การเมืองการปกครอง ของ จังหวัดจันทบุรี

จังหวัดจันทบุรีมีรูปแบบการปกครองทั้งในรูปแบบการแบ่งอำนาจและการกระจายอำนาจ โดยในปัจจุบันจังหวัดจันทบุรีมีการแบ่งอำนาจออกเป็น 10 อำเภอและมีจำนวนเทศบาลตามหลักการกระจายอำนาจ 45 เทศบาล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดและ 34 องค์การบริหารส่วนตำบล ในส่วนของการเมืองระดับชาตินั้น จังหวัดจันทบุรีมีเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขตและเขตการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 1 เขต

หน่วยการปกครอง

แผนที่จังหวัดจันทบุรี

จังหวัดจันทบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 76 ตำบล 731 หมู่บ้าน[31] ดังนี้[32]

1. อำเภอเมืองจันทบุรี2. อำเภอขลุง3. อำเภอท่าใหม่4. อำเภอโป่งน้ำร้อน5. อำเภอมะขาม

1.  ตำบลตลาด
2.  ตำบลวัดใหม่
3.  ตำบลคลองนารายณ์
4.  ตำบลเกาะขวาง
5.  ตำบลคมบาง
6.  ตำบลท่าช้าง
7.  ตำบลจันทนิมิต
8.  ตำบลบางกะจะ
9.  ตำบลแสลง
10.  ตำบลหนองบัว
11.  ตำบลพลับพลา

1.  ตำบลขลุง
2.  ตำบลบ่อ
3.  ตำบลเกวียนหัก
4.  ตำบลตะปอน
5.  ตำบลบางชัน
6.  ตำบลวันยาว
7.  ตำบลซึ้ง
8.  ตำบลมาบไพ
9.  ตำบลวังสรรพรส
10.  ตำบลตรอกนอง
11.  ตำบลตกพรม
12.  ตำบลบ่อเวฬุ

1.  ตำบลท่าใหม่
2.  ตำบลยายร้า
3.  ตำบลสีพยา
4.  ตำบลบ่อพุ
5.  ตำบลพลอยแหวน
6.  ตำบลเขาวัว
7.  ตำบลเขาบายศรี
8.  ตำบลสองพี่น้อง
9.  ตำบลทุ่งเบญจา
10.  ตำบลรำพัน
11.  ตำบลโขมง
12.  ตำบลตะกาดเง้า
13.  ตำบลคลองขุด
14.  ตำบลเขาแก้ว

1.  ตำบลโป่งน้ำร้อน
2.  ตำบลทับไทร
3.  ตำบลหนองตาคง
4.  ตำบลเทพนิมิต
5.  ตำบลคลองใหญ่

1.  ตำบลมะขาม
2.  ตำบลท่าหลวง
3.  ตำบลปัถวี
4.  ตำบลวังแซ้ม
5.  ตำบลฉมัน
6.  ตำบลอ่างคีรี

6. อำเภอแหลมสิงห์7. อำเภอสอยดาว8. อำเภอแก่งหางแมว9. อำเภอนายายอาม10. อำเภอเขาคิชฌกูฏ
  1. ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์
  2. ตำบลเกาะเปริด
  3. ตำบลหนองชิ่ม
  4. ตำบลพลิ้ว
  5. ตำบลคลองน้ำเค็ม
  6. ตำบลบางสระเก้า
  7. ตำบลบางกะไชย
  1. ตำบลปะตง
  2. ตำบลทุ่งขนาน
  3. ตำบลทับช้าง
  4. ตำบลทรายขาว
  5. ตำบลสะตอน
  1. ตำบลแก่งหางแมว
  2. ตำบลขุนซ่อง
  3. ตำบลสามพี่น้อง
  4. ตำบลพวา
  5. ตำบลเขาวงกต
  1. ตำบลนายายอาม
  2. ตำบลวังโตนด
  3. ตำบลกระแจะ
  4. ตำบลสนามไชย
  5. ตำบลช้างข้าม
  6. ตำบลวังใหม่
  1. ตำบลชากไทย
  2. ตำบลพลวง
  3. ตำบลตะเคียนทอง
  4. ตำบลคลองพลู
  5. ตำบลจันทเขลม

การปกครองส่วนท้องถิ่น

เขตการเลือกตั้งของจังหวัดจันทบุรี

จังหวัดจันทบุรีมีหน่วยการปกครองในรูปแบบกระจายอำนาจทั้งสิ้น 80 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 5 แห่ง เทศบาลตำบล 40 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 34 แห่ง[33][34] ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 โดยมีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดจันทบุรี[35] โดยมีหน้าที่หลักในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงประสานและร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการวางแผนพัฒนาจังหวัด[36] ปัจจุบันมีนายธนภณ กิจกาญจน์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีคนปัจจุบัน[37] สำหรับหน่วยการปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลนั้นเริ่มขึ้นครั้งแรกในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี โดยมีการจัดตั้งสุขาภิบาลจันทบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2451[38] ซึ่งต่อมาได้มีการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. 2478[39]

การเมืองระดับชาติ

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับชาติของจังหวัดจันทบุรีนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้จังหวัดจันทบุรีมีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขตเลือกตั้ง[40] โดยเขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบไปด้วยอำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอแหลมสิงห์ เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบไปด้วยอำเภอท่าใหม่ อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมวและอำเภอเขาคิชฌกูฏและเขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบไปด้วยอำเภอขลุง อำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อนแล้วก็อำเภอสอยดาว[41] สำหรับจำนวนสมาชิกวุฒิสภาของจังหวัดจันทบุรีในอดีตมี 2 คน อย่างไรก็ตามตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา จังหวัดจันทบุรีสามารถมีสมาชิกวุฒิสภาได้ 1 คนเท่านั้น[42]

รายพระนามและชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด

รายพระนามและชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี[43][44]
พระนาม/ชื่อเข้ารับตำแหน่งสิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
1. พระภิรมย์ฯไม่มีข้อมูลไม่มีข้อมูล
2. พระจันทบุรีศรีสมุทร์เขตต์ไม่มีข้อมูลไม่มีข้อมูล
3. หม่อมเจ้าศรีศุขนพมาศ นวรัตนพ.ศ. 2459พ.ศ. 2469
4. พระยามานิตย์กุลพัทธพ.ศ. 2469ธันวาคม พ.ศ. 2471
5. พระพิสิษฏสุทธเลขา17 ธันวาคม พ.ศ. 247131 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
6. พระนิกรบดี1 มิถุนายน พ.ศ. 24772 ธันวาคม พ.ศ. 2479
7. ขุนประสงค์สุขการี2 ธันวาคม พ.ศ. 24791 ธันวาคม พ.ศ. 2484
8. หลวงอรรถสิทธิสุนทร (ผวน ทองสยาม)2 ธันวาคม พ.ศ. 24842 ตุลาคม พ.ศ. 2485
9. หลวงอรรถเกษมเกษา (สวิง อรรถเกษม)3 ตุลาคม พ.ศ. 24851 มกราคม พ.ศ. 2487
10. ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ (สุวงศ์ รัฐวุฒิวิจารณ์)11 มกราคม พ.ศ. 248713 มิถุนายน พ.ศ. 2489
11. นายชุบ พิเศษนครกิจ7 ตุลาคม พ.ศ. 248923 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
12. นายถนอม วิบูลมงคล24 พฤษภาคม พ.ศ. 24927 มกราคม พ.ศ. 2495
13. ขุนคำนวณวิจิตร (เชย บุนนาค)8 มกราคม พ.ศ. 24952 เมษายน พ.ศ. 2496
14. ขุนวรคุตตคณารักษ์3 เมษายน พ.ศ. 249618 มีนาคม พ.ศ. 2499
15. นายผาด นาคพิน19 มีนาคม พ.ศ. 249912 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501
16. หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 250128 กันยายน พ.ศ. 2507
17. นายส่ง เหล่าสุนทร29 กันยายน พ.ศ. 250718 กรกฎาคม พ.ศ. 2512
18. จ.ต.ต. ชั้น สุวรรณทรรภ21 กรกฎาคม พ.ศ. 251225 ธันวาคม พ.ศ. 2514
19. นายวิชิต ศุขะวิริยะ26 ธันวาคม พ.ศ. 25146 ธันวาคม พ.ศ. 2516
20. นายบุญช่วย ศรีสารคาม7 ธันวาคม พ.ศ. 251630 กันยายน พ.ศ. 2519
21. น.อ.จำลอง ประเสริฐยิ่ง ร.น.1 ตุลาคม พ.ศ. 251930 กันยายน พ.ศ. 2520

รายพระนามและชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี (ต่อ)
พระนาม/ชื่อเข้ารับตำแหน่งสิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
22. นายประกิต อุตตะโมต1 ตุลาคม พ.ศ. 252014 ตุลาคม พ.ศ. 2521
23. นายพิบูลย์ ธุรภาคพิบูล15 ตุลาคม พ.ศ. 252130 กันยายน พ.ศ. 2523
24. นายบุญนาค สายสว่าง1 ตุลาคม พ.ศ. 252330 กันยายน พ.ศ. 2528
25. นายสมพงศ์ พันธ์สุวรรณ1 ตุลาคม พ.ศ. 252830 กันยายน พ.ศ. 2532
26. นายปรีดา มุตตาหารัช1 ตุลาคม พ.ศ. 253214 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
27. เรือตรี สุกรี รักษ์ศรีทอง15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 253330 กันยายน พ.ศ. 2534
28. นายวิมล พวงทอง1 ตุลาคม พ.ศ. 253430 กันยายน พ.ศ. 2536
29. นายอมร อนันตชัย1 ตุลาคม พ.ศ. 253630 กันยายน พ.ศ. 2541
30. ประพันธ์ ชลวีระวงศ์1 ตุลาคม พ.ศ. 254130 กันยายน พ.ศ. 2543
31. นายอัครพงศ์ พยัคฆันตร1 ตุลาคม พ.ศ. 254330 กันยายน พ.ศ. 2544
32. นายวิทยา ปิณฑะแพทย์1 ตุลาคม พ.ศ. 254430 กันยายน พ.ศ. 2547
33. นายพนัส แก้วลาย1 ตุลาคม พ.ศ. 254730 กันยายน พ.ศ. 2550
34. นายประจักษ์ สุวรรณภักดี1 ตุลาคม พ.ศ. 255030 กันยายน พ.ศ. 2551
35. นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล1 ตุลาคม พ.ศ. 255130 กันยายน พ.ศ. 2553
36. นายธีรเทพ ศรียะพันธ์1 ตุลาคม พ.ศ. 255327 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
37. นายวิชิต ชาตไพสิฐ28 พฤศจิกายน พ.ศ. 255428 กันยายน พ.ศ. 2555
38. นายสุรชัย ขันอาสา1 ตุลาคม พ.ศ. 255530 กันยายน พ.ศ. 2556
39. นายเกรียงเดช เข็มทอง1 ตุลาคม พ.ศ. 25561 มิถุนายน พ.ศ. 2557
40. นายสามารถ ลอยฟ้า2 มิถุนายน พ.ศ. 255730 กันยายน พ.ศ. 2558
41. นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์1 ตุลาคม พ.ศ. 255828 มีนาคม พ.ศ. 2559 [45]
42. นายวิทูรัช ศรีนาม29 มีนาคม พ.ศ. 2559
21 เมษายน พ.ศ. 2559 [46]
22 เมษายน พ.ศ. 2559 [47]
ปัจจุบัน
T22

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดเลย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: จังหวัดจันทบุรี http://61.19.54.141/research/r_and_d/News/data_pro... http://www.aiyaragems.com/content.aspx?id=70 http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/DL04Ae... http://www.bantonnamchan.com/ http://xn--82c4aff9bye6aw.blogspot.com/ http://www.chanforchan.com/index.php?lay=show&ac=a... http://maps.google.com/?ie=UTF8&ll=12.61,102.11&sp... http://travel.kapook.com/view26028.html http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B... http://www.lonelyplanet.com/thailand/chanthaburi-p...