ภูมิศาสตร์ ของ จังหวัดยโสธร

ที่ตั้งและอาณาเขต

ศาลากลางจังหวัดยโสธรตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร ณ ละติจูด 15° 47´.6 เหนือ ลองจิจูด 104° 08´.7 ตะวันออก และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ภูมิประเทศ

จังหวัดยโสธรตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบหรือแอ่งโคราช โดยอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 128 เมตร มีพื้นที่ 4,161.444 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,600,902.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของพื้นที่ทั่วประเทศ (321 ล้านไร่) และคิดเป็นร้อยละ 12.89 ของพื้นที่กลุ่มจังหวัด แยกเป็นพื้นที่การเกษตร 1,623,649 ไร่ (62.42%) ป่าสงวนแห่งชาติ 712,822 ไร่ (27.41%) ที่อยู่อาศัย 34,776 ไร่ (1.34%) และอื่นๆ อีก 29,655 ไร่ (8.83%) พื้นที่มีลักษณะลาดเอียงจากทิศตะวันตกลงไปทางทิศตะวันออก ลักษณะดินส่วนมากเป็นดินทรายและดินเค็ม ทางด้านตอนบนของจังหวัดมีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น มีสภาพเป็นป่าและภูเขาขนาดเล็กเป็นบางบริเวณ ในอดีตเคยเป็นพื้นที่ของป่าดงบังอี่คือ อำเภอเลิงนกทา อำเภอกุดชุม และอำเภอไทยเจริญ และเป็นต้นกำเนิดลำน้ำสายสำคัญคือ ลำเซบาย และลำน้ำโพง และมีลำน้ำเล็กๆ คือ ห้วยสะแบก ห้วยลิงโจน เป็นต้น ทางด้านตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัดมีลักษณะเป็นเป็นที่ราบลุ่มต่ำสลับกับสันดินริมน้ำแม่น้ำชีคือ อำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง ความยาวเฉพาะช่วงที่แม่น้ำชีไหลผ่านจังหวัดยโสธร มีความยาว 110  กิโลเมตร มีน้ำไหลตลอดปี มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 8,035 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ปริมาณน้ำที่กักเก็บได้เฉลี่ย 4,179 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีปริมาณน้ำท่าเหลือเฉลี่ย 3,856 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีลำน้ำเล็กๆ คือ ลำชีหลง ลำทวน ห้วยขั้นไดใหญ่ ห้วยพระบาง ห้วยน้ำเค็ม ห้วยพันทม ห้วยสันโดด เป็นต้น ด้านตะวันตกของจังหวัดมีลำน้ำยังไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำชีในพื้นที่อำเภอเมืองยโสธร มีลำน้ำเล็กๆ คือ ห้วยแกวใหญ่ ส่วนด้านตะวันออกมีลำเซบาย และลำน้ำโพงไหลผ่านในพื้นที่อำเภอป่าติ้ว และอำเภอคำเขื่อนแก้ว มีลำน้ำเล็ก ๆ คือ ห้วยทม

พื้นที่ในจังหวัดยโสธรมีลักษณะดินต่าง ๆ โดยเป็นดินปนทราย 306,899 ไร่ หรือร้อยละ 11.79 ของพื้นที่จังหวัด ดินเค็ม(ปานกลางและน้อย) 140,255 ไร่ หรือร้อยละ 5.39 เป็นดินตื้นปนกรวดและดินภูเขา 68,117 ไร่ หรือร้อยละ 2.62  และตามข้อมูล กชช.2ค. มีจำนวนหมู่บ้านที่มีปัญหาคุณภาพดิน ระดับมาก จำนวน 270 หมู่บ้าน ระดับปานกลาง 241 หมู่บ้าน รวมเป็น 511 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 57.74 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ถือว่ามีปัญหาเรื่องคุณภาพดินค่อนข้างมาก

ป่าไม้

จังหวัดยโสธรมีพื้นที่ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติทั้งสิ้น จำนวน 27 ป่า เนื้อที่ 712,822 ไร่ ปัจจุบันกรมป่าไม้ได้ส่งมอบพื้นที่เสื่อมโทรมให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  นำไปปฏิรูปให้เกษตรกรทั้งสิ้น 509,405  ไร่  และมีพื้นที่กันคืนให้กรมป่าไม้เนื่องจากสภาพยังคงเป็นป่าแปลงเล็กแปลงน้อย จำนวน 241 แปลง เนื้อที่ 38,544 ไร่ คงเหลือพื้นที่ป่าที่จะดูแลรักษาจำนวน 297,419 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.43 (เป็นพื้นที่ C จำนวน 114,713 ไร่) จากสถิติกรมป่าไม้ ปี พ.ศ. 2551 เหลือพื้นที่ป่า จำนวน 272,725 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.49 ของพื้นที่จังหวัด และมีอุทยานแห่งชาติอยู่ 1 แห่ง คือ

  1. อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว อยู่ในท้องที่อำเภอเลิงนกทา  จังหวัดยโสธร  เนื้อที่  42,500  ไร่ ซึ่งประกาศทับซ้อนกับป่าสงวนแห่งชาติป่าดงบังอี่ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2550-2554) คดีป่าไม้ เฉลี่ย 40 คดี/ปี พื้นที่ถูกบุกรุกเฉลี่ย 145-2-58 ไร่/ปี มีไฟป่าเกิดขึ้นเฉลี่ย 14 ครั้ง/ปี พื้นที่เสียหาย เฉลี่ย 231 ไร่/ปี
แหล่งน้ำ

แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญได้แก่

  • แม่น้ำชี มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โดยไหลผ่านอำเภอเมืองยโสธร ผ่านอำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำมูลในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำชีมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี แม่น้ำชีมีลำน้ำสาขาอยู่ในเขตจังหวัดยโสธรหลายสาย คือ ลำน้ำกว้าง ห้วยพระบาง ห้วยสันโดด ห้วยพันทม ห้วยกุดกุง ฯลฯ
  • ลำเซบาย มีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงพื้นที่อำเภอเลิงนกทา ไหลผ่านอำเภอไทยเจริญ อำเภอป่าติ้ว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอเขื่องใน ก่อนไหลลงสู่กับแม่น้ำมูลที่บ้านจานตะโนน ตำบลหนองบ่อ จังหวัดอุบลราชธานี ลำเซบายมีลำน้ำสาขาอยู่หลายสาย คือ ลำน้ำโพง ห้วยลิงโจน ห้วยสะแบก ห้วยส้มฝ่อ ฯลฯ
  • ลำน้ำโพง มีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงในเขตอำเภอเลิงนกทา ไหลผ่านอำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอเมืองยโสธร อำเภอป่าติ้ว ก่อนไหลลงสู่ลำเซบายที่บ้านกุดสำโรง ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว ลำน้ำโพงมีน้ำไหลเกือบตลอดปี
  • ลำน้ำยัง มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาภูพานในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด และไหลลงสู่แม่น้ำชีที่บ้านแจ้งน้อย ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร ลำน้ำยังมีน้ำไหลเกือบตลอดปี

ภูมิอากาศ

จังหวัดยโสธรตั้งอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 104 และ 105 องศาตะวันออก และเส้นรุ้งที่ 15 และ 16 องศาเหนือ สำหรับภูมิอากาศ จังหวัดยโสธรมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยเท่ากับ 71.1% อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 5 ปี (2552 – 2556) เฉลี่ย 1,600 ม.ม. ต่อปี

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: จังหวัดยโสธร http://maps.google.com/?ie=UTF8&ll=15.79,104.15&sp... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=15.79&l... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=15.79&long=104.15&z... http://www.wikimapia.org/maps?ll=15.79,104.15&spn=... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_58 http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.h... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/D/... http://www.yasothon.go.th/