ข้อขัดแย้ง ของ ความภูมิใจแห่งตน

นักจิตวิทยาทรงอิทธิพลชาวอเมริกัน ดร. อัลเบิรต์ เอ็ลลิส ได้วิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งหลายคราวว่า แนวคิดเรื่องความภูมิใจในตนเอง เป็นการทำลายตัวเองและมีผลร้ายในระยะยาว[81]แม้จะยอมรับว่ามนุษย์มักจะให้คะแนนต่อตนเองโดยธรรมชาติ เขาก็ได้วิจารณ์หลักปรัชญาของความภูมิใจในตนว่า ไม่สมจริง ไม่มีเหตุผล และมีผลเสียต่อตัวเองและสังคม บ่อยครั้งทำอันตรายมากกว่าประโยชน์โดยตั้งข้อสงสัยต่อทั้งมูลฐานและประโยชน์ของความเข้มแข็งของอัตตาโดยนัยทั่วไป เขาอ้างว่า ความภูมิใจในตนเป็นบทตั้งที่มีนิยามลอย ๆ เป็นแนวคิดที่ถือเอานัยทั่วไปมากเกินไป นิยมความเพอร์เฝ็กต์ และยิ่งใหญ่มากเกินไป[81]แม้จะยอมร้บว่า การให้คะแนนและคุณค่ากับพฤติกรรมและลักษณะต่าง ๆ ของตนเป็นเรื่องปกติและจำเป็น แต่เขาก็ยังเห็นการให้คะแนนและคุณค่าของมนุษย์และของตนเองโดยถือเอาองค์รวมว่า ไม่สมเหตุผลและไม่ถูกจริยธรรมทางเลือกที่ดีกว่าความภูมิใจในตนก็คือการยอมรับตนเองและคนอื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข[82]โดยมี Rational Emotive Behavior Therapy (REBT) ที่ ดร. เอ็ลลิสได้พัฒนาขึ้นเป็นตัวอย่างจิตบำบัดที่ใช้วิธีการเช่นนี้[83]

ส่วนนักเขียนคู่หนึ่ง (Roy F. Baumeister, John Tierney) อ้างว่า ประโยชน์ของความภูมิใจในตนสามารถให้ผลตรงกันข้าม และคำสอนจากพ่อแม่ให้มีความภูมิใจในตนอาจจะขัดขวางการฝึกควบคุมตน

"ดูเหมือนจะมีประโยชน์ที่ชัดเจนของความภูมิใจในตนสูงเพียงแค่สองอย่าง อย่างแรกก็คือ มันเพิ่มการริเริ่ม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามันให้ความมั่นใจ บุคคลที่ภูมิใจในตนสูงจะเต็มใจทำตามความเชื่อของตนมากกว่า ยืนยันต่อสู้เพื่อสิ่งที่ตนเชื่อ หาคนร่วมความคิด และเสี่ยงทำอะไรใหม่ ๆ (ซึ่งบางครั้งก็ไม่ดีว่ารวมการเสี่ยงทำอะไรโง่ ๆ หรือก่อความเสียหาย แม้เมื่อคนอื่น ๆ แนะนำไม่ให้ทำ)... (แต่) ก็สามารถทำให้คนไม่สนใจคำแนะนำที่ดีเพราะว่าดื้อเสียเวลาและเงินทองในเรื่องที่สิ้นเปลืองเปล่า"[84]

ของเทียม

สำหรับบุคคลที่ภูมิใจในตนต่ำ สิ่งเร้าเชิงบวกจะเพิ่มความภูมิใจในตนชั่วคราวดังนั้น ทรัพย์สมบัติ เพศสัมพันธ์ ความสำเร็จ หรือรูปร่างหน้าตาจะเพิ่มความภูมิใจในตน แต่การเพิ่มเช่นนี้อย่างมากก็ชั่วคราว[85][86]

ดังนั้น ความพยายามเพิ่มความภูมิใจด้วยสิ่งเร้าเชิงบวกเช่นนี้จะเป็นแบบขึ้น ๆ ลง ๆเช่น คำสรรเสริญสามารถช่วยเพิ่มความภูมิใจ แต่ก็จะตกเมื่อไร้คำสรรเสริญดังนั้น สำหรับคนที่ภูมิใจในตนแบบมีข้อแม้ ความสำเร็จจะไม่ "หวานเป็นพิเศษ" แต่ความล้มเหลวจะ "ขมเป็นพิเศษ"[64]

โดยเป็นการหลงตัวเอง

ความพอใจในชีวิต ความสุข พฤติกรรมที่ถูกสุขภาพ ความมั่นใจในตนเอง การเรียนเก่ง และการปรับตัวได้ดี ล้วนแต่สัมพันธ์กับการมีความภูมิใจในตนสูง[87]:57แต่ว่า เป็นความผิดพลาดสามัญที่จะคิดว่า การรักตัวเอง (self-love) ต้องเป็นการหลงตัวเอง (narcissism)[88]

บุคคลที่มีความภูมิใจในตนที่ดีจะยอมรับและรักตัวเองอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยยอมรับทั้งความดีชั่วของตน และสามารถรักตนเองได้แม้จะมีข้อผิดพลาดต่าง ๆเปรียบเทียบกับผู้ที่หลงตัวเอง ผู้มี "ความไม่แน่ใจโดยธรรมชาติเกี่ยวกับคุณค่าของตัวเองซึ่งทำให้เกิด... รัศมีความโอ้อวดที่เป็นการป้องกันตัวเองแต่เป็นของปลอม"[89]ซึ่งสร้างกลุ่ม "ผู้หลงตัวเอง หรือคนที่มีความภูมิใจในตัวเองสูงแบบไม่มั่นใจซึ่งผันแปรไปตามการสรรเสริญหรือการไม่ยอมรับของสังคม"[4]:479ดังนั้น จึงสามารถมองการหลงตัวเองว่าเป็นอาการของความภูมิใจในตนต่ำโดยพื้นฐาน และเป็นการไม่รักตนเอง แต่บ่อยครั้งประกอบด้วย "การเพิ่มความภูมิใจในตนเองอย่างยิ่ง"ซึ่งเป็นกลไกป้องกันตนแบบปฏิเสธความจริงโดยชดเชยเกินจริง[90]หรือเป็น "ความรักอุดมคติต่อตัวเองโดยปฏิเสธส่วนของตัวเอง" ที่ตนไม่ชอบใจที่เป็น "เด็กน้อยที่ชอบทำความเสียหาย" ภายใน[91]ผู้หลงตัวเองจะเน้นคุณธรรมของตนเมื่อคนอื่นอยู่ด้วยเพื่อพยายามทำให้ตนเชื่อว่ามีคุณค่าและเพื่อห้ามความรู้สึกอับอายต่อความไม่ดีของตนเอง[13]แต่น่าเสียดายว่า "คนที่มองตัวเองดีเกินจริง ซึ่งอาจจะไม่เสถียรอย่างยิ่งและอ่อนแอต่อข้อมูลเชิงลบ... มักจะมีทักษะทางสังคมที่ไม่ดี"[4]:126

ใกล้เคียง

ความภูมิใจแห่งตน ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความรัก ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความลับของนางฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความจำ ความดันโลหิตสูง ความเจ็บปวด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความภูมิใจแห่งตน http://www.erin.utoronto.ca/~w3psyuli/PReprints/JR... http://ddd.uab.cat/record/142342?ln=en http://www.afterpsychotherapy.com/narcissism-vs-au... http://www.bartleby.com/61/18/S0241800.html http://www.bartleby.com/61/58/S0245800.html http://www.education.com/reference/article/self-es... http://www.monografias.com/trabajos104/como-influy... http://www.nytimes.com/2002/02/03/magazine/the-tro... http://www.psychologytoday.com/articles/201112/the... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=v...