งานชุมนุมลูกเสือโลก
งานชุมนุมลูกเสือโลก

งานชุมนุมลูกเสือโลก

งานชุมนุมลูกเสือโลก (อังกฤษ: World Scout Jamboree) เป็นงานชุมนุมลูกเสือที่จัดโดยองค์การลูกเสือโลก ที่เป็นการชุมนุมของลูกเสือจากทั่วโลกอายุตั้งแต่ 14 ถึง 17 ปี งานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกจัดขึ้นโดยองค์กรลูกเสือในลอนดอน ในปี ค.ศ. 1920 งานจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี (ยกเว้นในปีสงคราม) โดยในยุคหลัง ๆ จัดขึ้นโดยองค์การลูกเสือโลก ที่เปลี่ยนสถานที่ชุมนุมไปทั่วโลก งานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20 ในปี ค.ศ. 2002 - 2003 จัดขึ้นที่ หาดยาว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทยงานชุมนุมลุกเสือโลก ครั้งที่ 20  ณ หาดยาว จังหวัดชลบุรี ประเทศไทยหลักการและความเป็นมางานชุมนุมลูกเสือโลกได้จัดมาแล้ว 19 ครั้ง ก่อนที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 20 โดยครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่โอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2463 (ศ.ศ.1920) และครั้งที่ 19 จัดขึ้นที่เมืองปีการ์ควิน กรุงซานดิเอโก ประเทศชิลีส่วนประเทศไทยได้รับการทาบทามอย่างไม่เป็นทางการจากสำนักงานลูกเสือโลกว่า ประเทศไทยสนใจจะเป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 ในปี 2546 (20th  World Scout Jamboree 2003) ต่อจากประเทศชิลีหรือไม่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ได้เห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศไทยเรามีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นเจ้าภาพจัดงานยิ่งใหญ่ที่สุด ของลูกเสือเช่นนี้ได้ ดังเช่นที่เราเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 33 (33th World Scout Conference ) เมื่อปี 2536 มาแล้ว ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนปาร์ค จึงได้จัดส่งคณะผู้แทนลูกเสือไทยจำนวนหนึ่งไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 18 ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อไปเริ่มประชาสัมพันธ์แสดงตัวว่าประเทศไทยขอเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20         หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทย โดยคณะลูกเสือแห่งชาติเป็นเจ้าภาพ จัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20 ได้ จากนั้นคณะผู้แทนลูกเสือไทยจำนวน 62 คน ก็เดินทางไปประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 34 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ในเดือนกรกฎาคม 2539 เพื่อไป Bidding เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ จัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20 และที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 34 ก็มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20 งานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20 จึงได้เกิดขึ้นที่พื้นที่ในความดูแลของกองทัพเรือโดยฐานทัพเรือสัตหีบ ณ บริเวณหาดยาว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2545-7 มกราคม 2546 โดยมีคำขวัญของงานชุมนุมว่า “Share Our World, Share Our Cultures” หรือ ภาคภาษาไทยว่า “ร่วมโลกเดียวกันสร้างสัมพันธ์ต่างวัฒนธรรม” โดยมีลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือทั่วโลก เข้าร่วมงานชุมนุมกว่า 30,000 คน
ความสำคัญ1. ภาพกิจกรรมภายในค่ายชุมนุมฯ         1. หมู่บ้านโลกาภิวัตน์ Global Development Village (GDV) เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติตลอดวันเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในโลกปัจจุบัน มี 4 แนวคิด คือ สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม สันติภาพ และสิทธิมนุษยชน         2. จัตุรัสวัฒนธรรม Crossroads of Culture (COC) เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีงามทางวัฒนธรรม เป็นสถานที่ที่เพื่อนลูกเสือทุกภูมิภาคจากทั่วโลก สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม         3. เมืองวิทยาศาสตร์ City of Science (COS) เป็นเสมือนห้องทดลองสำหรับเยาวชนได้มาใช้เวลาอยู่ในโลกของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการค้นพบและการประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ใช้เวลา ครึ่งวัน         4. กิจกรรมทางน้ำ Face the waves ลูกเสือสามารถสนุกสนานกับกิจกรรมทางน้ำบริเวณด้านหาดยาว ซึ่งมีความยาวตามแนวชายหาด 1.6 ก.ม. โดยใช้เวลา ครึ่งวัน ประกอบไปด้วย กิจกรรมต่อแพ  ล่องแพ  ดำน้ำ Snorkeling  แล่นเรือ  พายเรือ  วินด์เซิร์ฟ Festival Boats และกีฬาชายหาด         5. ทักษะลูกเสือ Tournaments ใช้เวลาครึ่งวันในการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งท้าทายความกล้าหาญทักษะความสามารถของลูกเสือในการเอาตัวรอดการทำงานเป็นหมู่คณะ มีอยู่ 4 ประเภท ประกอบด้วยหุบผามหาภัย กิจกรรมกลางแจ้ง เกมส์มหาสนุก และทดสอบกำลังใจ ซึ่งแต่ละประเภทยังมีสถานีปฏิบัติกิจกรรมย่อยอีกต่างหาก 2. ภาพกิจกรรมนอกค่ายงานชุมนุมฯ         1. มรดกของเรา  Our Heritage ประกอบด้วย มรดกการเกษตร มรดกทางธรรมชาติ มรดกทางอุตสาหกรรม มรดกทางวัฒนธรรม และมรดกการลูกเสือ ลูกเสือแต่ละหมู่สามารถเลือกชมและปฏิบัติได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น         2. พัฒนาชุมชน Community Action Day เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีในงานชุมนุมลูกเสือทั่วไปเพื่อให้ลูกเสือได้รู้จักการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคม  เช่น การทาสีโรงเรียน สร้างสนามเด็กเล่น สร้างที่อ่านหนังสือหมู่บ้าน         3. เดินทางไกล Exploring Nature ใช้เวลาตลอดวัน ลูกเสือจะได้สัมผัสกับธรรมชาติด้วยการเดินเท้าไปตามเส้นทางที่กำหนด พร้อมทั้งใช้ทักษะในการดูแผนที่ และใช้เข็มทิศ          นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมยามว่างให้ผู้ร่วมงานชุมนุมได้ปฏิบัติในช่วงพักจากกิจกรรมหลัก ทั้งภายในและภายนอกค่ายชุมนุมแล้ว คุณค่าหรือคุณประโยชน์         1. งานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20 ผลงานในภาพรวมเป็นที่ประจักษ์แก่คนไทยทั้งชาติ และลูกเสือจากทั่วโลก ต่างมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมงานชุมนุมฯ อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้เป็นเพราะมีการวางแผนงานเป็นอย่างดี ผู้ประสานงานให้ความร่วมมือ ตั้งใจมีความสามัคคี พยายามแก้ปัญหาและมีความเสียสละ ทำงานเพื่อประเทศชาติ          2. งานชุมนุมลูกเสือ เป็นกิจกรรมสำคัญที่ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างเยาวชนลูกเสือให้ทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่แบ่งแยกผิวพรรณ เชื้อชาติและศาสนา         3. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ  ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา เป็นประธานในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือโลก  ครั้งที่ 20 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่เหล่าลูกเสือทั่วโลก
งานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 21 ค.ศ. 2007 จัดขึ้นที่ไฮแลนด์สพาร์ก เอสเซ็กซ์ สหราชอาณาจักร และเป็นการเฉลิมฉลองในวาระ ครบ 100 ปี การลูกเสือโลก

ใกล้เคียง

งานชุมนุมที่มอสโก พ.ศ. 2565 งานชุมนุมลูกเสือโลก งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ งานฟุตบอลประเพณี ราชภัฏฯ–ราชมงคลอีสาน งานบุญกลางบ้าน งานบุญบั้งไฟ งานธุรกิจ งานฟุตบอลประเพณี ผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ผลงานของสุภาพ ไชยวิสุทธิกุล