งูพิษมีเขาทะเลทราย
งูพิษมีเขาทะเลทราย

งูพิษมีเขาทะเลทราย

Saharan horned viper มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cerastes Cerastes (Linnaeus, 1758)มีลักษณะเด่น คือ บริเวณเหนือตาแต่ละข้างมีส่วนที่คล้ายเขายื่นขึ้นมา ตาจะอยู่ด้านข้างแต่ค่อนไปทางด้านบนของหัว สามารถแยกเพศได้โดยเพศผู้จะมีขนาดของหัวและขนาดของตาที่ใหญ่กว่าเพศเมียอย่างมีนัยสำคัญ สีของงูชนิดนี้มีตั้งแต่สีเหลือง สีน้ำตาลอ่อน สีเทาอ่อน สีชมพู และสีแดง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสีของงูนั้นจะกลืนไปกับพื้นที่อยู่อาศัย ด้านบนของงูจะมีแถบสีดำคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตลอดความยาวของลำตัว ด้านท้องมีสีขาว หางมีลักษณะแบน ปลายหางอาจเป็นสีดำ งูชนิดนี้จะโผล่เฉพาะส่วนของจมูกและส่วนของตาเหนือพื้นทะเลทราย ส่วนของลำตัวจะฝังอยู่ในพื้นทรายเพื่อเป็นการพรางตัว ในวัยเด็กมีการใช้ส่วนหางเป็นเหยื่อล่อโดยใช้หางสั่นไปมาคล้ายหนอนล่อเหยื่อกลุ่มกิ้งก่าหรือจิ้งเหลน[1]Saharan horned viper พบใน ทวีปแอฟริกา โดยพบในทางตอนเหนือของแอฟริกาและแอฟริกาตะวันตกซึ่งจะเป็นบริเวณที่เป็นทะเลทราย [2]Saharan horned viper มีต่อมพิษซึ่งภายในต่อมพิษนั้นจะมีพิษ โดยน้ำพิษนั้นแบ่งเป็นส่วนที่เป็นน้ำย่อยกับส่วนที่เป็นน้ำพิษโดยพิษของงูชนิดนี้มีความรุนแรงพอที่จะฆ่าหนู กิ้งก่า หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กภายในเวลาอันรวดเร็ว งูจึงไม่ต้องสูญเสียพลังงานกับการล่าเหยื่อมากนัก ซึ่งพบว่าลักษณะน้ำพิษของ Cerastes cerastes และ Cerastes vipera ที่หลั่งออกมานั้นมีความใกล้เคียงกัน .[3]Saharan horned viper มีการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง (side winding) เพื่อลดพลังงานในการเคลื่อนที่ [4]Saharan horned viper อาศัยอยู่ในในพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายไม่จำเป็นจะต้องดื่มน้ำเลยโดยน้ำที่ได้มานั้นได้มาจากตัวเหยื่อ [5]Saharan horned viper อาศัยอยู่ในในพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายไม่จำเป็นจะต้องดื่มน้ำเลยโดยน้ำที่ได้มานั้นได้มาจากตัวเหยื่อโดยตรง [6]