การจัดหมวด ของ ความเจ็บปวด

ในปี พ.ศ. 2537 เพราะความจำเป็นในการกล่าวถึงความเจ็บปวดอย่างมีระบบ IASP ได้จัดหมวดหมู่ของความเจ็บปวดตามลักษณะโดยเฉพาะ ๆ ดังต่อไปนี้[11]

  1. เขตในร่างกายที่มีปัญหา (เช่น ที่ท้อง ที่ขา)
  2. ระบบที่ทำงานผิดปกติซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวด (เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร)
  3. ช่วงเวลาและรูปแบบของความเจ็บปวด
  4. ระดับความเจ็บปวดและช่วงเวลาที่เริ่มมีอาการ
  5. เหตุ

แต่ศาสตราจารย์ประสาทวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คลิฟฟอร์ด วู๊ฟ และนักวิชาการอื่น ๆ ก็ได้วิจารณ์ว่า ระบบนี้ไม่สามารถแนะแนวงานวิจัยและการรักษาได้[12]ดร. วู๊ฟได้เสนอหมวดหมู่ความเจ็บปวดไว้ 3 อย่าง คือ[13]

  1. ความเจ็บปวดจากโนซิเซ็ปชัน (nociceptive pain)
  2. ความเจ็บปวดจากการอักเสบ (inflammatory pain) ซึ่งสัมพันธ์กับความเสียหายที่เนื้อเยื่อและการแทรกซึมของเซลล์ภูมิต้านทานจากเส้นเลือด
  3. ความเจ็บปวดจากโรค (pathological pain) ซึ่งเป็นสภาวะโรคที่มีเหตุจากความเสียหายต่อระบบประสาทหรือการทำงานผิดปกติของมัน เช่น ไฟโบรไมอัลเจีย, โรคเส้นประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral neuropathy), ความเจ็บปวดเนื่องจากความตึงเครียด (tension) เป็นต้น

ระยะ

ความเจ็บปวดมักจะเป็นเรื่องชั่วคราว และจะหายไปเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตราย หรือโรค หรือการบาดเจ็บที่ได้หายดี แต่ความเจ็บปวดบางอย่างเช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเส้นประสาทนอกส่วนกลาง มะเร็ง และโรคความเจ็บปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic pain) ก็อาจคงยืนเป็นปี ๆความเจ็บปวดที่คงยืนเป็นเวลานานเรียกว่า ความเจ็บปวดเรื้อรัง (chronic) และความเจ็บปวดที่หายไปเร็วกว่าเรียกว่า ความเจ็บปวดเฉียบพลัน (acute)โดยปกติแล้ว การแยกความเจ็บปวด 2 อย่างนี้จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ความเจ็บคงยืน โดยเป็นระยะที่นิยามอย่างลอย ๆ ระยะที่ใช้มากที่สุดก็คือ 3 เดือน และ 6 เดือน จากที่เริ่มเจ็บ[14]แม้จะยังมีนักทฤษฎีและนักวิจัยที่กำหนดความแตกต่างที่ 12 เดือน[15]:93และก็ยังมีผู้อื่นอีกที่เรียกความเจ็บปวดน้อยกว่า 30 วันว่า "ฉับพลัน" ที่มากกว่า 6 เดือนว่า "เรื้อรัง" และที่อยู่ในระหว่าง ๆ ว่า "กึ่งเฉียบพลัน" (subacute)[16]ส่วนนิยามทางเลือกหนึ่งที่นิยมของ "ความเจ็บปวดเรื้อรัง" จะไม่มีกำหนดเวลา แต่เป็น "ความเจ็บปวดที่คงยืนเกินระยะเวลาที่คาดหวังว่าจะหาย"[14] ความเจ็บปวดเรื้อรังอาจระบุได้ว่าเนื่องกับมะเร็ง หรือไม่เนื่องกับเนื้อร้าย (benign)[16]

จากโนซิเซ็ปชัน

ดูบทความหลักที่: โนซิเซ็ปชัน

ความเจ็บปวดจากโนซิเซ็ปชันมีเหตุจากการกระตุ้นใยประสาทรับความรู้สึก (โนซิเซ็ปเตอร์) ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ใกล้หรือเกินระดับที่เป็นอันตราย และสามารถแจกแจงตามรูปแบบของสิ่งเร้าอันตรายสิ่งเร้าสามัญที่สุดรวมทั้งความเย็นร้อน แรงกล (การบีบ การฉีก การบาด) และสารเคมี (เช่น ไอโอดีนที่แผล หรือสารเคมีที่ร่างกายหลั่งเมื่อเกิดการอักเสบ)

ความเจ็บปวดจากโนซิเซ็ปชันอาจแบ่งเป็นที่มาจากอวัยวะภายใน (visceral) จากร่างกายส่วนลึก (deep somatic) และจากร่างกายส่วนตื้น (superficial somatic)อวัยวะภายในต่าง ๆ ไวมากต่อแรงยืด การขาดเลือดเฉพาะที่ และการอักเสบ แต่ไม่ค่อยไวต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่อาจทำให้อวัยวะอื่น ๆ เจ็บ เช่น ความร้อนไหม้ หรือการบาดความเจ็บปวดเพราะอวัยวะภายในจะเป็นแบบกระจาย ยากจะกำหนดตำแหน่งโดยเฉพาะ และบ่อยครั้งเกิดต่างที่ในอวัยวะอื่นที่ผิว ๆ ไกล ๆ บางครั้งอาจมีร่วมกับความคลื่นไส้และการอาเจียน โดยคนไข้อาจบอกว่าทำให้วิงเวียน อยู่ลึก ๆ เหมือนถูกบีบ หรือเจ็บแบบทื่อ ๆ (ไม่ใช่เจ็บจี๊ด)[17]

ความเจ็บจากร่างกายส่วนลึกเกิดจากการกระตุ้นโนซิเซ็ปเตอร์ที่เอ็นยึด เอ็นกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเลือด พังผืด และกล้ามเนื้อ เป็นความเจ็บแบบทื่อ ๆ ทำให้ปวด และกำหนดที่โดยเฉพาะ ๆ ได้ยากตัวอย่างรวมทั้งอาการแพลง (ที่ข้อเท้าเป็นต้น) หรือกระดูกหัก/แตกส่วนความเจ็บจากร่างกายส่วนตื้นมาจากโนซิเซ็ปเตอร์ที่ผิวหนังหรือที่โครงสร้างส่วนผิวอื่น ๆ เป็นความเจ็บจี๊ด อยู่เฉพาะจุด และกำหนดตำแหน่งที่ชัดเจนได้ง่ายตัวอย่างของความบาดเจ็บที่ทำให้เจ็บปวดเช่นนี้รวมทั้งแผลตื้น ๆ และแผลไหม้ระดับแรก[15]

จากโรคเส้นประสาท

ความเจ็บปวดจากโรคเส้นประสาท (Neuropathic pain) เกิดจากความเสียหายหรือโรคที่ระบบประสาทส่วนไหนก็ได้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย[18]ความเจ็บปวดจากโรคเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral neuropathic pain) จะทำให้รู้สึกเจ็บร้อน/ไหม้ เหน็บชา เหมือนไฟช็อต เหมือนถูกแทง เหมือนถูกตำด้วยเข็ม[19]เช่น การกระทบถูกเส้นประสาท (ulnar nerve) ที่ข้อศอกจะทำให้เจ็บเนื่องจากเส้นประสาท

จากอวัยวะที่ไม่มี

ความเจ็บปวดจากอวัยวะที่ไม่มี (Phantom pain) เป็นความรู้สึกเจ็บปวดในอวัยวะที่ตัดออกไปแล้ว หรือว่าที่ไม่ส่งสัญญาณประสาทไปให้สมองอีกต่อไปเป็นความเจ็บปวดเนื่องจากเส้นประสาทอีกอย่างหนึ่ง[20]

ความชุกของ phantom pain ในผู้ที่ตัดอวัยวะส่วนบนออกเกือบถึง 82% และในผู้ที่ตัดอวัยวะส่วนล่างออก 54%[20]งานศึกษาหนึ่งพบว่า หลังจากการผ่าตัด 8 วัน คนไข้ 72% จะรู้สึกเจ็บปวดในอวัยวะที่ไม่มี และหลัง 6 เดือน จะเหลือ 67%[21][22]คนไข้บางคนจะรู้สึกเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องแต่จะมากน้อยและมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันคนอื่นจะเจ็บหลายครั้งต่อวันหรือน้อยกว่านั้นโดยบอกว่า เป็นความเจ็บแบบจี๊ด เหมือนถูกบีบ แสบไหม้ หรือเป็นตะคริวถ้าเจ็บต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ส่วนร่างกายที่ปกติอาจจะเริ่มไวความเจ็บ (sensitized) คือการถูกต้องอวัยวะส่วนที่ปกติ อาจทำให้ส่วนที่ไม่มีเจ็บความเจ็บอาจเกิดเมื่อถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ[23]:61-9

การฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าไปที่เส้นประสาทหรือเขตที่ไวความรู้สึกของอวัยวะที่ด้วน อาจช่วยบรรเทาความเจ็บเป็นวัน ๆ สัปดาห์ ๆ หรือบางครั้งตลอดกาล แม้ฤทธิ์ของยาจะหมดไปเพียงไม่กี่ชั่วโมงและการฉีดน้ำเกลือ (hypertonic) เล็กน้อยเข้าไปที่เนื้อเยื่อระหว่างข้อกระดูกสันหลัง จะทำให้เจ็บกระจายเข้าไปในอวัยวะที่ไม่มีเป็นสิบ ๆ นาที แล้วตามด้วยการหายหรือบรรเทาเจ็บเป็นชั่วโมง ๆ สัปดาห์ ๆ หรือนานกว่านั้นการสั่นอวัยวะที่ด้วนอย่างแข็งขัน หรือกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรือปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านอิเล็กโทรดที่ฝังในไขสันหลัง สามารถบรรเทาความเจ็บปวดในคนไข้บางคน[23]:61-9การบำบัดด้วยกล่องกระจก (Mirror box therapy) ซึ่งสร้างภาพลวงของการเคลื่อนไหวของและการสัมผัสต่ออวัยวะที่ไม่มี อาจลดระดับความเจ็บ[24]

การอัมพาตครึ่งล่าง (paraplegia) คือการเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวหลังจากความบาดเจ็บที่ไขสันหลังอย่างหนัก อาจตามมาด้วยความเจ็บที่กระดูกเชิงกราน (girdle pain) ในระดับเดียวกันของร่างกายที่ไขสันหลังเสียหาย ตามด้วยความปวดอวัยวะภายในเมื่อกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่เต็ม หรือในคนไข้ 5-10% ตามด้วยความรู้สึกเจ็บปวดในส่วนร่างกายที่เป็นอัมพาตความปวดในอวัยวะที่ไม่มีนี้เริ่มต้นจากความรู้สึกแสบไหม้หรือเหน็บชา แต่อาจกลายเป็นเหมือนถูกทับหรือถูกหนีบที่เจ็บมาก หรือรู้สึกเหมือนไฟวิ่งลงไปที่ขาหรือเหมือนบิดมีดในเนื้ออาการอาจเริ่มทันทีหรืออาจเริ่มเป็นปี ๆ หลังจากบาดเจ็บการผ่าตัดน้อยมากที่จะช่วยในระยะยาว[23]:61-9

จากจิตใจ

ความเจ็บปวดที่เกิดจากจิตใจ (Psychogenic pain, psychalgia, somatoform pain) เป็นความเจ็บที่เกิดจากหรือเพิ่มขึ้น เพราะปัจจัยทางจิตใจ ทางอารมณ์ หรือทางพฤติกรรม[25]ความปวดหัว ปวดหลัง และปวดท้องบางครั้งจึงวินิจฉัยว่าเกิดจากจิตใจ[25]ผู้ป่วยมักถูกมองในแง่ลบ เพราะทั้งหมอพยาบาลและบุคคลทั่วไปมักจะคิดว่า ความเจ็บปวดที่เกิดจากจิตใจไม่ได้มีจริง ๆ อย่างไรก็ดี แพทย์เฉพาะทางจะพิจารณาว่า มันไม่ได้จริงน้อยกว่า หรือเจ็บน้อยกว่า ความเจ็บปวดที่เกิดจากเหตุอื่น ๆ[26]

คนไข้ที่เจ็บปวดเป็นระยะเวลานาน ๆ บ่อยครั้งจะมีปัญหาทางจิตใจ เมื่อวัดด้วย Minnesota Multiphasic Personality Inventory (เพื่อตรวจสอบบุคลิกภาพและปัญหาทางจิตใจ) โดยจะได้คะแนนส่วน hysteria, ความซึมเศร้า และไฮโปคอนดริเอซิส (สามอย่างรวมกันเรียกว่า neurotic triad) ที่สูงขึ้นนักวิจัยบางพวกเสนอว่า เป็นบุคลิกภาพแบบ neuroticism ที่ทำความเจ็บปวดฉับพลันให้กลายเป็นแบบเรื้อรัง แต่หลักฐานทางคลินิกก็ชี้ไปในด้านตรงกันข้าม คือ ความเจ็บปวดเรื้อรังเป็นเหตุของ neuroticismและเมื่อสามารถลดความเจ็บปวดระยะยาวด้วยการรักษา คะแนนวัด neurotic triad และความวิตกกังวลก็จะลดลง บ่อยครั้งกลับไปสู่ระดับปกติความเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) ซึ่งมักต่ำในคนไข้ที่เจ็บปวดเรื้อรัง ก็จะดีขึ้นด้วยเมื่อหายเจ็บ[23]:31-2

Breakthrough pain

Breakthrough pain (ความเจ็บปวดแบบบุกทะลุทะลวง) เป็นความเจ็บปวดฉับพลันชั่วคราวที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยที่วิธีการบริหารความเจ็บปวดปกติของคนไข้จะไม่ช่วยเช่น คนไข้มะเร็งโดยสามัญจะมีความเจ็บปวดในระดับพื้น ซึ่งปกติควบคุมด้วยยาที่ทานได้ แต่บางครั้งจะรู้สึกเจ็บอย่างรุนแรงคือ "บุกทะลุทะลวง" ผ่านยามาได้ลักษณะความเจ็บเช่นนี้ในคนไข้มะเร็งจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับเหตุซึ่งอาจจะต้องใช้ยาแก้ปวดอย่างเข้มช่วยรักษา เช่นสารโอปิออยด์รวมทั้ง fentanyl[27][28][29]

การไม่รู้ความเจ็บปวด

การรู้ความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อป้องกันความบาดเจ็บ และเพื่อช่วยให้รู้ว่า ได้เกิดความบาดเจ็บความไม่รู้เจ็บ (analgesia) เป็นบางครั้งบางคราวอาจเกิดขึ้นในสถานการณ์พิเศษบางอย่าง เช่น ในระหว่างสงครามหรือเกมกีฬา เช่นทหารในสมรภูมิอาจไม่รู้สึกเจ็บเป็นชั่วโมง ๆ หลังจากเสียอวัยวะหรือความบาดเจ็บที่รุนแรง[30]

ถึงแม้นิยามความเจ็บปวดของ IASP จะมีความทุกข์เป็นส่วนสำคัญ[2] แต่ก็สามารถเกิดภาวะที่รู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรงโดยไม่ทุกข์ร้อนในบางคน อาศัยการฉีดมอร์ฟีนหรือการผ่าตัดทางประสาท[26]คนไข้เช่นนี้รายงานว่า ตนรู้สึกเจ็บแต่ไม่เป็นทุกข์คือรู้ว่าตนเจ็บแต่ทุกข์น้อย หรือไม่เป็นทุกข์เลย[31]

นอกจากนั้น ความไม่สนใจความเจ็บปวดก็ยังสามารถมีตั้งแต่กำเนิดได้ด้วย แม้จะมีน้อยคือ คนไข้จะรู้สึกเจ็บปวด รู้สึกว่าไม่น่าพอใจ แต่จะไม่หลีกเลี่ยงการประสบซ้ำกับสิ่งเร้าที่ทำให้เจ็บปวด[32]

ความไม่ไวความเจ็บปวดอาจเป็นผลของความผิดปกติในระบบประสาทซึ่งปกติจะเป็นผลของความเสียหายต่อเส้นประสาทที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired) เช่นไขสันหลังบาดเจ็บ โรคเบาหวาน หรือโรคเรื้อนในประเทศที่ยังมีโรคนี้อยู่[33]คนไข้พวกนี้จะเสี่ยงต่อความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ และการติดเชื้อ เพราะมีการบาดเจ็บที่ไม่รู้ยกตัวอย่างเช่น คนไข้โรคเบาหวานที่ประสาทเสียหาย มักจะมีแผลเปื่อยที่เท้าซึ่งไม่ค่อยหายเพราะว่า รู้สึกน้อยลง[34]

มีคนน้อยคนยิ่งกว่านั้น ผู้ไม่ไวความเจ็บปวดเนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาทตั้งแต่กำเนิด ซึ่งเรียกว่าอาการไม่ไวความเจ็บปวดแต่กำเนิด (congenital insensitivity to pain, CIP)[32]เด็กที่มีอาการนี้จะสร้างความเสียหายอย่างซ้ำ ๆ โดยไม่ระวัง ที่ลิ้น ตา ข้อต่อ ผิวหนัง และกล้ามเนื้อบางคนจะเสียชีวิตก่อนจะถึงวัยผู้ใหญ่ ส่วนคนอื่นจะมีการคาดหมายคงชีพที่ลดลง[ต้องการอ้างอิง]คนไข้โดยมากที่มี CIP มีโรคเส้นประสาทรับความรู้สึกและเส้นประสาทอิสระที่เป็นกรรมพันธุ์ (hereditary sensory and autonomic neuropathy)ซึ่งรวม familial dysautonomia[upper-alpha 1]และ congenital insensitivity to pain with anhidrosis[upper-alpha 2][35]โรคเหล่านี้ล้วนมีอาการไวความเจ็บปวดลดลงบวกกับความผิดปกติทางประสาทอื่น ๆ โดยเฉพาะต่อระบบประสาทอิสระ[32][35]

นอกจากนั้น การกลายพันธุ์ซึ่งมีน้อยมากของยีน SCN9A ซึ่งแสดงออกเป็นช่องแคลเซียม Nav1.7 ที่จำเป็นเพื่อเข้ารหัสข้อมูลของสิ่งเร้าอันตราย ยังสัมพันธ์กับอาการไม่ไวความเจ็บปวดแต่กำเนิดอีกด้วย[36]

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเจ็บปวด http://www.hnehealth.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_... http://www.parl.gc.ca/37/2/parlbus/commbus/senate/... http://www.abolitionist.com/darwinian-life/inverte... http://www.diseasesdatabase.com/ddb9503.htm http://www.etymonline.com/index.php?term=pain http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=338 http://www.jpalliativecare.com/article.asp?issn=09... http://www.medicalnewstoday.com/articles/234450.ph... http://www.springerlink.com/content/p4g44725t17126... http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/0002915...