อาการ ของ งูสวัด

จะมีอาการปวดอย่างมากบริเวณที่เป็นงูสวัด เจ็บแสบๆ ร้อนๆ บางคนมีอาการคันร่วมด้วยหรือเป็นไข้ได้ บางคนทรมานจากอาการปวดมากจนนอนไม่หลับ เมื่อเป็นอาการแดง มีผื่นขึ้น และบริเวณที่เป็นจะมีกลุ่มของตุ่มน้ำในผิวหนัง ต่อมาตุ่มน้ำจะเริ่มแห้งและตกสะเก็ดจางหายไป ระยะเวลาตั้งแต่เป็นจนหายไปประมาณ 7-14 วัน

ในเด็ก โรคนี้จะไม่รุนแรง เท่าผู้ใหญ่

ลักษณะผื่น

2-3 วันแรก จะมีอาการ ปวดแสบปวดร้อน หรือคัน ตาม dermatome เรียก zoster-associated pain และ ระดับ T3 to L3 มักพบได้มาก

ต่อมาจะมีผื่นขึ้นแบบ erythematous maculopapular rash ขึ้นไม่มาก อยู่ประมาณ 3-5 วัน

รวมระยะเวลาแล้ว คือ 7-10 วัน

เพราะฉะนั้น จะเห็นเป็นทางขวางตามลำตัวด้านหน้า ด้านหลัง รอบเอว ตามแนวเส้นประสาทตามยาวที่แขนและขา หรือตามแนวเส้นประสาทที่บริเวณใบหน้า นัยน์ตา หู ศีรษะ เป็นต้น หากลามเข้าที่ตาแล้วจะทำให้ตาบอด (จาก ophthalmic branch of the trigeminal nerve ทำให้เกิด zoster ophthalmicus )

งูสวัด ไม่สามารถจะพันตัวเรา จนครบรอบเอวได้เพราะแนวเส้นประสาทของตัวเรา จะมาสิ้นสุดที่บริเวณกึ่งกลางลำตัวเท่านั้น ในคนธรรมดาที่มีภูมิต้านทานปกติ งูสวัดจะไม่ลุกลามเข้ามาแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่ง ของร่างกาย (ยกเว้นในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น ถ้าเกิดเป็นงูสวัด ก็อาจปรากฏขึ้นสองข้างพร้อมกัน ดูเหมือนงูสวัดพันข้ามแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่งของร่างกายได้ หรือเป็นงูสวัดทั่วร่างกายได้)

อาการต่อเนื่อง

แผลที่เกิดขึ้น จะสามารถหายสนิทเป็นปกติในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

อาการปวดตามแนวเส้นประสาทระยะจากที่โรคงูสวัดหายแล้ว (post herpetic neuralgia) คืออาการปวดเจ็บแสบร้อนตามแนวเส้นประสาทนี้ ถึงแม้ว่า ผื่นงูสวัดหายไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีอาการปวดแสบร้อนอยู่ บางรายเป็นอยู่หลายเดือนทำให้ทรมานพอสมควร มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

อาการแทรกซ้อน

สำหรับอาการแทรกซ้อนที่สำคัญคือ อาการปวดเกิดขึ้นภายหลังจากผื่นหายหมดแล้ว มักเกิดกับผู้สูงอายุที่เป็นงูสวัดบริเวณประสาทสมองคู่ที่ 5 อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผื่น หรือโรคแทรกซ้อนทางตา เช่นตาอักเสบ เส้นประสาทตาอักเสบ หรือ แผลที่กระจกตา ในกรณีของผู้ป่วยที่ภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดอิมมูน อาจมีการกระจายของผื่นทั่วตัวได้ แพทย์บางท่านอาจจะให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสชนิดรับประทานเป็นเวลาประมาณ 5-10 วันร่วมด้วย ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

แหล่งที่มา

WikiPedia: งูสวัด http://www.diseasesdatabase.com/ddb29119.htm http://www.emedicine.com/derm/topic180.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic823.htm http://www.emedicine.com/med/topic1007.htm http://www.emedicine.com/oph/topic257.htm http://www.emedicine.com/ped/topic996.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=053 http://hardinmd.lib.uiowa.edu/shingles.html http://www.ninds.nih.gov/disorders/shingles/shingl... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5388903