ประวัติ ของ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ

คำว่า "personality disorder" เป็นคำที่ใช้โดยมีความหมายปัจจุบันอย่างชัดเจนเนื่องจากเป็นคำที่ใช้ทางคลินิก และเพราะลักษณะความเป็นสถาบันของจิตเวชแผนปัจจุบัน (ซึ่งทำให้ใช้คำเหมือน ๆ กัน)แต่ความหมายที่ยอมรับกันในปัจจุบันจะต้องเข้าใจในบริบทของระบบหมวดหมู่ที่มีประวัติการเปลี่ยนแปลง เช่นของ คู่มือ DSM-IV และของคู่มือรุ่นก่อน ๆมีนักวิชาการบางท่านเสนอว่า มีแนวคิดโบราณที่คล้าย ๆ กันสืบไปได้จนถึงสมัยกรีซโบราณ[3]:35ยกตัวอย่างเช่น นักปราชญ์กรีกโบราณ Theophrastus กล่าวถึงลักษณะนิสัย 29 อย่างที่เขาเห็นว่าผิดไปจากปกติ และก็มีมุมมองที่คล้ายกันในวัฒนธรรมเอเชีย อาหรับ และเคลติกอีกด้วยส่วนแนวคิดทรงอิทธิพลที่ยั่งยืนมานานในโลกตะวันตกเป็นของแพทย์ชาวกรีกกาเลนในคริสต์ศตวรรษที่ 2 เกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพ ซึ่งเขาเชื่อมกับธาตุน้ำที่เป็นเหตุของโรค 4 อย่าง (four humours) ที่เสนอโดยฮิปพอคราทีส

มุมมองเช่นนี้อยู่ทนมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อผลการทดลองเริ่มคัดค้านเรื่องธาตุน้ำและทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่มีมาก่อน ๆ (เช่น four temperaments)และแนวคิดทางจิตวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัย (character) และอัตตา (self) เริ่มเป็นเรื่องที่แพร่กระจายอย่างกว้างขวางในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า personality หมายถึงความสำนึกที่บุคคลมีต่อพฤติกรรมของตน โดยเป็นสภาวะผิดปกติที่เชื่อมกับภาวะสับเปลี่ยน (altered state) เช่น dissociationการใช้คำในความหมายนี้เป็นเหมือนกับการใช้คำในวลีว่า multiple personality disorder ในคู่มือ DSM รุ่นแรก[62]

แพทย์ตะวันตกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เริ่มจะวินิจฉัยความวิกลจริต (insanity) รูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอารมณ์หรือพฤติกรรมวิปริต ที่ดูเหมือนจะไม่มีความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา ความหลงผิด (delusion) หรือประสาทหลอน (hallucination)นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิตเวชปัจจุบัน (Philippe Pinel) กล่าวถึงความผิดปกติเช่นนี้ว่า manie sans délire หมายถึง อาการฟุ้งพล่านที่ไม่ประกอบด้วยความหลงผิด แล้วอธิบายกรณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีความโกรธความเดือดดาลที่เกินเหตุหรือที่ไม่สามารถอธิบายได้ต่อมานายแพทย์ชาวอังกฤษ (James Cowles Prichard) ได้เสนอแนวคิดคล้าย ๆ กันที่เรียกว่า moral insanity ซึ่งได้ใช้วินิจฉัยคนไข้เป็นทศวรรษ ๆ ต่อมาคำว่า moral ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ ไม่ใช่หมายถึงศีลธรรมแต่เป็นระบบวินิจฉัยที่มีมูลฐานบางส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อทางสังคมและทางศีลธรรม โดยมีการมองในเชิงสิ้นหวังในการใช้วิธีการทางแพทย์เพื่อรักษา และดังนั้น กฎบังคับทางสังคมจะเป็นตัวควบคุมที่ดีกว่า[63]

การจัดหมวดหมู่เช่นนี้ต่างจากและครอบคลุมกว่านิยามของคำว่า personality disorder ที่ใช้ต่อ ๆ มาโดยมีนักวิชาการบางท่านที่พัฒนาการวินิจฉัยเยี่ยงนี้ให้จำเพาะกว่าโดยเกี่ยวกับความเสื่อมทรามทางศีลธรรม (moral degeneracy) ที่คล้ายกับแนวคิดเกี่ยวกับคำว่า psychopath (คนโรคจิตแบบอันธพาล) ที่ใช้ต่อมานี้เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่นายแพทย์ชาวเยอรมัน (Richard von Krafft-Ebing) สร้างความนิยมให้กับคำว่าซาดิสม์และมาโซคิสม์ และคำว่า homosexuality (รักร่วมเพศ) โดยจัดเป็นปัญหาทางจิตเวช

ต่อมาจิตแพทย์ชายเยอรมัน (Julius Ludwig August Koch) พยายามปรับปรุงแนวคิดเกี่ยวกับ moral insanity ให้เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น และในปี 1891 เสนอการใช้คำว่า psychopathic inferiority โดยตั้งทฤษฎีว่าเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดซึ่งหมายถึงรูปแบบที่สืบเนื่องและยืดหยุ่นไม่ได้ของการประพฤติผิดหรือผิดปกติที่ปราศจากความปัญญาอ่อนหรือความเจ็บป่วย ซึ่งเป็นคำที่ใช้แบบตั้งใจให้ไม่มีการตัดสินทางศีลธรรมแม้ว่าจะมีรากลึกในความเชื่อทางศาสนาคริสต์ งานของเขาได้กลายมาเป็นวรรณกรรมพื้นฐานเกี่ยวกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ยังใช้กันอยู่ทุกวันนี้[64]

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 น.พ.จิตเวชชาวเยอรมันคนหนึ่ง (Emil Kraepelin) รวมบทหัวข้อว่า "psychopathic inferiority" ในวรรณกรรมทรงอิทธิพลของเขาสำหรับนักศึกษาและแพทย์ซึ่งเขาแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ excitable (ตื่นง่าย) unstable (ไม่เสถียร) eccentric (พิกล) liar (นักโกหก) swindler (นักต้มฉ้อโกง) แล quarrelsome (ช่างทะเลาะ)หมวดหมู่เช่นนี้นิยามตามอาชญากรที่ผิดปกติที่สุดที่เขาเห็น โดยแยกเป็นอาชญากรตามอารมณ์ชั่ววูบ อาชญากรมืออาชีพ และคนจรจัดที่เป็นโรคเขายังกล่าวถึงความผิดปกติแบบ paranoid (ซึ่งสมัยนั้นหมายถึงว่า มีอาการหลงผิด คือ delusional) ซึ่งเหมือนกับแนวคิดของโรคจิตเภท ความผิดปกติแบบหลงผิด (delusional disorder) และความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบระแวงต่อมาและบทวินิจฉัยสำหรับแนวคิดหลังสุดนั้นก็เริ่มรวมเข้าใน DSM ตั้งแต่ปี 1952 แล้วต่อมาเริ่มตั้งแต่ปี 1980 DSM จึงรวมแบบ schizoid และแบบจิตเภทเพิ่มขึ้นด้วยการตีความทฤษฎีปี 1921 ของนายแพทย์ชาวเยอรมัน (Ernst Kretschmer) จึงทำให้แยกประเภทเหล่านี้จากอีกประเภทหนึ่งที่รวมเข้าใน DSM ในภายหลังคือ แบบหลีกเลี่ยง (avoidant)

ในปี 1933 จิตแพทย์ชาวรัสเซียคนหนึ่ง (Pyotr Gannushkin) พิมพ์หนังสือ (Manifestations of psychopathies: statics, dynamics, systematic aspects) เป็นงานแรก ๆ สุดที่พยายามสร้างแบบลักษณ์ของจิตพยาธิ (typology of psychopathies)โดยพิจารณาการปรับตัวผิด (maladaptation) การมีอยู่ทั่วไป และความเสถียรภาพว่าเป็นอาการหลัก 3 อย่างของโรคทางพฤติกรรม เขาแบ่งคนโรคจิตออกเป็น 9 กลุ่ม (cluster) คือ[65]

  1. cycloids รวมทั้งพวกเศร้าซึมเหตุสภาพร่างกาย พวกตื่นง่ายเหตุสภาพร่างกาย พวก cyclothymics และพวกอารมณ์ไม่มั่นคง
  2. asthenics รวมพวก psychasthenics
  3. schizoids รวมพวกนักเพ้อฝัน
  4. paranoiacs รวมพวกคลั่งไคล้ (fanatics)
  5. epileptoids
  6. hysterical personalities (บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย) รวมพวกนักโกหกแบบเป็นโรค (pathological liar)
  7. unstable psychopaths (โรคจิตแบบไม่เสถียร)
  8. antisocial psychopaths (โรคจิตต่อต้านสังคม)
  9. constitutionally stupid (ปัญญาอ่อนเหตุสภาพร่างกาย)

ต่อมา จิตแพทย์รักษาเด็กวัยรุ่นชาวรัสเซียอีกคนหนึ่ง (Andrey Yevgenyevich Lichko) ได้รวมแบบลักษณ์นั้นบางส่วนเขาในทฤษฎีของตนเอง จิตแพทย์ผู้นี้สนใจในเรื่องโรคจิต บวกกับรูปแบบอาการที่อ่อนกว่าที่เขาเรียกว่า accentuations of character[66]

ในปี 1939 จิตแพทย์ชาวสกอตแลนด์ผู้หนึ่งตั้งทฤษฎี psychopathic states ที่ต่อมานิยมใช้เป็นคำหมายถึงพฤติกรรมต่อต้านสังคมแต่เป็นหนังสือปี 1941 (The Mask of Sanity) ของจิตแพทย์ชาวอเมริกันที่จัดหมวดหมู่ความคล้ายคลึงกันที่เขาพบในนักโทษ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดปัจจุบันทางคลินิกเกี่ยวกับคำว่า psychopathy (โรคจิต, โรคอันธพาล)[67]โดยคำที่นิยมใช้ทั่วไปว่า "psychopath" หมายถึงคนที่แสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคมอย่างรุนแรงและปราศจากศีลธรรมหรือความเห็นใจผู้อื่น[68] (เหมือนกับตัวร้ายในภาพยนตร์ ไซโค)

ในช่วงเกือบกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์กำลังได้ความนิยมโดยเป็นผลงานช่วงเปลี่ยนศตวรรษของซิกมุนด์ ฟรอยด์และจิตแพทย์อื่น ๆซึ่งรวมแนวคิดเกี่ยวกับ "character disorders" (ความผิดปกติของอุปนิสัย) ซึ่งมองว่าเป็นปัญหายืนยงที่ไม่ได้เชื่อมกับอาการใดอาการหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เชื่อมกับความขัดแย้งภายในที่แพร่หลาย หรือกับการขัดข้องของพัฒนาการปกติในวัยเด็กโดยเป็นปัญหาเกี่ยวกับความอ่อนแอทางอุปนิสัย หรือเป็นพฤติกรรมผิดปกติที่ทำโดยตั้งใจ แต่ต่างจากโรคประสาท (neurosis) และโรคจิต (psychosis)ส่วนคำว่า borderline (ก้ำกึ่ง) มาจากความเชื่อว่าบุคคลบางคนมีพฤติกรรมแบบคร่อมรั้วระหว่างโรคสองอย่างนั้นและดังนั้น การจัดหมวดหมู่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพอื่น ๆ ก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเช่นนี้เช่นกัน รวมทั้งแบบพึ่งพา แบบย้ำคิดย้ำทำ และแบบ histrionic[69]โดยแบบหลังสุดเริ่มจัดโดยเป็นโรคคอนเวอร์ชันซึ่งมักเกิดในหญิง ต่อจากนั้นจึงเป็น hysterical personality และต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น histrionic personality disorder ในรุ่นหลัง ๆ ของ DSMส่วนลักษณะนิสัยแบบดื้อเงียบ (passive aggressive) หมอทหารอเมริกันคนหนึ่ง (William Menninger) เป็นผู้นิยามทางคลินิกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในบริบทของปฏิกิริยาของทหารในการเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งต่อมากำหนดเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพใน DSM[70]ส่วนศาสตราจารย์จิตเวชที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลคนหนึ่ง (Otto Kernberg) มีอิทธิพลต่อแนวคิดของความผิดปกติแบบก้ำกึ่ง และแบบหลงตัวเอง ซึ่งรวมเข้าใน DSM ในปี 1980

ในช่วงเวลาเดียวกัน สาขาจิตวิทยาบุคลิกภาพก็เริ่มพัฒนาขึ้นในหมู่นักวิชาการและในแพทย์ผู้รักษาศ.กอร์ดอน ออลพอร์ตได้ตั้งทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพ (personality traits) เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920และ ศ.ดร.เฮ็นรี่ เมอร์รีย์ ตั้งทฤษฎีที่เรียกว่า personology ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้สนับสนุนแนวคิดเรื่อง PD หลักคือ ศ. ธีโอดอร์ มิลลอนมีการพัฒนาข้อทดสอบเพื่อประเมินบุคลิกภาพ รวมทั้งข้อทดสอบเชิงภาพฉาย (projective test) เช่น แบบทดสอบรอร์ชัค (Rorschach test)และข้อทดสอบเป็นแบบคำถามเช่น Minnesota Multiphasic Personality Inventoryราวกลางศตวรรษ ดร. ไอเซ็งก์ (Hans Eysenck) ได้เริ่มวิเคราะห์ลักษณะบุคลิกภาพ (trait) และบุคลิกภาพประเภทต่าง ๆ (type)และจิตแพทย์ชายเยอรมันคนหนึ่ง (Kurt Schneider) ได้สร้างความนิยมในการใช้คำว่า personality ในทางคลินิก แทนคำว่า "character" "temperament" หรือ "constitution" ที่เคยใช้กันมาก่อน

จิตแพทย์อเมริกันเริ่มยอมรับแนวคิดเกี่ยวกับความปั่นป่วนทางบุคลิกภาพ (personality disturbance) ใน DSM รุ่นแรกในช่วงคริต์ทศวรรษ 1950 ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้แนวคิดจากจิตวิเคราะห์โดยมากอยู่ต่อมาภาษาที่เป็นกลาง ๆ มากขึ้นจึงเริ่มใช้ใน DSM-II ในปี 1968 แม้ว่าคำที่ใช้และคำอธิบายโดยมาก จะไม่เหมือนคำที่ใช้ในปัจจุบันDSM-III ที่ตีพิมพ์ในปี 1980 มีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งก็คือ การรวมความผิดปกติทางบุคลิกภาพทั้งหมดลงใน axis ที่สองต่างหากร่วมกับปัญญาอ่อน (mental retardation)โดยมุ่งหมายเพื่อแสดงรูปแบบที่ยั่งยืนกว่า ต่างจากความผิดปกติทางจิต (mental disorder) ใน axis ที่หนึ่งส่วนความผิดปกติแบบ inadequate และแบบ asthenic ถูกลบออก และแบบอื่น ๆ แตกออกเป็นแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนจากเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ไปเป็นความผิดปกติธรรมดาทั่วไปSociopathic personality disorder ซึ่งใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของ psychopathy (โรคจิต) เปลี่ยนชื่อเป็น Antisocial Personality Disorderประเภทต่าง ๆ โดยมากได้คำนิยามที่จำเพาะเจาะจงเพิ่มขึ้น โดยมีเกณฑ์ที่จิตแพทย์สามารถมีมติร่วมกันได้เพื่อที่จะทำงานวิจัยหรือวินิจฉัยคนไข้[71]DSM-III รุ่นปรับปรุง เพิ่มความผิดปกติแบบ self-defeating และแบบ sadistic โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีงานศึกษาเพิ่มขึ้นในแบบใหม่เหล่านี้ซึ่งทั้งสองไม่ได้รวมใน DSM-IV แม้ว่าแบบ depressive ที่เสนอจะได้รวมเข้านอกจากนั้นแล้ว มีการเปลี่ยนชื่อแบบ passive-aggressive (ดื้อเงียบ) ไปเป็นแบบ negativistic อย่างชั่วคราว แล้วจึงลบออกโดยสิ้นเชิงต่อมา[72]

ในระดับสากล มีความแตกต่างทางทัศนคติเกี่ยวกับการวินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพยกตัวอย่างเช่นจิตแพทย์ชาวเยอรมันคนหนึ่ง (Kurt Schneider) อ้างว่า ความผิดปกติเป็นเพียงแค่ "ความต่าง ๆ กันที่ถึงขีดความผิดปกติของจิตใจ" และดังนั้น จึงอาจไม่ใช่ประเด็นทางจิตเวช ซึ่งเป็นมุมมองที่ยังมีอิทธิพลในประเทศเยอรมนีจนถึงทุกวันนี้ส่วนจิตแพทย์ชาวอังกฤษไม่ได้ต้องการที่จะรักษาความผิดปกติเยี่ยงนี้ หรือที่จะพิจารณาว่าเป็นความผิดปกติเช่นเดียวกันกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆซึ่งมีการอธิบายว่า ส่วนหนึ่งมีเหตุมาจากการขาดทรัพยากรที่จะจัดการรักษาโรคของหน่วยสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service) และทัศนติเชิงลบของแพทย์ต่อพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับความผิดปกติส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งระบบรักษาพยาบาลที่มีทั่วไป และประวัติการรักษาโรคโดยจิตวิเคราะห์ เป็นมูลเหตุที่แพทย์พยาบาลเอกชนจะวินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพให้กว้าง ๆ เพื่อที่จะมีโอกาสให้การรักษาพยาบาลกับคนไข้แบบต่อไปเรื่อย ๆ[73]

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ http://193.146.160.29/gtb/sod/usu/$UBUG/repositori... http://behaviorismandmentalhealth.com/2010/05/05/p... http://www.asia.cmpmedica.com/cmpmedica_my/disppdf... http://counsellingresource.com/distress/personalit... http://www.diseasesdatabase.com/ddb9889.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=301.... http://emedicine.medscape.com/article/294307-overv... http://www.medscape.com/viewarticle/803884_8 http://nationalpsychologist.com/2006/11/glasser-he... http://www.pdmh-consultancy.com/publication-detail...