ประวัติเมืองชุมพร ของ จังหวัดชุมพร

คำว่า ชุมพร มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น ชุมพร อีกประการหนึ่ง ในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหารในสถานที่ชุมนุม เพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพรหรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน

แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของ ตราประจำจังหวัดชุมพร

สมัยกรุงสุโขทัย

เมืองชุมพรเป็นเมืองมีเจ้าเมืองปกครองมายาวนาน ในสมัยสุโขทัยนั้น เป็นเมืองขึ้นต่ออาณาจักรนครศรีธรรมราช ในฐานะเมืองอาณานิคม และเป็นเมืองหน้าด่าน ฝ่ายเหนือ หรือเมืองปีมะแม ถือตราแพะ เป็น 1 ในเมือง 12 เมือง หรือเรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร ของอาณาจักรนครศรีธรรมราช

สมัยกรุงศรีอยุธยา

เมืองชุมพรในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้แผ่ขยายอาณานิคมลงทางใต้ ชาวจาม มาอยู่ที่เมืองชุมพร เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถ การค้า การเดินเรือ และการรบ จะเห็นได้จากทหาร อาสาจาม เป็นทหารชั้นดี ที่รับใช้ราชสำนักตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา มีความสามารถการรบ และการเดินเรือ อย่างเชี่ยวชาญ ตั้งแต่นั้นจนทำให้เมืองชุมพร ต้องขึ้นต่ออาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองอาณานิคม และเป็นเมืองหน้าด่าน ฝ่ายใต้ และเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญ ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมืองชุมพรจึงมีบทบาทเป็นเมืองหน้าด่าน มาแต่โบราณในอาณาจักรนครศรีธรรมราช และอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ทำให้ไม่มีการก่อสร้างวัตถุถาวรได้ ดังนั้นชาวชุมพรจึงเป็นลูกหลานนักรบที่แท้จริง และควรให้สมญานามบรรพบุรุษว่า “วีรบุรุษนักรบแห่งคอคอดกระ ดินแดนสองฝั่งทะเล"[ต้องการอ้างอิง] จากการทำศึกสงครามอย่างต่อเนื่องในแต่ละยุคแต่ละสมัย

สมัยกรุงธนบุรี

เมืองชุมพรในสมัยกรุงธนบุรีไม่ค่อยมีบทบาทมากนักเพราะอยู่ในภาวะสงครามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งรัชกาล และสืบเนื่องจาก พระชุมพร (พวย) นำกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ เมืองชุมพร กำลังพลประมาณ 800 คน ได้สูญเสียจากการรบในช่วงกรุงแตกที่ ค่ายบางกุ้ง จากการส่งกำลังเข้ารักษาพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2305-2308 และเข้าร่วมรบเพื่อตีเมืองนครศรีธรรมราช จึงทำให้เกิดการล้าของชาวเมืองชุมพร

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองชุมพรเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญ จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวจามยังมีบทบาทในดินแดนแทบนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด และเมื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สามารถเดินเรือได้เอง ชาวจามก็หมดบทบาทลงในเวลาต่อมา

อาณาเขตการปกครอง

เจ้าเมืองชุมพร ปกครองอาณาเขตเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี มีเมืองจัตวาเป็นเมืองขึ้น 8 เมือง ดังนี้

เจ้าเมืองชุมพร เป็นเชื้อสายจาม สืบเชื้อสายหลายพันปี ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึง สมัยกรุงธนบุรี มีบรรดาศักดิ์ นามว่า "ออกญาเคาะงะ" เป็นภาษาจาม หรือ พระชุมพร ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนบรรดาศักดิ์ นามว่า พระยาชุมพร และ พระยาเพชรกำแหงสงคราม ตามด้วยชื่อ และต่อได้ยกเลิกให้ใช้บรรดาศักดิ์เดิม

รายชื่ออดีตเจ้าเมือง

    • ออกญาเคาะงะ ทราธิบดีศรีสุรัตนวลุมหนัก ก่อน พ.ศ. 1997
    • พระชุมพร (พวย) พ.ศ.ไม่ปรากฏ- 2310 (เสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒)
    • พระชุมพร (มั่น) พ.ศ. 2312-2312
    • พระยาแก้วโกรพ พ.ศ. 2336 เข้าร่วมกองเรือไปตีเมืองมะริด
    • พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ถิ่น) น่าจะเป็นคนเดียวกับพระยาแก้วโกรพ
    • พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย) ก่อน พ.ศ. 2367-2367
    • พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ยม) พ.ศ. 2368-2368
    • พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ครุฑ) พ.ศ. 2369-2404 ได้เลื่อนบันดาศักดิ์ เป็นเจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ) พ.ศ. 2404 ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมเวียง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
    • พระยาเพชรกำแหงสงคราม (กล่อม) พ.ศ. 2404-2411 ถูกเรียกกลับกรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2411 เพื่อลงนามปันเขตแดนไทย-พม่า ให้ขึ้นบังคับกับอังกฤษ ลงนามวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411
    • พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ยัง ซุ่ยยัง) บุตรพระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย) พ.ศ. 2411-2437
    • พระยารามฤทธิรงค์ (สิน) พ.ศ. 2437-2439 (รักษาราชการ)
    • พระยาชุมพร (มะลิ ยุกตนันท์) พ.ศ. 2439-2444

เจ้าเมืองชุมพร มักเรียก พระยาชุมพร โดยไม่เรียกบรรดาศักดิ์ใหม่ เช่น พระยาเพชรกำแหงสงคราม หรือ เลื่อนบรรดาศักดิ์สูงกว่าแต่ยังเรียก พระยาชุมพร เหมือนเดิม ต่อจากนั้นไม่ได้ใช้บรรดาศักดิ์ พระยาเพชรกำแหงสงคราม แต่ใช้ยศหรือบรรดาศักดิ์ ที่ได้รับพระราชทานมาแต่เดิม มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2445 เป็นต้นมา

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด

รายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร
พระนาม/ชื่อเข้ารับตำแหน่งสิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
1. พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง)พ.ศ. 2439 (ร.ศ.115)พ.ศ. 2439 (ร.ศ.115)
2. หลวงสวัสดิ์บุรีรมย์พ.ศ. 2440พ.ศ. 2441
3. พระเพชรกำแหงสงคราม (มะลิ ยุกตนันท์)พ.ศ. 2442พ.ศ. 2448
4. พระยาสุราฤทธิ์ภักดี1 เมษายน 244930 มิถุนายน 2451
5. พระยาสำเริงนฤปการ1 มกราคม 245130 มิถุนายน 2452
6. พระยาวิเศษชัยชาญ1 มกราคม 245230 มิถุนายน 2455
7. พระยาราชพินิจจัย (ชุม โอสถานนท์)1 เมษายน 245630 ตุลาคม 2458
8. พระเทพราชธานี1 เมษายน 245830 มีนาคม 2459
9. พระชุมพรบุรีศรีสมุทร์เขต (บัว)1 เมษายน 246030 กันยายน 2464
10. พระยาพิพิธลำพลวิมลภักดี31 ตุลาคม 246431 มกราคม 2471
11. พระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี1 พฤษภาคม 247131 มกราคม 2473
12. พระระนองธานี1 มิถุนายน 247331 พฤศจิกายน 2476
13. พ.ต.อ.พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุนนาค)30 มีนาคม 2475พฤศจิกายน 2476
14. พระยาอมรฤทธิ์ธำรง1 มีนาคม 24769 กันยายน 2478
15. น.ท.หลวงสุนาวินวิวัฒน์ ร.น.1 ธันวาคม 24781 เมษายน 2481
16. หลวงจรูญประสาสน์ (จรูญ คชภูมิ)1 พฤษภาคม 248131 ธันวาคม 2485
17. ขุนบริรักษ์บทวสัญช์ (ชุ่ม)1 มกราคม 248631 ตุลาคม 2486
18. นายวิเศษ สรรค์ประศาสน์1 พฤศจิกายน 248630 มีนาคม 2487
19. นายเกษม อุทยานิน3 กรกฎาคม 248731 กรกฎาคม 2487
20. นายเนื่อง ปาณิกบุตร1 มกราคม 248830 มิถุนายน 2488
21. นายชอบ ชัยประภา1 กรกฎาคม 248820 มิถุนายน 2489
22. พระนิกรบดี12 กันยายน 248915 มกราคม 2490
23. นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์18 มกราคม 24902 ธันวาคม 2492
24. ขุนรัตนวรพงศ์7 ธันวาคม 249217 กรกฎาคม 2493
25. นายแสวง ทับทอง21 กรกฎาคม 249517 กรกฎาคม 2500
26. นายส่ง มีมุทา12 กรกฎาคม 250030 กันยายน 2511
27. นายประพัฒน์ บุญช่วย1 ตุลาคม 251130 กันยายน 2514
28. นายชวน พรพงศ์1 ตุลาคม 251430 กันยายน 2515
29. นายลิขิต รัตนสังข์1 ตุลาคม 251530 กันยายน 2516
30. นายประชุม บุญประคอง1 ตุลาคม 251612 กุมภาพันธ์ 2518
31. น.อ.จำลอง ประเสริฐยิ่ง ร.น.13 กุมภาพันธ์ 251830 กันยายน 2519
32. นายอรุณ รุจิกัณหะ1 ตุลาคม 251931 มกราคม 2522
33. นายบุญนาค สายสว่าง1 กุมภาพันธ์ 252230 กันยายน 2523
34. นายเติมศักดิ์ สมันตรัฐ1 ตุลาคม 252324 เมษายน 2524
35. นายพจน์ อินทวิเชียร1 มิถุนายน 252430 กันยายน 2529
36. ร.ต.เบญจกุล มะกะระธัช1 ตุลาคม 252930 กันยายน 2531
37. นายปัญญา ฤกษ์อุไร1 ตุลาคม 253130 กันยายน 2532
38. นายสุชาญ พงษ์เหนือ1 ตุลาคม 253230 กันยายน 2533
39. นายกนก ยะสารวรรณ1 ตุลาคม 253330 กันยายน 2534
40. นายปริญญา นาคฉัตรีย์1 ตุลาคม 253430 กันยายน 2535
41. นายประยูร พรหมพันธ์1 ตุลาคม 253530 กันยายน 2537
42. นายประพัฒนพงษ์ บำเพ็ญสิทธ์1 ตุลาคม 253731 กันยายน 2539
43. นายคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์1 ตุลาคม 253919 ตุลาคม 2540
44. นายสุรพล กาญจนจิตรา20 ตุลาคม 254030 กันยายน 2542
45. นายศักดิ์ เตชาชาญ1 ตุลาคม 254230 กันยายน 2543
46. ม.ล.ประทีป จรูญโรจน์2 ตุลาคม 254330 กันยายน 2545
47. นายเมฆินทร์ เมธาวิกูล1 ตุลาคม 254530 กันยายน 2547
48. นายอานนท์ มนัสวานิช1 ตุลาคม 254730 กันยายน 2548
49. นายพินัย อนันตพงศ์1 ตุลาคม 254813 พฤษภาคม 2550
50. นายสุวัฒน์ ตันประวัติ14 พฤษภาคม 255030 กันยายน 2550
51. นายมานิต วัฒนเสน1 ตุลาคม 255019 ตุลาคม 2551
52. นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ20 ตุลาคม 25519 มิถุนายน 2553
53. นายพินิจ เจริญพานิช9 มิถุนายน 255328 ตุลาคม 2555
54. นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า1 ตุลาคม 255530 กันยายน 2557
55. นายวงศศิริ พรหมชนะ3 พฤศจิกายน 255730 กันยายน 2558
56. นายสมดี คชายั่งยืน1 ตุลาคม 255830 กันยายน 2559
57. นายณรงค์ พลละเอียด1 ตุลาคม 25591 พฤษภาคม 2561
58. นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์29 มิถุนายน 2561ปัจจุบัน

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดเลย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น