ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง[6] (อังกฤษ: Narcissistic personality disorder, NPD) หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ โรคหลงตัวเอง เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติในระยะยาว อาการหลักได้แก่การรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง มีความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ และการไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น[3] ผู้เป็นโรคนี้เสียเวลากับการคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ ความมีอำนาจ หรือเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตน พวกเขามักเอาเปรียบคนรอบข้าง พฤติกรรมมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเกิดขึ้นได้ในหลายเหตุการณ์ยังไม่มีใครรู้สาเหตุของโรคหลงตัวเอง[4] คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตจัดให้โรคนี้อยู่ในกลุ่ม B (cluster B) โรคถูกวินิฉัยด้วยการสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ โรคนี้ต่างจากอาการฟุ้งพล่าน และอาการติดยาการรักษายังไม่ถูกศึกษามากนัก การบำบัดมักเป็นไปได้ยากเนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา[2] เชื่อกันว่าคนประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นต์เป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โรคนี้มักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและในคนหนุ่มสาวมากกว่าคนมีอายุ บุคลิกภาพนี้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2468 โดยโรเบิร์ต วีลเดอร์ (Robert Wealder) โดยชื่อที่ใช้ในปัจจุบันถูกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2511[7]

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง

อาการ รู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง ความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ ไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น[2][3]
สาขาวิชา จิตเวชศาสตร์
ระยะดำเนินโรค ระยะยาว[3]
สาเหตุ ไม่ทราบ[4]
ความชุก 1%[4]
การรักษา ยาก[2]
ชื่ออื่น Narcissistic personality disorder, megalomania[1]
การตั้งต้น วัยรุ่น[3]
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคอารมณ์สองขั้ว, การติดยาเสพติด, โรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล[5]

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง http://www.health.am/psy/narcissistic-personality-... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3181941 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11086146 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20373672 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21430487 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25930131 //doi.org/10.1037%2Fa0028580 //doi.org/10.1053%2Fcomp.2000.16560 //doi.org/10.1097%2F01.pra.0000396060.67150.40 //doi.org/10.1176%2Fappi.ajp.2014.14060723