ประวัติ ของ ความภูมิใจแห่งตน

การระบุความภูมิใจในตนโดยเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาเชื่อว่าเริ่มจากงานของ นพ. วิลเลียม เจมส์[12]คือคุณหมอเจมส์ได้ระบุด้านต่าง ๆ ของอัตตา (self) โดยมีลำดับชั้นสองชั้น คือ กระบวนการรู้ (เรียกว่า 'I-self') และความรู้เกี่ยวกับตนที่เป็นผล (เรียกว่า 'Me-self' )สังเกตการณ์และการเก็บข้อมูลของ I-self สร้างความรู้ 3 ประเภท ซึ่งรวมกันเป็น Me-self3 ประเภทคือ ความรู้เรื่องตนทางกาย ตนทางสังคม และตนทางจิตวิญญาณตนทางสังคมเป็นสิ่งที่ใกล้ที่สุดกับความภูมิใจในตนเอง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะต่าง ๆ ที่คนอื่นเห็นส่วนตนทางกายเป็นตัวแทน (representation) ของร่างกายและทรัพย์สมบัติ ตนทางจิตวิญญาณเป็นตัวแทนแบบพรรณนา (descriptive representations) และเป็นลักษณะที่ได้ประเมิน (evaluative dispositions) เกี่ยวกับตนและมุมมองว่าความภูมิใจในตนเป็นทัศนคติเกี่ยวกับตนโดยรวม ๆ ก็ยังคงอยู่ทุกวันนี้[12]

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขบวนการพฤติกรรมนิยมได้หลีกเลี่ยงการศึกษากระบวนการทางจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก ที่ต้องมองเข้าข้างใน แล้วใช้การศึกษาแบบปรวิสัยผ่านการทดลองทางพฤติกรรมที่สังเกตเห็นสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมเพราะว่า พฤติกรรมนิยมมีความคิดว่ามนุษย์ก็เหมือนสัตว์อย่างอื่นที่ตกอยู่ในกฎการเสริมแรง และเสนอเปลี่ยนจิตวิทยาให้เป็นวิทยาศาสตร์ที่อาศัยหลักฐานการทดลอง คล้ายกับเคมีหรือชีววิทยาโดยเป็นผลความคิดเช่นนี้ การทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับความภูมิใจในตนจึงได้ความสนใจน้อย เพราะว่านักพฤติกรรมนิยมคิดว่า เป็นประเด็นที่ทดสอบด้วยการวัดได้ไม่ดี[13]

ต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเพิ่มความนิยมของปรากฏการณ์วิทยาและจิตวิทยามนุษยนิยม ได้สร้างความสนใจเกี่ยวกับความภูมิใจในตนอีกครั้งหนึ่งความภูมิใจในตนพบว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเข้าถึงศักยภาพของตน (self-actualization) และในการรักษาความผิดปกติทางจิตต่าง ๆนักจิตวิทยาได้เริ่มพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างจิตบำบัดกับความพึงพอใจในชีวิตของบุคคลที่ภูมิใจในตนสูง ว่าเป็นประโยชน์ในการรักษาจึงได้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งเสริมเติมต่อแนวคิดเรื่องความภูมิใจในตนรวมทั้งการช่วยให้เข้าใจเหตุผลว่า ทำไมบางคนจึงมักจะรู้สึกว่าตนมีคุณค่าน้อยและการเข้าใจว่าทำไมบางคนจึงท้อถอยและไม่สามารถเข้าใจปัญหาความท้าทายด้วยตนเอง[13]

ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 นักสังคมวิทยาคนหนึ่ง (Morris Rosenberg) จึงนิยามคำนี้ว่าเป็นความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า และได้พัฒนาแบบวัด Rosenberg self-esteem scale (RSES) ซึ่งกลายเป็นแบบวัดความภูมิใจที่ใช้มากที่สุดในสังคมศาสตร์[14]

ในปัจจุบัน ทฤษฎีการประเมินตัวเองหลัก (core self-evaluations ตัวย่อ CSE) รวมความภูมิใจในตนว่าเป็นมิติ 1 ใน 4 มิติที่บุคคลประเมินตัวเอง รวมทั้ง locus of control, neuroticism, และความมั่นใจในความสามารถของตน (self-efficacy)[15]โดยทฤษฎีตรวจดูเป็นครั้งแรกในปี 2540[15]และตั้งแต่นั้นได้พิสูจน์ว่า สามารถพยากรณ์ผลการทำงานหลายอย่าง โดยเฉพาะก็คือความพอใจในงานและประสิทธิภาพการทำงาน[15][16][17][18][19]ความภูมิใจในตนจริง ๆ แล้วอาจเป็นมิติที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในทฤษฎี CSE เพราะเป็นคะแนนประมวลความรู้สึกที่มีแก่ตนเอง[18]

ผลต่อนโยบายของรัฐ

มีองค์กรทั้งของรัฐและนอกภาครัฐที่รับรองความสำคัญของความภูมิใจในตนเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 จนเรียกได้ว่ามีขบวนการภูมิใจในตนได้เกิดขึ้น[7][20]ขบวนการนี้ได้ใช้เป็นหลักฐานว่า งานวิจัยทางจิตวิทยาสามารถมีผลต่อนโยบายของรัฐไอเดียหลักของขบวนการก็คือว่า ความภูมิใจในตนต่ำเป็นมูลรากปัญหาของบุคคล จึงเป็นมูลรากปัญหาสังคมด้วยผู้นำขบวนการนักจิตบำบัดคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ผมไม่สามารถคิดถึงปัญหาทางจิตใจเพียงอย่างเดียวเริ่มตั้งแต่ความวิตกกังวลและความซึมเศร้า ความกลัวความใกล้ชิดและความสำเร็จ จนถึงการตีคู่ชีวิตและทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก ที่ไม่สามารถสืบสายไปยังปัญหาการมีความภูมิใจในตนต่ำได้"[7]:3แต่ว่าความภูมิใจในตนเชื่อว่าเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของโลกตะวันตกที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง เนื่องจากว่า ความภูมิใจในตนต่ำไม่เป็นปัญหาในประเทศที่เน้นผลส่วนรวมเช่นญี่ปุ่น[21]

แนวคิดเรื่องปัญหาที่เกิดจากการมีความภูมิใจในตนต่ำทำให้สมาชิกสภารัฐแคลิฟอร์เนียคนหนึ่งจัดตั้ง "คณะทำงานเฉพาะกิจในเรื่องความภูมิใจในตนและความรับผิดชอบส่วนตัวและทางสังคม" ขึ้นในปี 2529โดยเชื่อว่า คณะทำงานจะสามารถสู้ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐเริ่มตั้งแต่อาชญากรรม การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จนถึงปัญหาการเรียนไม่ดีและมลภาวะ[7]แล้วเปรียบเทียบการเพิ่มความภูมิใจในตนว่าเหมือนให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค คือสามารถช่วยป้องกันประชาชนจากความรู้สึกเหมือนถูกถล่มท่วมทับโดยปัญหาชีวิตคณะทำงานได้จัดตั้งคณะวิชาการเพื่อทบทวนวรรณกรรมในเรื่องความภูมิใจในตนแต่ว่า คณะนักวิชาการกลับพบความสัมพันธ์น้อยมากระหว่างความภูมิใจในตนต่ำและผลที่อ้างว่ามี ซึ่งเป็นหลักฐานว่า การมีความภูมิใจในตนต่ำไม่ใช่รากปัญหาทางสังคมทั้งหมด และไม่สำคัญเท่าที่คิดแต่ตอนแรกแต่ว่า ผู้เขียนรายงานนี้ก็ยังเชื่อว่า ความภูมิใจในตนเป็นตัวแปรอิสระที่มีผลต่อปัญหาสังคมใหญ่ ๆคณะทำงานสลายตัวในปี 2538 แล้วจึงมีการจัดตั้งองค์กรที่มีจุดประสงค์เดียวกันต่อ ๆ มา โดยในที่สุดเป็น National Association for Self-Esteem (NASE)[7]

ใกล้เคียง

ความภูมิใจแห่งตน ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความรัก ความลับของนางฟ้า ความจำ ความดันโลหิตสูง ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความเจ็บปวด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความภูมิใจแห่งตน http://www.erin.utoronto.ca/~w3psyuli/PReprints/JR... http://ddd.uab.cat/record/142342?ln=en http://www.afterpsychotherapy.com/narcissism-vs-au... http://www.bartleby.com/61/18/S0241800.html http://www.bartleby.com/61/58/S0245800.html http://www.education.com/reference/article/self-es... http://www.monografias.com/trabajos104/como-influy... http://www.nytimes.com/2002/02/03/magazine/the-tro... http://www.psychologytoday.com/articles/201112/the... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=v...