ลักษณะทั่วไป ของ งู

ระบบภายนอก

ลักษณะภายนอกของงู อวัยวะภายนอก

ลักษณะภายนอกของงูโดยทั่วไป มีอวัยวะประกอบด้วย [11]

  • ลำตัว งูมีลำตัวที่คล้ายหลอดกลมยาว ไม่มีแขน ขา หรือใบหู ลำตัวมีเกล็ดปกคลุมโดยตลอด
  • ตา งูไม่มีเปลือกตาที่สามารถกะพริบได้เช่นตาคน ดังนั้นจึงดูเสมือนว่ามันไม่เคยนอน แต่จริงๆ แล้วงูนอน ในเวลาที่มันนอน รูตาดำ (pupil) ในตาของมันจะหดตัว พร้อมกันนั้นกล้ามเนื้อที่ควบคุมตาจะหย่อน ทำให้ตางูดูเสมือนว่าพลิกคว่ำ บางชนิดมีสายตาไม่ดี
  • ปาก กล้ามเนื้อในปากสามารถยืด-ขยายได้ ทำให้สามารถอ้าปากได้กว้างกว่าขนาดหัวของมันได้หลายเท่าตัว
  • ลิ้น งูสามารถแลบลิ้นออกมาจากปากที่ปิดสนิทได้ ซึ่งงูมีลิ้น 2 แฉก เพื่อใช้แสวงหาทิศทางของกลิ่นต่าง ๆ
  • หาง หางของงูมีลักษณะที่ลดหลั่นขนาดลงมาจากลำตัว มีลักษณะเล็กกลมยาว ปลายแหลม

ระบบภายใน

อวัยวะของงูส่วนใหญ่จะอยู่ในซี่โครงยาว ๆ ทั้งระบบการหายใจ การไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร การขับถ่าย และการสืบพันธุ์[12]

โครงสร้างภายในอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของงู 1.หลอดอาหาร 2.หลอดลม 3.ปอดข้างขวา-ข้างซ้าย 4.ปอดข้างซ้าย 5.ปอดข้างขวา 6.หัวใจ 7.ตับ 8.กระเพาะอาหาร 9.ถุงลม 10.ถุงน้ำดี 11.ตับอ่อน 12.ม้าม 13.ลำไส้ 14.ลูกอัณฑะ 15.ไต

โครงสร้างของกระดูก ประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง ซี่โครง กระดูกเชิงกราน ข้อกระดูกสันหลังที่มากช่วยทำให้งู โค้ง หรืองอตัวได้ดี และมีความแข็งแรงสูงทำให้งูสามารถออกแรงบังคับกล้ามเนื้อบีบรัด โครงกระดูกสันหลังจะไม่เชื่อมต่อกับช่องท้อง มันจึงขยายตัวได้ง่ายเมื่อกินเหยื่อขนาดใหญ่

ระบบหายใจ

งู หายใจเข้าและออก โดยผ่านปาก และหลอดลม เชื่อมกับปอดที่อยู่ด้านขวาข้างเดียว ยกเว้น พวก Boa และ Python ที่มีปอดซ้ายด้วย ช่วยในการหายใจ โดยปกติงูจะมีปอดขวาที่ใหญ่ โดยเฉพาะพวกงูน้ำ จะมีปอดข้างขวาใหญ่เป็นพิเศษ ช่วยควบคุมการลอยตัวน้ำได้ แต่งูบางสายพันธุ์ที่มีปอดด้านซ้าย ที่เชื่อมต่อกับปอดขวาจะทำให้งูชนิดนั้น เก็บอากาศได้มากว่าปกติ เมื่อต้องขยอกเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถหายใจได้ในเวลานั้น ทำให้มันสามารถกั้นหายใจได้นาน

ระบบการไหลเวียนโลหิต

ระบบการไหลเวียนโลหิตของงูเหมือนกับสัตว์ทั่ว ๆ เว้นแต่หัวใจมันมี 3 ห้องแทนที่จะมี 4 ห้อง

ระบบการย่อยอาหาร

กระบวนการย่อยอาหารของงูเริ่มจากที่ปาก เมื่องูกินเหยื่อก็จะขับน้ำย่อยออกมา งูบางชนิดที่มีพิษ มันจะขับพิษออกมาฆ่าเหยื่อ ลำคอและหลอดอาหารของมัน มีกล้ามเนื้อพิเศษที่ช่วยขับดัน อาหารไปยังกระเพาะที่มีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้ดี ลำไส้ของมันจะมีขนาดใหญ่เป็นคด ๆ อาหารที่ไม่ย่อยจะถูกขับออกมาทางทวาร

ระบบขับเหงื่อ

งูไม่มีกระเพาะปัสสวะ ดังนั้นชองเสียจึงถูกกรองผ่านไต และขับกรดปัสสวะออกมา โดยเก็บน้ำใช้ไตกรองน้ำ เพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้

ระบบสืบพันธุ์อวัยวะเพศของงูตัวผู้ ตัวผู้จะมีอวัยวะเพศยื่นออกมาจากลำตัว 2 แต่จะใช้ผสมพันธุ์ครั้งละ 1 อัน

งูมีการผสมพันธุ์เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ ที่ใช้การผสมพันธุ์ภายในร่างกาย ตัวผู้จะมีอวัยวะสืบพันธุ์ 1 คู่ มีลักษระยาวเรียว แต่ในเวลาผสมพันธุ์ จะใช้เพียงอันเดียว โดยปล่อยสเปิร์มจากถุงอัณฑะผ่านท่อปัสสวะไปยังรังไข่ของตัวเมีย

ระบบประสาท

ระบบประสาทของสมองและกระดูกสันหลัง จะเชื่อมต่อกันยาวเป็นเครือข่ายตลอดแนวสันหลัง ทั้งยังควบคุม Jacobson's Organ ในบางสายพันธุ์มีระบบความคุมความร้อนไวต่อความรู้สึก ความร้อน และแสงสว่าง ทำให้เกิดปฏิกิริยากับระบบประสาท

การเลื้อย

โดยปกติงูมีลักษณะการเลื้อย 4 แบบซึ่งปัจจัยสำคัญมากจาก ภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตทำให้มันมีลักษณะการเลื้อยที่ต่างกัน ดังนี้

  1. เลื้อยแบบลำตัวตรง ส่วนใหญ่จะพบในจำพวกงูใหญ่ เคลื่อนไหวช้า โดยมันจะใช้กล้ามเนื้อท้อง ดึงตัวเป็นลักษระลูกคลื่น
  2. เลื้อยแบบคดเคี้ยว การเลื้อยแบบนี้เป็นการเลื้อย โดยปกติของงูทั่ว ๆ ไปบนพื้นหินหรือพื้น ที่ไม่สม่ำเสมอ
  3. เลื้อยแบบถีบตัว การเลื้อยแบบนี้จะเลื้อยบนพื้นที่ม ีลักษณะแน่น ใช้การขดตัวและถีบตัว ไปข้างหน้า
  4. การเลื้อยแบบแถก การเลื้อยแบบนี้จะเลื้อยบนพื้นทรายที่ หลวม ๆ และพื้นดินที่นุ่ม ๆ ใช้การโหย่งตัวขึ้นพ้นพื้น และดันตัวไปด้านข้าง

แหล่งที่มา

WikiPedia: งู http://www.2snake2fish.com/snake/trip/anatomy-move... http://www.2snake2fish.com/snake/trip/reproduction... http://www.mapress.com/zootaxa/2008/f/zt01841p030.... http://www.nature.com/nature/journal/v457/n7230/ab... http://www.wcd13phrae.com/Python%20morulus%20bivit... http://reptile-database.reptarium.cz/advanced_sear... http://reptile-database.reptarium.cz/search.php?ta... http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?se... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19194448 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25625704