การสร้าง ของ ความยืดหยุ่นทางจิตใจ

สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) เสนอวิธี 10 อย่างเพื่อสร้างความฟื้นสภาพได้[3]ซึ่งก็คือ

  1. รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน และคนสนิทอื่น ๆ
  2. หลีกเลี่ยงการมองวิกฤติหรือเหตุการณ์เครียดว่าเป็นปัญหาที่รับไม่ได้
  3. ยอมรับสถานการณ์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้
  4. พัฒนาเป้าหมายที่สมจริงเป็นไปได้และทำการเพื่อถึงเป้าหมาย
  5. ทำการอย่างเด็ดเดี่ยวในสถานการณ์ที่ลำบาก
  6. หาโอกาสค้นพบตัวเองเพิ่มขึ้นหลังจากต้องลำบากกับความสูญเสีย
  7. สร้างความมั่นใจในตน
  8. มองเหตุการณ์ในระยะยาวและพิจารณาเหตุการณ์เครียดในมุมมองกว้าง ๆ
  9. ดำรงทัศนคติที่มีหวัง หวังในสิ่งที่ดี ๆ และให้นึกถึงภาพสิ่งที่ต้องการ
  10. เพื่อดูแลสุขภาพกายใจ ให้ออกกำลังกายเป็นประจำ ใส่ใจในสิ่งที่ตนต้องการและรู้สึก

ส่วนแบบจำลองการสร้างการฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง โดยเป็นครอบครัวอุดมคติที่มีความสัมพันธ์ที่ดีและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อน อาศัยการทำหน้าที่ของพ่อแม่ มีสิ่งที่จำเป็น 4 อย่างคือ

  1. การเลี้ยงดูที่สมจริงกับสถานการณ์ในสังคม
  2. การสื่อสารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล
  3. ความมองโลกในเชิงบวกและการเปลี่ยนมุมมองของสถานการณ์ที่หนัก
  4. การสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของตน (Self Efficacy) และความแข็งแกร่ง (Hardiness)

ในแบบจำลองนี้ ความเชื่อมั่นในความสามารถของตน (Self Efficacy) ก็คือความเชื่อในความสามารถของตนในการวางแผนและดำเนินการที่จำเป็นเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่สำคัญและต้องการ[50]และ ความแข็งแกร่ง (Hardiness) ก็คือการรวมตัวของทัศนคติที่สัมพันธ์กัน คือ การอธิษฐานสมาทาน (commitment) ความรู้สึกว่าควบคุมได้ (control) และความรู้สึกท้าทาย[51]

มีการพัฒนาโปรแกรมสร้างความฟื้นสภาพได้แบบช่วยตนเองหลายแบบ โดยได้ทฤษฎีและข้อปฏิบัติจากการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ rational emotive behavior therapy (REBT)[52]ยกตัวอย่างเช่น การแทรกแซงทางความคิด-พฤติกรรมที่เรียกว่า Penn Resiliency Program (PRP) มีหลักฐานว่าสนับสนุนด้านต่าง ๆ ของความฟื้นสภาพได้งานวิเคราะห์อภิมานของงานศึกษา PRP 17 งานแสดงว่า การแทรกแซงช่วยลดอาการซึมเศร้าในระดับสำคัญโดยใช้เวลาระยะหนึ่ง[53]

แต่ว่า แนวคิดเรื่องการสร้างการฟื้นตัวได้ สามารถกล่าวได้ว่าขัดกับแนวคิดว่าการฟื้นตัวได้เป็นกระบวนการ[54]เพราะว่าแนวคิดใช้โดยหมายว่า เป็นลักษณะในตนที่สามารถพัฒนาได้[55]

แต่คนที่มองการฟื้นตัวได้ว่าเป็นคำเรียกการประสบความสำเร็จแม้เผชิญกับความลำบาก มองการ "สร้างความฟื้นตัวได้" ว่าเป็นวิธีให้กำลังใจ/ทรัพยากรเพื่อให้เกิดกระบวนการฟื้นตัวเช่น Bibliotherapy คือการบำบัดโดยให้อ่านหนังสือ, การบันทึกเหตุการณ์ดี ๆ และการเพิ่มปัจจัยป้องกันทางจิต-สังคมด้วยทรัพยากรเชิงบวกทางจิตใจ เป็นวิธีอื่น ๆ ที่ใช้สร้างความฟื้นตัวได้[56]นี่เป็นการเพิ่มทรัพยากรเพื่อให้บุคคลรับมือหรือแก้ปัญหาที่มากับความยากลำบากหรือความเสี่ยง ซึ่งสามารถเรียกได้ว่า เป็นการสร้างความฟื้นตัวได้ก็ได้[57]

งานวิจัยโดยเปรียบเทียบพบว่า กลยุทธ์ที่ใช้ควบคุมอารมณ์ เพื่อเพิ่มความฟื้นสภาพได้ ช่วยให้ได้ผลที่ดีกว่าในกรณีที่มีความผิดปกติทางจิต[58]คือ แม้ว่างานศึกษาในเบื้องต้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวได้จะมาจากนักจิตวิทยาเชิงพัฒนาการที่ศึกษาเด็กในสถานการณ์เสี่ยงงานศึกษาหนึ่งในผู้หใญ่ 230 คนที่วินิจฉัยว่าซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ที่ได้การบำบัดเน้นการควบคุมอารมณ์ แสดงว่าวิธีสามารถช่วยปรับความฟื้นตัวได้ในคนไข้คือกลยุทธ์เพ่งที่การวางแผน การประเมินเหตุการณ์ใหม่ในเชิงบวก และการลดความครุ่นคิดสามารถช่วยดำรงสุขภาพจิตให้ดีต่อไปได้[58][โปรดขยายความ]และคนไข้ที่มีความฟื้นตัวได้ที่ดีขึ้นมีผลทางการรักษาที่ดีกว่าคนไข้ที่แผนการรักษาไม่ได้เพ่งการฟื้นสภาพได้[58]ซึ่งอาจเป็นข้อมูลสนับสนุนการแทรกแซงทางจิตบำบัดที่อาจช่วยรับมือกับความผิดปกติได้ดีกว่าโดยเพ่งที่การฟื้นสภาพทางจิตใจได้

โปรแกรมอื่น ๆ

มีหน่วยทหารที่ตรวจสอบบุคลากรเรื่องสมรรถภาพการฟื้นตัวได้ภายใต้สถานการณ์เครียด โดยสร้างความเครียดอย่างจงใจในช่วงการฝึกผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์สามารถคัดออกได้ผู้ที่ผ่านสามารถฝึกเพิ่มเพื่อรับสถานการณ์เครียดได้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำซ้ำ ๆ สำหรับตำแหน่งที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทหารในหน่วยรบพิเศษ[59]

ใกล้เคียง

ความยืดหยุ่นทางจิตใจ ความยุติธรรม ความยาวคลื่น ความยาว ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ความยาวคลื่นคอมป์ตัน ความยากจน ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความไม่ยุติธรรม ความยาวโฟกัส ความยินยอมของผู้ถูกปกครอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความยืดหยุ่นทางจิตใจ http://onlinelibrary.wiley.com.berlioz.brandonu.ca... http://www.cecw-cepb.ca/publications/1010 http://books.google.com/books?id=QwIstsEgkBMC http://books.google.com/books?id=WoRCPUeylLYC&pg=P... http://indiancountrytodaymedianetwork.com/2015/05/... http://www.moveboxer.com/content/pages/the-emotion... http://www.nationalresilienceresource.com http://afs.sagepub.com/content/early/2014/07/02/00... http://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/108035... http://www.wilderdom.com/psychology/resilience/Psy...