คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ
คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ

คำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐ (อังกฤษ: United States Declaration of Independence) เป็นแถลงการณ์ซึ่งสภาภาคพื้นทวีปลงมติยอมรับเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งมีใจความว่า สิบสามอาณานิคม ซึ่งในเวลานั้นกำลังทำสงครามอยู่กับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เป็นรัฐเอกราชแล้ว และดังนั้น ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไป[1] คำประกาศอิสรภาพส่วนใหญ่เขียนขึ้นโดยโทมัส เจฟเฟอร์สัน อธิบายอย่างเป็นทางการว่าเหตุใดสภาจึงลงมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม เพื่อประกาศอิสรภาพจากบริเตนใหญ่ ราวหนึ่งปีหลังจากการปะทุของสงครามปฏิวัติอเมริกัน วันเกิดของสหรัฐอเมริกา หรือวันประกาศเอกราช มีการเฉลิมฉลองขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งตรงกับวันครบรอบที่คำประกาศอิสรภาพได้รับการเห็นชอบโดยสภา[1]คำประกาศอิสรภาพดังกล่าวอธิบายเอกราชของสหรัฐอเมริกาโดยลำดับความเดือดร้อนของอาณานิคมจากพระเจ้าจอร์จที่ 3 และโดยการยืนยันสิทธิธรรมชาติ ตลอดจนสิทธิในการปฏิวัติ จุดประสงค์ดั้งเดิมของเอกสารในการประกาศอิสรภาพ แต่ทว่าข้อความของการประกาศอิสรภาพเดิมได้ถูกปฏิเสธไปหลังจากการปฏิวัติอเมริกัน แต่ความสำเร็จของมันได้เพิ่มมากขึ้นตามกาลเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยคที่สอง อันเป็นข้อความที่ครอบคลุมถึงสิทธิมนุษย์ปัจเจกชน:เราถือว่าความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยู่ในตัวเอง นั่นคือ มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและการเสาะแสวงหาความสุขประโยคนี้ถูกเรียกว่าเป็น "หนึ่งในประโยคที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในภาษาอังกฤษ"[2] และ "คำที่มีอำนาจและผลกระทบมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน"[3] และจากแนวคิดในการปกป้องสิทธิปัจเจกชนและกลุ่มคนชายขอบนี้เองที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่ออับราฮัม ลินคอล์น ผู้ซึ่งพิจารณาว่าคำประกาศอิสรภาพดังกล่าวเป็นรากฐานของปรัชญาการเมืองของตน[4]

ใกล้เคียง

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ คำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์ คำประกาศพิลนิทซ์ คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926 คำประกาศอาร์โบรธ คำประกาศก่อตั้งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต คำประกาศของดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ คำประพันธ์ คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง คำประกาศสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน