ความระบาดของโรค ของ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ

ความชุกของโรค (prevalence) ของความผิดปกติเช่นนี้ในกลุ่มประชากรทั่วไปไม่ปรากฏ จนกระทั่งมีงานสำรวจเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990ในปี 2008 อัตรามัธยฐาน (median rate) ของ PD ที่วินิจฉัยได้ประเมินอยู่ที่ 10.6% อาศัยงานศึกษาขนาดใหญ่ 6 งานใน 3 ประเทศเพราะมีอัตราที่ 1 ใน 10 และเพราะว่าสัมพันธ์กับการใช้บริการทางสุขภาพในระดับสูง จึงเรียกว่าเป็นประเด็นสาธารณสุขที่สำคัญที่ต้องการความใส่ใจทั้งจากนักวิจัยและแพทย์ผู้รักษา[55]

ความชุกของ PD แต่ละอย่างมีพิสัยตั้งแต่ 2%-3% สำหรับแบบที่สามัญกว่า เช่น แบบจิตเภท (schizotypal) แบบต่อต้านสังคม แบบก้ำกึ่ง และแบบ histrionic ไปจนถึงที่ 0.5-1% สำหรับแบบที่มีน้อยที่สุด เช่น แบบหลงตัวเอง และแบบหลีกเลี่ยง[44]

ส่วนงานสำรวจตรวจคัดโรคปี 2009 ใน 13 ประเทศโดยองค์การอนามัยโลก โดยใช้เกณฑ์ของ DSM-IV ประเมินความชุกของ PD ที่ 6%อัตราบางครั้งแปรไปตามปัจจัยทางประชากรและทางสังคม-เศรษฐกิจอื่น ๆ งานวิจัยยังพบด้วยว่า ประสิทธิภาพการดำเนินชีวิตที่บกพร่องบางส่วน เกิดจากความผิดปกติทางจิตที่เกิดร่วมอื่น ๆ[56]

ในงานสำรวจ National Comorbidity Survey Replication ระหว่างปี 2001-2003 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เกณฑ์วินิจฉัยของ DSM-IV และรวมการสัมภาษณ์กับผู้ตอบคำถามกลุ่มย่อยด้วย แสดงความชุกของโรคที่ 9% รวมทั้งหมดแต่ความพิการในการดำเนินชีวิตที่สัมพันธ์กับโรคที่วินิจฉัย ดูเหมือนจะมีเหตุมาจากความผิดปกติทางจิตที่เกิดร่วมกัน (Axis I ของ DSM) โดยมาก[57]

ส่วนงานวิทยาการระบาดระดับชาติปี 2010 ในสหราชอาณาจักรที่ใช้เกณฑ์ของ DSM-IV และจัดกลุ่มโดยระดับความรุนแรงด้วย รายงานว่า คนโดยมากมีความขัดข้องทางบุคลิกภาพ (personality difficulty) ไม่ประการใดก็ประการหนึ่ง ที่ยังไม่ถึงเกณฑ์วินิจฉัยว่าเป็นโรคในขณะที่ความชุกของกรณีที่ซับซ้อนที่สุดที่รุนแรงที่สุด (รวมทั้งที่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติหลายแบบในกลุ่มต่าง ๆ กัน) มีค่าประเมินอยู่ที่ 1.3%แม้ว่าอาการที่อยู่ในระดับต่ำก็ยังสัมพันธ์กับปัญหาการดำเนินชีวิต แต่บุคคลที่จำเป็นจะได้รับบริการมากที่สุดอยู่ในกลุ่มที่เล็กกว่ามาก[58]

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความแตกต่างระหว่างเพศเกี่ยวกับความถี่ของ PD ซึ่งแสดงอยู่ในตารางต่อไป

ความแตกต่างระหว่างเพศของความถี่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ[44]
ประเภท เพศที่เป็นโดยมาก
แบบระแวง (Paranoid) ชาย
แบบ Schizoid ชาย
แบบจิตเภท (Schizotypal) ชาย
แบบต่อต้านสังคม (Antisocial) ชาย
แบบก้ำกึ่ง (Borderline) หญิง
แบบ Histrionic หญิง
แบบหลงตัวเอง (Narcissistic) ชาย
แบบหลีกเลี่ยง (Avoidant) เท่ากัน
แบบพึ่งพา (Dependent) หญิง
แบบย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive) ชาย

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ http://193.146.160.29/gtb/sod/usu/$UBUG/repositori... http://behaviorismandmentalhealth.com/2010/05/05/p... http://www.asia.cmpmedica.com/cmpmedica_my/disppdf... http://counsellingresource.com/distress/personalit... http://www.diseasesdatabase.com/ddb9889.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=301.... http://emedicine.medscape.com/article/294307-overv... http://www.medscape.com/viewarticle/803884_8 http://nationalpsychologist.com/2006/11/glasser-he... http://www.pdmh-consultancy.com/publication-detail...