จักรพรรดิเจียชิ่ง
จักรพรรดิเจียชิ่ง

จักรพรรดิเจียชิ่ง

จักรพรรดิเจียชิ่ง (จีนตัวย่อ: 嘉庆; จีนตัวเต็ม: 嘉慶; พินอิน: Jiāqìng 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 23032 กันยายน พ.ศ. 2363) พงศาวดารไทยเรียก เกียเข้ง[1] เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเหยียน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริงเมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเลพระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตายตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรคเที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง มีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระอัครมเหสีฮีตียา ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และพระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากพระมเหสีหนิวฮูลู่ พระอัครมเหสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นพระมเหสี ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดพระนางเลย แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์ เหตุที่ไม่โปรดพระมเหสีหนิวฮูลู่ นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัยในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่าง ๆ การที่เวียดนามขอแยกออกไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงานกับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลังในปลายรัชสมัย มีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ สวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ องค์ชายเหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง

จักรพรรดิเจียชิ่ง

ราชสกุล House of Aisin-Gioro
พระราชบุตร Mianmu, Prince Mu
Princess Zhuangjing
องค์ชายเหมียนหนิง
Princess Zhuangjing
Princess Huian
Miankai, Prince Dun
Mianxin, Prince Rui
Mianyu, Prince Hui
ผู้สำเร็จราชการ จักรพรรดิเฉียนหลง (1796-1799)
ก่อนหน้า จักรพรรดิเฉียนหลง
ฝังพระศพ Western Qing Tombs
ครองราชย์ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796 – 2 กันยายน ค.ศ. 1820
(700124000000000000024 ปี 7002206000000000000206 วัน)
จักรพรรดินี จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
พระราชมารดา สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวอี้ชุน
พระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลง
สวรรคต 2 กันยายน ค.ศ. 1820 (59 ปี)
Chengde summer palace, modern Hebei
ถัดไป จักรพรรดิเต้ากวง
ประสูติ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1760(1760-11-13)
Old Summer Palace, Beijing
หย่งเยี่ยน
รัชศกพระนามหลังสิ้นพระชนม์วัดประจำรัชกาล
รัชศก
1796 - 1821 - Jiāqìng 嘉慶
พระนามหลังสิ้นพระชนม์
จักรพรรดิ Shòutiān Xìngyùn Fūhuà Suīyóu Chóngwén จิงหวู่ กวงอู Xiàogōng Qínjiǎn Duānmǐn Yīngzhé Ruì
受天興運敷化綏猷崇文經武光裕孝恭勤儉端敏英哲睿皇帝
วัดประจำรัชกาล
Qing เหรินจง
清仁宗

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดิคังซี จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพันธ์ แก้วพรม จักรพรรดิกวังซฺวี่