นิยาม ของ ความรัก

ตัวอย่างสัญลักษณ์ของความรัก
รูปหัวใจสีแดง
สัญลักษณ์มือ
"ฉันรักคุณ"
กามเทพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า รัก ไว้ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, ชอบ[7] อย่างไรก็ตาม คำว่า "รัก" สามารถมีความหมายที่เกี่ยวข้องกันแต่แตกต่างกันชัดเจนจำนวนมากขึ้นอยู่กับบริบท บ่อยครั้งที่ในแต่ละภาษาจะใช้คำหลายคำเพื่อแสดงออกซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความรักที่แตกต่างกัน ตัวอย่างหนึ่งคือการที่ในภาษากรีกมีคำหลายคำที่ใช้สำหรับความรัก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับความรักทำให้เป็นการยากยิ่งขึ้นที่จะหานิยามสากลของความรัก[8]

ในคดีระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์, สุดา ปรัชญาภัทร โจทก์ร่วม กับเสริม สาครราษฎร์ จำเลย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2546)

"...ความรักเป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้ ความรักที่แท้จริงคือความปรารถนาดีต่อคนที่ตนรักความยินดีที่คนที่ตนรักมีความสุข การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิด และการเสียสละความสุขของตนเพื่อความสุขของคนที่ตนรัก จำเลยปรารถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความผิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่ายเดียว มิได้คำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้ตาย หาใช่ความรักไม่ ทั้งเป็นความเห็นผิดที่เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง..."

ถึงแม้ว่าธรรมชาติหรือสาระของความรักจะยังเป็นหัวข้อการโต้เถียงกันอย่างบ่อยครั้ง มุมมองที่แตกต่างกันของความรักสามารถทำให้เข้าใจได้ด้วยการพิจารณาว่าสิ่งใดไม่ใช่ความรัก หากความรักเป็นการแสดงออกทั่วไปของความรู้สึกทางใจในแง่บวกที่รุนแรงกว่าความชอบ โดยทั่วไปแล้วจะขัดแย้งกับความเกลียดชัง (หรือภาวะไร้อารมณ์แบบเป็นกลาง) หากความรักมีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยกว่าและเป็นรูปแบบความผูกพันทางอารมณ์แบบโรแมนติกที่เกี่ยวกับความสนิทสนมทางอารมณ์และทางเพศ โดยทั่วไปแล้วจะขัดแย้งกับราคะ และหากความรักเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีโรแมนติกสอดแทรกอยู่มาก ความรักก็จะขัดแย้งกับมิตรภาพในบางครั้ง ถึงแม้ว่าความรักมักจะใช้หมายถึงมิตรภาพแบบใกล้ชิดอยู่บ่อย ๆ

หากกล่าวถึงแบบนามธรรม โดยปกติแล้วความรักจะหมายถึงความรักระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่บุคคลหนึ่งรู้สึกกับอีกบุคคลหนึ่ง บ่อยครั้งที่ความรักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเอื้ออาทรหรือคิดว่าตนเองเหมือนกับบุคคลหรือสิ่งอื่น ซึ่งอาจรวมไปถึงตัวบุคคลนั้นเองด้วย นอกเหนือไปจากความแตกต่างในแต่ละวัฒนธรรมในการเข้าใจความรักแล้ว แนวคิดเกี่ยวกับความรักยังได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลเมื่อเวลาผ่านไป นักประวัติศาสตร์บางคนเปรียบเทียบแนวคิดสมัยใหม่ของความรักแบบโรแมนติกกับความรักแบบเทิดทูนในยุโรประหว่างหรือหลังยุคกลาง ถึงแม้ว่าการมีอยู่ของความผูกพันแบบโรแมนติกจะปรากฏในบทกลอนรักในสมัยโบราณแล้วก็ตาม[9]

มีสำนวนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับความรัก นับตั้งแต่ "ความรักเอาชนะทุกสิ่ง" ของเวอร์จิล ไปจนถึง "ทั้งหมดที่คุณต้องการคือความรัก" ของเดอะบีตเทิลส์ นักบุญโทมัส อควีนาส ตามหลังอริสโตเติล นิยามความรักไว้ว่าเป็นความ "ปรารถนาดีแก่ผู้อื่น"[10] เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์อธิบายความรักไว้ว่าเป็นสภาพของ "คุณธรรมสูงสุด" ซึ่งปฏิเสธคุณธรรมที่เกี่ยวข้อง

บางครั้ง ความรักถูกกล่าวถึงว่าเป็น "ภาษาสากล" ซึ่งข้ามผ่านความแตกต่างทางวัฒนธรรมและภาษา

ใกล้เคียง

ความรัก ความรักประเทศชาติ ความรักไม่ผิด ความรักเหนือสรรพสิ่ง ความรักนี้เพื่อนสมัยเด็กไม่แพ้รักแรกหรอก ความรักบริสุทธิ์ ความรักสามเส้า ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท ความรับอาบรังสี ความรังเกียจการเสีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความรัก http://www.biopsychiatry.com/lovengf.htm http://health.discovery.com/centers/sex/sexpedia/p... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5479131 http://content2.apa.org/journals/rev/93/2/119 http://web.archive.org/20110628051603/homepage.mac... //doi.org/10.1037%2F0033-295X.93.2.119 //doi.org/10.1037%2Fh0029841 //doi.org/10.1525%2Faa.1984.86.1.02a00050 http://www.newadvent.org/summa/2026.htm#article4 http://www.TrueOpenLove.org/reference/AncientLoveP...