จึงรวมเป็น ทั้งหมด 19 ราย[53]

ผู้ถูกกล่าวหาส่วนใหญ่เป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[54] เช่น พันทิวา ภูมิประเทศ หรือทอม ดันดี ถูกเครือข่ายปกป้องสถาบันในเฟซบุ๊กร้องเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ให้มีการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาตรา 116 และมาตรา 135/2 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มาตรา 9 กับผู้เผยแพร่วิดิทัศน์ดังกล่าวในเว็บไซด์ยูทูบ[55] ต่อมา มีการปราศรัยของแกนนำ อาทิ จตุพร พรหมพันธุ์ ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 ผู้บัญชาการทหารบกได้ดำเนินการฟ้องร้อง ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ตามคดีนี้นาย ธาริต เพ็งดิษฐ์ สั่งไม่ฟ้อง[56]คดีจึงจบ รวมถึงคดีของบุคคลทั้ง 19 ราย ที่ก่อนหน้านี้มีการออกหมายเรียกด้วยซึ่งเป็นที่วิจารณ์กันมากเพราะรัฐบาลในขณะนั้นสนับสนุนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติในทางตรงและทางอ้อม

ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์

จากกรณีโชติศักดิ์ อ่อนสูง กับพวกรวม 2 คน ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 วันที่ 19 กรกฎาคม 2555 วิศิษฐ์ สุขยุคล อัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 กล่าวถึงกรณีอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ว่า ผู้ต้องหาไม่แสดงอาการอาฆาตมาดร้าย จึงไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นพ้องกับอัยการ คดีจึงเป็นอันยุติ วิศิษฐ์ สุขยุคลกล่าวว่า พฤติการณ์ดังกล่าว หากจะเป็นความผิด ก็ผิดกฎหมายเก่าปี 2485 และคดีมีอายุความ 1 ปี ซึ่งในคดีดังกล่าวพนักงานสอบสวนไม่ได้ตั้งข้อหามาด้วย คดีจึงหมดอายุความไปแล้ว[57]

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยในอดีต

พนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2548 ณัชกฤช จึงรุ่งฤทธิ์ โฆษณาโดยการกระจายเสียงข้อความซึ่ง "มีความหมายเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่นรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในอดีต เปรียบเทียบว่า ยุคของพระองค์เหมือนต้องไปเป็นทาส ไม่มีความเป็นอิสระ มีการปกครองที่ไม่ดี ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ ๔ เสื่อมเสียพระเกียรติยศ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง โดยเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ"[58]

ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๗๘/๒๕๕๖ ผู้พิพากษาวินิจฉัยตอนหนึ่งว่า "การที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น ผู้กระทำจึงจะเป็นความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ แม้จะกระทำต่ออดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว ก็ยังเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว"[58]

พยายามกระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การกวาดล้างเครือข่ายศรีรัศมิ์

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีประกาศเรื่อง มติคณะกรรมการคดีพิเศษให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ โดยรับกรณีกลุ่มบุคคลอ้างว่าตนเป็นผู้ดำเนินการโครงการธนาคารหมู่บ้านไบโอดีเซลและสหกรณ์พลังงานเพื่อไทยตามแนวพระราชดำริ หลอกลวงประชาชนเป็นคดีพิเศษ[59]นอกจากนั้นยังมีคดีฟ้องร้องเลขาธิการสำนักงานใต้ร่มพระบารมี[60] ดำเนินการจับกุมพ.ต.อ.อัครวุฒิ หลิมรัตน์ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ นวลรัตน์ เพ็งกิจเจริญเลิศ นพพร ศุภพิพัฒน์ ณัฐพล อัครพงศ์ปรีชา ณรงค์ สุวะดี ชากานต์ ภาคภูมิ สิทธิศักดิ์ สุวะดี สุทธิศักดิ์ สุทธิจิตต์ น.ท.ปริญญา รักวาทิน วิทยา แก้วขุนทศ ส.อ.ณธกร ยาศรี และ ส.อ.ธีรพงศ์ ช่อจำปี ในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยในคำฟ้องกล่าวหาว่าผู้ต้องหาดำเนินการหลอกลวงประชาชนโดยแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์

การรู้เห็นแชตบนเฟซบุ๊ก

วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 พัฒน์นรี หรือหนึ่งนุช ชาญกิจ มารดาของสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ (จ่านิว) แกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ถูกออกหมายจับในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย เจ้าหน้าที่ว่ามีหลักฐานเป็นข้อความสนทนาผ่านโปรแกรมแชตเฟซบุ๊กกับแนวร่วมพลเมืองโต้กลับอีกคนหนึ่ง ชื่อ นาย บุรินทร์ อินติน ซึ่งแม้หนึ่งนุชมิได้ตอบโต้ใด ๆ แต่ ทนายจำเลยอ้างว่า ตำรวจชี้แจงว่า การไม่ห้ามปรามหรือว่ากล่าวเข้าข่ายรู้เห็นเป็นใจ ซึ่งถือเป็นความผิดด้วย[50]คดีนี้ไม่มีการแถลงใด ๆ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หรือศาล มีแต่การแถลงฝ่ายเดียวจากทนายของฝ่ายจำเลยจึงเป็นหนึ่งในคดีที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ [61]ต่อมา พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างว่า นางพัฒน์นรี มีความผิดจริงแต่ไม่สามารถเปิดเผยข้อความได้

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย http://www.smh.com.au/national/author-denies-it-wa... http://www.theaustralian.com.au/news/thais-detain-... http://rspas.anu.edu.au/rmap/newmandala/wp-content... http://asiancorrespondent.com/97037/thailands-lese... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/investigation/2571... http://www.bangkokpost.com/news/local/189225/man-a... http://www.bangkokpost.com/news/local/233524/intel... http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/14766/l... http://article112.blogspot.com/2011/03/112_30.html