เบื้องหลัง ของ ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ภูมิหลังประวัติศาสตร์

ดูเพิ่มเติมที่: ปาตานี
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

อดีตรัฐสุลต่านปัตตานีซึ่งกินอาณาเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทยปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส ตลอดจนบางส่วนของจังหวัดสงขลาที่อยู่ใกล้เคียง และส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซียส่วนที่อยู่ปลายคาบสมุทรมลายูปัจจุบันถูกราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์พิชิตในปี พ.ศ. 2328 สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 ยืนยันการปกครองของสยามเหนือดินแดนดังกล่าว ทว่า ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐบาลรัตนโกสินทร์ปล่อยให้ดินแดนดังกล่าวมีอำนาจปกครองตัวเองเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการคงกฎหมายอิสลาม จนในปี 2486 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ริเริ่มกระบวนการแผลงเป็นไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกลืนวัฒนธรรมชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศ รวมทั้งชาวปาตานี[36] ในปี 2487 มีการใช้บังคับกฎหมายแพ่งของไทยในภูมิภาคปาตานีแทนการปกครองแบบอิสลามท้องถิ่นเดิม หลักสูตรในโรงเรียนมีการทบทวนให้ยึดไทยเป็นศูนย์กลาง และสอนเป็นภาษาไทย ศาลมุสลิมตามประเพณีถูกแทนที่ด้วยศาลแพ่งที่รัฐบาลกลางในกรุงเทพมหานครเห็นชอบ การกลืนวัฒนธรรมแบบบังคับนี้เป็นที่ระคายเคืองต่อชาวมาเลย์ปาตานี[37]

ในปี 2490 หะยีสุหลง ผู้ก่อตั้งขบวนการประชาชนปาตานี เริ่มการรณรงค์ร้องทุกข์ โดยเรียกร้องอัตตาณัติ สิทธิทางภาษาและวัฒนธรรม และการใช้กฎหมายอิสลาม[38] ในเดือนมกราคม 2491 สุหลงถูกจับฐานกบฏร่วมกับผู้นำท้องถิ่นอื่น และถูกตราว่าเป็น "ผู้แบ่งแยกดินแดน"[38] ในเดือนเมษายน 2491 เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้านไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู เรียก กบฏดุซงญอ ต่อมา สุหลงได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในปี 2495 ก่อนหายตัวไปภายใต้พฤติการณ์น่าสงสัยในปี 2497[38]

ผู้นำปาตานีปฏิเสธการรับรองว่าเป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ และตอบโต้นโยบายของรัฐบาลไทย ขบวนการชาตินิยมปาตานีเริ่มเติบโตขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจจากอุดมการณ์อย่างนิยมนัสเซอร์ (Nasserism) ในคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยในปี 2502 อดุลย์ ณ สายบุรีก่อตั้งขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี (BNPP) ซึ่งเป็นกลุ่มกบฏมลายูกลุ่มแรก[38] ตามมาด้วยองค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี (PULO) ในปี 2511 ณ เวลาการก่อตั้ง เป้าหมายของกลุ่มชาตินิยมเหล่านี้ได้แก่การแยกตัวออก มีการเน้นสู่การต่อสู้ด้วยอาวุธสู่รัฐเอกราชซึ่งชาวปาตานีสามารถใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีโดยไม่ถูกบังคับด้วยค่านิยมวัฒนธรรมต่างด้าว[39]

หลังจากนั้นมีการกำเนิดกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหลายกลุ่มในภาคใต้ แม้มีอุดมการณ์ต่างกันแต่ส่วนใหญ่มีเป้าหมายแบ่งแยกดินแดนร่วมกัน ล้วนใช้ความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมาย มีการกำหนดรูปแบบการโจมตีที่ตั้งของตำรวจและทหาร เช่นเดียวกบัโรงเรียนและสถานที่ราชการ อย่างไรก็ดี ประสิทธิภาพของกลุ่มเหล่านี้จำกัดด้วยความขัดแย้งภายในและการขาดความเป็นหนึ่งเดียวกัน[40]

ขอบเขตของความไม่สงบลดลงอย่างมากในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เนื่องจากไม่มีกลุ่มพูโล และรัฐบาลไทยเริ่มเพิ่มงบประมาณในพื้นที่และเพิ่มความเข้าใจในท้องถิ่น จนมีการตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยดำเนินการช้าในการยกฐานะทางเศรษฐกิจในพื้นที่และยังมีการปิดกั้นชาวมลายูมุสลิมในธุรกิจและการปกครองท้องถิ่น จนมีการยุบ ศอบต.[41]:8–9

ความรุนแรงรอบใหม่เริ่มขึ้นในปลายปี 2544 หลังจากนั้นระดับความไม่สงบค่อย ๆ สูงขึ้นในช่วงสองปีถัดมา จนต้นปี 2547 มีปฏิบัติการปล้นอาวุธจากค่ายทหารในจังหวัดนราธิวาส[41]:9 แม้ยังไม่อาจทราบตัวการแน่ชัดและไม่มีข้อเรียกร้องเป็นรูปธรรม แต่มีการระบุว่ากลุ่มที่ได้รับฟื้นฟูอย่าง ขบวนการมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี (GMIP), บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต (BRN-C) และฝ่ายติดอาวุธตามอ้าง รุนดา กัมปูลัน เคซิล (RKK) เป็นหัวหอกการก่อการกำเริบใหม่นี้[42]

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

มีการอ้างว่าความยากจนและปัญหาเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยหนึ่งเบื้องหลังการก่อการกำเริบด้วย[43][44] อย่างไรก็ตาม ข้อมูลส่อความว่าภาคใต้ไม่ได้มีปัญหาความยากจน ภาคใต้มีสุขภาพและการเคหะติดอันดับต้น ๆ ของประเทศ[45] ในแง่ของดัชนีความสำเร็จของมนุษย์นั้น จังหวัดภาคใต้ติดอันดับทั้งต้นและท้าย ในแง่ของรายได้ครัวเรือน ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ติดอันดับครึ่งบนของประเทศ ยกเว้นจังหวัดปัตตานี อย่างไรก็ดี จังหวัดดังกล่าวมีปัญหาเรื่องการว่างงานและการกระจายรายได้[45]

ปัจจัยทางการศึกษา

ในระบบโรงเรียนปอเนาะ (Ponok) ของไทย พบว่ามีบางโรงเรียนที่มีเป้าหมายการแบ่งแยกดินแดน หรือการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อตอบโต้รัฐบาลไทย ที่ชาวมุสลิมมลายูในพื้นที่เชื่อว่ากดขี่ข่มเหงพวกเขาชัดเจน ระบบโรงเรียนดังกล่าวถูกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนแทรกซึม แล้วเผยแพร่ลัทธิอุดมการณ์ ซึ่งหน่วยข่าวกรองกองทัพบก ระบุว่า โรงเรียนสอนศาสนากลายเป็นแหล่งบ่มเพาะสมาชิกใหม่ของกลุ่มต่าง ๆ และหัวหน้ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้น ก็สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนปอเนาะ[46]

ใกล้เคียง

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ความไวและความจำเพาะ ความไม่แน่นอน ความไม่สงบในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา ความไม่สงบในอาเจะฮ์ ความไร้สัญชาติ ความไวแสง ISO ความไม่ลงรอยกันทางประชาน ความไม่สงบในทิเบต พ.ศ. 2551

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย http://bangkokpost.com/news/local/386197/27-wounde... http://www.chaidantai.com/?p=26830 http://www.freerepublic.com/focus/news/1444495/pos... http://www.iht.com/articles/ap/2007/06/14/asia/AS-... http://77.nationchannel.com/video/211917/ http://legacy.utsandiego.com/news/world/20070614-0... http://uca.edu/politicalscience/dadm-project/asiap... http://ir.unimas.my/3059/1/Southern%20Thailand%20P... http://apcss.org/wp-content/uploads/2015/08/AP-Was... http://www.deepsouthwatch.org/