การวินิจฉัย ของ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ

เกณฑ์วินิจฉัย

ฉบับล่าสุดของ DSM คือ DSM-V ได้ปรับปรุงเกณฑ์วินิจฉัยของความผิดปกติทางบุคลิกภาพเกณฑ์ทั่วไปกำหนดว่า บุคลิกของบุคคลจะต้องต่างไปจากที่เป็นปกติตามที่คาดหวังได้ในวัฒนธรรมนั้น ๆ อย่างสำคัญ[45]นอกจากนั้นแล้ว ลักษณะทางบุคลิกภาพที่เป็นประเด็นจะต้องปรากฏโดยต้นวัยผู้ใหญ่การวินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพต้องผ่านเกณฑ์ 3 อย่างคือ

  • มีความบกพร่อง (impairment) อย่างสำคัญต่อประสิทธิภาพ (functioning) เกี่ยวกับตน (self-identity หรือ self-direction) และต่อประสิทธิภาพระหว่างบุคคล (ความเห็นใจผู้อื่น หรือความใกล้ชิดกับผู้อื่น)[46]
  • มีลักษณะทางบุคลิกภาพ (domain หรือ facet) ที่มีพยาธิสภาพ หนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น[46]
  • ความบกพร่องในประสิทธิภาพของบุคลิกภาพ และการแสดงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล จะต้องค่อนข้างเสถียรข้ามเวลา และจะต้องสม่ำเสมอในสถานการณ์ต่าง ๆ[46]
  • ความบกพร่องในประสิทธิภาพของบุคลิกภาพ และการแสดงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล จะต้องไม่ใช่เรื่องปกติสำหรับระยะพัฒนาการหรือสำหรับสิ่งแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมของบุคคลนั้น ๆ[46]
  • ความบกพร่องในประสิทธิภาพของบุคลิกภาพ และการแสดงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล ต้องไม่ใช่เกิดจากผลทางสรีรภาพโดยตรงของสาร (เช่นสารเสพติด ยา) หรือสภาวะทางแพทย์ทั่วไป (เช่น การบาดเจ็บที่หัวอย่างรุนแรง) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น[46]

ส่วนคำพรรณนาทางคลินิกและแนวทางการวินิจฉัยของ ICD-10 มีเกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่จำเพาะ ประกอบด้วยเกณฑ์ทั่วไปที่คล้าย ๆ กัน คือ[47]

  • มีทัศนคติและพฤติกรรมที่ไม่กลมกลืนกันอย่างสำคัญ โดยทั่วไปเกี่ยวกับประสิทธิภาพในหลาย ๆ ด้าน เช่น ในเรื่องอารมณ์ ความตื่นตัว การควบคุมความหุนหันพลันแล่น วิธีการรับรู้และการคิด และสไตล์การมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • มีรูปแบบพฤติกรรมผิดปกติที่ยั่งยืน เป็นเวลายาวนาน และไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่คราวเป็นโรคจิต
  • รูปแบบพฤติกรรมที่ผิดปกติแพร่ไปทั่ว และชัดเจนว่าเป็นการปรับตัวที่ผิดพลาดต่อสถานการณ์ทั้งในส่วนบุคคลและในส่วนสังคมมากมายหลายอย่าง
  • สิ่งทีกล่าวมาปรากฏในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น และดำเนินต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
  • ความผิดปกติทำให้เกิดความทุกข์เป็นส่วนตัวพอสมควร แต่อาจจะเพียงปรากฏชัดในระยะหลัง ๆ
  • ความผิดปกติมักจะ แต่ไม่ต้อง สัมพันธ์กับปัญหาทางอาชีพและทางสังคมอย่างสำคัญ

ICD ยังเพิ่มด้วยว่า "สำหรับวัฒนธรรมต่าง ๆ อาจจะต้องพัฒนาเซตกฎเกณฑ์โดยเฉพาะต่อความเป็นไป กฎ และหน้าที่ทางสังคม"

ในการรักษา โดยทั่วไปคนไข้จะได้รับการวินิจฉัยผ่านการสัมภาษณ์กับจิตแพทย์ โดยอาศัย mental status examination (การสอบสถานะจิต) ซึ่งอาจจะรวมสังเกตการณ์ที่ได้จากญาติหรือคนอื่น ๆวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้วินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพก็คือกระบวนการสัมภาษณ์ที่มีการให้คะแนนคือมีการให้คนไข้ตอบคำถาม และขึ้นอยู่กับคำตอบ ผู้สัมภาษณ์ที่ได้รับการฝึกมาแล้วจะพยายามเข้ารหัสคำตอบนั้นแต่นี่เป็นกระบวนการที่ใช้เวลามาก

บุคลิกภาพปกติ

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพปกติกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เป็นประเด็นที่สำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและจิตวิทยาคลินิกระบบการจัดชั้นบุคลิกภาพ (DSM IV TR และ ICD-10) ใช้วิธีการจัดหมวดหมู่ที่มองความผิดปกติว่าเป็นโรคต่างหาก ๆ ที่ต่างจากกันและกัน และจากบุคลิกภาพปกติโดยเปรียบเทียบกัน แนวคิดแบบมิติ (dimensional approach) เป็นแนวคิดอีกอย่างหนึ่งที่แสดงความผิดปกติโดยเป็นส่วนเพิ่มของลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของบุคลิกภาพปกติ แต่เป็นลักษณะที่ปรับตัวได้ไม่ดี

นักจิตวิทยาบุคลิกภาพท่านหนึ่งกับคณะ[48]ได้เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับการถกเถียงกันในเรื่องนี้อย่างสำคัญเขาได้กล่าวถึงข้อจำกัดของแนวคิดแบบจัดหมวดหมู่แล้วสนับสนุนแนวคิดแบบมิติเพื่ออธิบายความผิดปกติทางบุคลิกภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว เข้าได้เสนอแบบจำลองบุคลิกภาพมี 5 ปัจจัย (Five Factor Model ตัวย่อ FFM) โดยเป็นทางเลือกในการจัดหมวดหมู่ความผิดปกติยกตัวอย่างเช่น แนวคิดนี้กำหนดว่าความผิดปกติแบบก้ำกึ่ง สามารเข้าใจได้ว่า เป็นการผสมรวมกันของความอ่อนไหวทางอารมณ์ (คือ มี neuroticism ระดับสูง) ความหุนหันพลันแล่น (คือ มีความพิถีพิถัน [conscientiousness] ต่ำ) และมีความเป็นปฏิปักษ์สูง (คือ มีความยินยอมเห็นใจผู้อื่น [agreeableness] ต่ำ)

มีงานศึกษาข้ามวัฒนธรรมที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติทางบุคลิกภาพกับ FFM[49]และงานวิจัยเช่นนี้แสดงว่า ความผิดปกติทางบุคลิกภาพมีสหสัมพันธ์โดยองค์รวมในทิศทางตามที่คาดหวังกับค่าวัดต่าง ๆ ของ FFM[50]ซึ่งได้เบิกทางการรวม FFM เข้าใน DSM-5[51]

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพของ DSM-IV-TR จากมุมมองของ FFM เกี่ยวกับประสิทธิภาพของบุคลิกภาพทั่วไป[44]
ปัจจัย PPD SzPD StPD ASPD BPD HPD NPD AvPD DPD OCPD PAPD DpPD
Neuroticism (vs. emotional stability)
Anxiousness (vs. unconcerned) n/a n/a High Low High n/a n/a High High High n/a n/a
Angry hostility (vs. dispassionate) High n/a n/a High High n/a High n/a n/a n/a High n/a
Depressiveness (vs. optimistic) n/a n/a n/a n/a High n/a n/a n/a n/a n/a n/a High
Self-consciousness (vs. shameless) n/a n/a High Low n/a Low Low High High n/a n/a High
Impulsivity (vs. restrained) n/a n/a n/a High High High n/a Low n/a Low n/a n/a
Vulnerability (vs. fearless) n/a n/a n/a Low High n/a n/a High High n/a n/a n/a
Extraversion (vs. introversion)
Warmth (vs. coldness) Low Low Low n/a n/a n/a Low n/a High n/a Low Low
Gregariousness (vs. withdrawal) Low Low Low n/a n/a High n/a Low n/a n/a n/a Low
Assertiveness (vs. submissiveness) n/a n/a n/a High n/a n/a High Low Low n/a Low n/a
Activity (vs. passivity) n/a Low n/a High n/a High n/a n/a n/a n/a Low n/a
Excitement seeking (vs. lifeless) n/a Low n/a High n/a High High Low n/a Low n/a Low
Positive emotionality (vs. anhedonia) n/a Low Low n/a n/a High n/a Low n/a n/a n/a n/a
Openness (vs. closedness)
Fantasy (vs. concrete) n/a n/a High n/a n/a High n/a n/a n/a n/a n/a n/a
Aesthetics (vs. disinterest) n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a
Feelings (vs. alexithymia) n/a Low n/a n/a High High Low n/a n/a Low n/a n/a
Actions (vs. predictable) Low Low n/a High High High High Low n/a Low Low n/a
Ideas (vs. closed-minded) Low n/a High n/a n/a n/a n/a n/a n/a Low Low Low
Values (vs. dogmatic) Low n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a Low n/a n/a
Agreeableness (vs. antagonism)
Trust (vs. mistrust) Low n/a n/a Low n/a High Low n/a High n/a n/a Low
Straightforwardness (vs. deception) Low n/a n/a Low n/a n/a Low n/a n/a n/a Low n/a
Altruism (vs. exploitative) Low n/a n/a Low n/a n/a Low n/a High n/a n/a n/a
Compliance (vs. aggression) Low n/a n/a Low n/a n/a Low n/a High n/a Low n/a
Modesty (vs. arrogance) n/a n/a n/a Low n/a n/a Low High High n/a n/a High
Tender-mindedness (vs. tough-minded) Low n/a n/a Low n/a n/a Low n/a High n/a n/a n/a
Conscientiousness (vs. disinhibition)
Competence (vs. laxness) n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a High Low n/a
Order (vs. disorderly) n/a n/a Low n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a High Low
Dutifulness (vs. irresponsibility) n/a n/a n/a Low n/a n/a n/a n/a n/a High Low High
Achievement striving (vs. lackadaisical) n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a n/a High n/a n/a
Self-discipline (vs. negligence) n/a n/a n/a Low n/a Low n/a n/a n/a High Low n/a
Deliberation (vs. rashness) n/a n/a n/a Low Low Low n/a n/a n/a High n/a High

ตัวย่อที่ใช้: PPD - Paranoid Personality Disorder, SzPD - Schizoid Personality Disorder, StPD - Schizotypal Personality Disorder, ASPD - Antisocial Personality Disorder, BPD - Borderline Personality Disorder, HPD - Histrionic Personality Disorder, NPD - Narcissistic Personality Disorder, AvPD - Avoidant Personality Disorder, DPD - Dependent Personality Disorder, OCPD - Obsessive-Compulsive Personality Disorder, PAPD - Passive-Aggressive Personality Disorder, DpPD - Depressive Personality Disorder, n/a - not available.

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ http://193.146.160.29/gtb/sod/usu/$UBUG/repositori... http://behaviorismandmentalhealth.com/2010/05/05/p... http://www.asia.cmpmedica.com/cmpmedica_my/disppdf... http://counsellingresource.com/distress/personalit... http://www.diseasesdatabase.com/ddb9889.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=301.... http://emedicine.medscape.com/article/294307-overv... http://www.medscape.com/viewarticle/803884_8 http://nationalpsychologist.com/2006/11/glasser-he... http://www.pdmh-consultancy.com/publication-detail...