คาร์บอน
คาร์บอน

คาร์บอน

คาร์บอน (อังกฤษ: Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป:Lamp black ประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นแกรไฟต์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะกระจายสุ่ม จึงมีโครงสร้างไอโซโทรปิกGlassy carbon มีโครงสร้างไอโซโทรปิกและมีความแข็งพอ ๆ กับกระจก ซึ่งต่างจากแกรไฟต์ที่ชั้นแกรไฟต์ไม่ได้เรียงซ้อนกันเหมือนกระดาษเรียบ ๆ แต่เรียงเหมือนกับกระดาษที่ขยำแล้วคาร์บอนไฟเบอร์มีลักษณะคล้ายกับ glassy carbon ภายใต้การผลิตแบบพิเศษ (การยืดไฟเบอร์อินทรีย์และการทำเป็นคาร์บอน) ทำให้สามารถจัดระนาบคาร์บอนในทิศทางของไฟเบอร์ได้ ในทิศตั้งฉากกับแกนไฟเบอร์ ไม่มีการตั้งระนาบของคาร์บอน ทำให้ไฟเบอร์ที่ได้มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนปรากฏในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และเป็นพื้นฐานของอินทรีย์เคมี นอกจากนี้ อโลหะนี้มีคุณสมบัติทางเคมีที่น่าสนใจ คือ สามารถทำพันธะกับตัวเอง และธาตุอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก เกิดได้เป็นสารประกอบเกือบ 10 ล้านชนิด เมื่อรวมกับออกซิเจน จะเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อรวมกับไฮโดรเจน จะเกิดเป็นสารประกอบต่าง ๆ ที่เรียกรวม ๆ ว่าไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจำเป็นต่ออุตสาหกรรมในรูปแบบของเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อรวมกับทั้งไฮโดรเจนและออกซิเจน สามารถจะเกิดเป็นสารประกอบได้หลายประเภท เช่น กรดไขมัน ซึ่งจำเป็นต่อชีวิต และเอสเทอร์ ซึ่งให้รสชาติแก่ผลไม้หลายชนิด ไอโซโทป คาร์บอน-14ใช้ในการวัดอายุโดยใช้กัมมันตภาพรังสี

คาร์บอน

การออกเสียง /ˈkɑrbən/
หมู่ คาบและบล็อก 14, 2, p
โครงสร้างผลึก เพชร
(เพชร,ใส)
มวลอะตอมมาตรฐาน 12.0108(1)
มอดุลัสของยัง 1050 (เพชร)[10] GPa
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 170 pm
เลขทะเบียน CAS 7440-44-0
จุดระเหิด 3915 K, 3642 °C, 6588 °F
สถานะ ของแข็ง
รัศมีอะตอม 77 pm
อัตราส่วนปัวซอง 0.1 (เพชร)[10]
ความเป็นแม่เหล็ก ไดอะแมกเนติก[9]
ไอโซโทปNAครึ่งชีวิตDMDE (MeV)DP
ไอโซโทปNAครึ่งชีวิตDMDE (MeV)DP
11Csyn20 นาทีβ+0.9611B
12C98.9%C เสถียร โดยมี 6 นิวตรอน
13C1.1%C เสถียร โดยมี 7 นิวตรอน
14Ctrace5730 ปีβ−0.15 014N
โมดูลัสของแรงบีบอัด 442 (เพชร)[10] GPa
สถานะออกซิเดชัน 4, 3[6], 2, 1[7], 0, −1, −2, −3, −4[8]
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) graphite: 2.267 g·cm−3
ความร้อนของการหลอมเหลว 117 (แกรไฟต์) kJ·mol−1
ชื่อ สัญลักษณ์ และเลขอะตอม คาร์บอน, C, 6
จุดร่วมสาม 4600 K, 10800[4][5] kPa
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.55 (Pauling scale)
รัศมีโควาเลนต์ 77(sp³), 73(sp²), 69(sp) pm
การค้นพบ ชาวอียิปต์ and ชาวสุมาเรียน[1] (3750 BC)
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [He] 2s2 2p2
2, 4
ชั้นพลังงานอิเล็กตรอนของคาร์บอน (2, 4)
ความจุความร้อนโมลาร์ 6.155 (เพชร)
8.517 (แกรไฟต์) J·mol−1·K−1
ได้รับการยอมรับว่าเป็นธาตุโดย อองตวน ลาวัวซิเอ[2] (1789)
ความเร็วเสียง (thin rod) (ที่ 20 °C) 18350 (diamond) m·s−1
ความแข็งของโมส์ 10 (เพชร)
1-2 (แกรไฟต์)
การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 0.8 (diamond)[10] µm·m−1·K−1
สภาพนำความร้อน 900-2300 (diamond)
119-165 (graphite) W·m−1·K−1
โมดูลัสของแรงเฉือน 478 (เพชร)[10] GPa
อนุกรมเคมี อโลหะหลายวาเลนซ์

ใกล้เคียง

คาร์บอน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คาร์บอนเตตระฟลูออไรด์ คาร์บอนซับออกไซด์ คาร์บอนเครดิต คาร์บอนฟุตพรินต์ คาร์บอนิกแอซิก คาร์บอนนาโนทิวบ์