ประวัติศาสตร์ ของ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ช่วงจักรวรรดินิยม

การติดต่อกับชาติตะวันตกที่เสื่อมถอยลงนับตั้งแต่สมเด็จพระเพทราชาประหารชีวิตคอนสแตนติน ฟอลคอน ตอนปลายรัชสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้กลับมาเริ่มต้นอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ส่งเฮนรี เบอร์นี เป็นทูตเข้ามาจะขอทำสนธิสัญญากับไทย ในช่วงแรกรัฐบาลยังบ่ายเบี่ยงอยู่ แต่เมื่ออังกฤษรบชนะพม่าได้ ทำให้รัฐบาลไทยเริ่มเกรงกลัวแสงยานุภาพทางทหารของอังกฤษ[1] จำต้องลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นีโดยไม่เต็มใจ แต่หลังจากที่ทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกาแล้วก็ไม่ยอมให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาอีก เกิดความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นจนเกือบจะปะทุเป็นสงครามขึ้น[2]

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงภัยคุกคามจากชาติตะวันตกหากไม่ยอมผ่อนปรนยอมทำตามข้อเรียกร้อง จึงทรงให้จอห์น เบาริ่ง เข้ามาทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับไทย ซึ่งนับเป็นการสูญเสียอิสรภาพทางการศาลและศุลกากร เนื่องจากการให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตและการกำหนดภาษีศุลกากรที่ชัดเจน ผลจากสนธิสัญญาดังกล่าวยังเป็นการตัดสัมพันธไมตรีกับจีนอย่างเด็ดขาด ทั้งที่พระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน ๆ ทรงพยายามรักษาไว้เสมอมา[3]

ช่วงสงครามเย็น

ช่วงหลังสงครามเย็น

ลำดับเหตุการณ์การสถาปนาความสัมพันธ์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
ลำดับเหตุการณ์การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ
ปี (พ.ศ.)รัฐ (วันที่สถาปนาฯ)
2147 เนเธอร์แลนด์ [4] (มีการส่งพระราชสาส์นและราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับสาธารณรัฐดัตช์ (ฮอลันดา) ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อ พ.ศ. 2151)[5]
2376 สหรัฐ (20 มีนาคม)[6]
2398 สหราชอาณาจักร (18 เมษายน)[7]
2399 ฝรั่งเศส (15 สิงหาคม)[8]
2401 เดนมาร์ก (21 พฤษภาคม)[9]
2402 โปรตุเกส (10 กุมภาพันธ์)[10]
2405 เยอรมนี (7 กุมภาพันธ์)[11]
2411 สวีเดน (18 พฤษภาคม)[12]  อิตาลี (3 ตุลาคม)[13]
2413 สเปน (23 กุมภาพันธ์)[14]
2426 เบลเยียม [15]
2430 ญี่ปุ่น (26 กันยายน)[16]
2440 รัสเซีย (3 กรกฎาคม)[17]
2448 นอร์เวย์ (30 พฤศจิกายน)[18]
2474 สวิตเซอร์แลนด์ (28 พฤษภาคม)[19]
2490 อินเดีย (1 สิงหาคม)[20]
2496 ออสเตรีย (2 กรกฎาคม)[21]
2497 ฟินแลนด์ (17 มิถุนายน)[22]
2501 ตุรกี (12 พฤษภาคม)[23]  กรีซ (26 พฤษภาคม)[24]
2502 ลักเซมเบิร์ก (16 มิถุนายน)[25]
2512 นครรัฐวาติกัน (26 เมษายน)[26]
2515 โปแลนด์ (14 พฤษจิกายน)[27]
2516 โรมาเนีย (1 มิถุนายน)[28]  ฮังการี (24 ตุลาคม)[29]
2517 บัลแกเรีย (10 สิงหาคม)[30]
2518 ไอร์แลนด์ (27 มกราคม)[31]  ไอซ์แลนด์ (18 มิถุนายน)[32]
2523 ไซปรัส (5 พฤษภาคม)[33]
2525 แอลเบเนีย (30 กันยายน)[34]
2527 ซานมารีโน (14 กุมภาพันธ์)[35]  มอลตา (4 กันยายน)[36]
2535 ลัตเวีย (19 มีนาคม)[37]  เอสโตเนีย (27 เมษายน)[38]  ยูเครน (6 พฤษภาคม)[39]  อาร์มีเนีย (7 กรกฎาคม)[40]

 อาเซอร์ไบจาน (7 กรกฎาคม)[41]  เบลารุส (21 กรกฎาคม)[42]  จอร์เจีย (21 กรกฎาคม)[43]  มอลโดวา (5 สิงหาคม)[44] สโลวีเนีย (9 กันยายน)[45] โครเอเชีย (9 กันยายน)[46]

2536 เช็กเกีย (1 มกราคม)[47]  สโลวาเกีย (1 มกราคม)[48]  ลิทัวเนีย (9 เมษายน)[49]
2540 ลิกเตนสไตน์ (14 สิงหาคม)[50]
2543 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (14 กุมภาพันธ์)[51]  อันดอร์รา (28 เมษายน)[52]
2546 เซอร์เบีย (22 เมษายน)[53]
2548 นอร์ทมาซิโดเนีย (23 มกราคม)[54]
2549 โมนาโก (26 มิถุนายน)[55]
2550 มอนเตเนโกร (6 มิถุนายน)[56]
2556 คอซอวอ (22 พฤศจิกายน)[57]

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถสั่งตายสุดโกงที่พวกต่างโลกเทียบไม่ติด ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย http://www.etaiwannews.com/etn/news_content.php?id... http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?m... http://www.prachatai.com/english/node/4318 http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/thai-c... http://news.xinhuanet.com/english/2009-11/05/conte... http://www.th.emb-japan.go.jp/th/relation/index100... http://www.apecthai.org/apec/th/profile1.php?conti... http://www.thaiembassy.org/hague/th/relation/46486... http://www.thaiembassy.org/seoul/th/relation http://www.dtn.go.th/filesupload/files/country/asi...