ขอบเขตและพัฒนาการ ของ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

ข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เป็นบทบัญญัติหนึ่งของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเริ่มมีขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2451[14] ทั้งนี้ข้อหาดังกล่าวใช้กับการ “หมิ่น” ผู้ดำรงฐานะ 4 อย่าง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 ธานินทร์ กรัยวิเชียร แก้ไขกฎหมายให้มีโทษสูงขึ้น โดยเพิ่มจากจำคุกสูงสุด 7 ปี เป็นจำคุกต่ำสุด 3 ปี และสูงสุด 15 ปี และขยายขอบเขตของความผิด "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"[15] เขายังตีความว่า กฎหมายห้ามครอบคลุมถึงการวิจารณ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถาบันพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์[3]

ความผิดตามกรณีนี้ไม่ว่าจะกระทำภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรไทยก็ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7) เช่น ประเสริฐ จิระวาณิชสกุล และเอนก ชัยชนะ ซึ่งพำนักที่สหรัฐอเมริกา[16]

นอกจากนี้ยังมีการจับกุมผู้ที่ส่งบริการสารสั้น (SMS) วิพากษ์วิจารณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งที่พระองค์มิใช่ผู้รับสาร[17] ระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีหลายคนถูกแจ้งข้อหาหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยใช้ภาษากาย[18]

มีข้อโต้แย้งกรณีการวิพากษ์วิจารณ์องคมนตรีในพระองค์ ว่าถือเป็นการวิพากษ์วิจารณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชหรือไม่[19] พลตำรวจโท ธีระเดช รอดโพธิ์ทอง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ปฏิเสธแจ้งข้อกล่าวหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยแก่นักเคลื่อนไหวที่เข้าชื่อเพื่อถอนประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ โดยอ้างว่า กฎหมายดังกล่าวใช้กับพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น[20] สองวันให้หลัง เขาถูกพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลดขั้น[21] ระหว่างเหตุความไม่สงบเมื่อเดือนเมษายน 2552 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรกล่าวหาประธานองคมนตรีว่าอยู่เบื้องหลังรัฐประหารปี 2549 ซึ่งผู้นิยมเจ้าตีความว่าเป็นการโจมตีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

นอกจากนี้ การเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเองก็ส่งผลให้ถูกแจ้งข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยด้วย[22] นักรัฐศาสตร์ ใจ อึ๊งภากรณ์ หมายเหตุว่า "กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์มิได้ออกแบบมาเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง ในอดีต กฎหมายนี้ถูกใช้เพื่อปกป้องรัฐบาล ปกป้องรัฐประหาร ภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ทั้งหมดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนอภิชนอนุรักษนิยมนอกกำแพงพระราชวัง"[23]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้มีการขอออกหมายจับชาวต่างชาติ 2 คน ได้แก่ นาย อิมิลิเอ เอสเทแบบ และ นาย ริชาร์ด สายสมร

ในต่างประเทศ มีรายงานว่าคนไทยได้เดินทางไปพบ นาง วันเพ็ญ วงศ์ทองดี หรือ นาง อภัสรา เท็งบลัด ที่บ้านพักในประเทศสวีเดน ภายหลังทำผิดในยูทูบ มีรายงานถึง คนไทยถูกไล่ออกจากงานในประเทศออสเตรเลียเพราะทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยคนไทยกดดันให้ไล่ออกจากงาน ได้แก่ นาย สมศักดิ์ ราชโส[24]

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย http://www.smh.com.au/national/author-denies-it-wa... http://www.theaustralian.com.au/news/thais-detain-... http://rspas.anu.edu.au/rmap/newmandala/wp-content... http://asiancorrespondent.com/97037/thailands-lese... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/investigation/2571... http://www.bangkokpost.com/news/local/189225/man-a... http://www.bangkokpost.com/news/local/233524/intel... http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/14766/l... http://article112.blogspot.com/2011/03/112_30.html