ประชากร ของ จังหวัดศรีสะเกษ

กลุ่มชาติพันธุ์

ในจังหวัดศรีสะเกษ มีชุมชนหลายกลุ่มตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการอพยพย้ายครัวเข้ามาของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันยังคงปรากฏลักษณะเฉพาะทางกายภาพและวัฒนธรรมของกลุ่มคนเหล่านั้นอยู่ กลุ่มคนดังกล่าวได้แก่ ชาวลาว ชาวเขมร ชาวกูย (หรือกวย) และเยอ[5] [35]

  • กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ
    1. ชาวไทอีสานดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานมานานแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ปี มีสำเนียงพูดเป็นภาษาถิ่นอีสานถิ่นใต้สำเนียงเดียวกับจังหวัดอุบลราชธานี, อำนาจเจริญ และยโสธร
    2. ชาวลาวที่โยกย้ายถิ่นมาจากประเทศลาวหรือฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 มี 2 กลุ่มคือ ชาวลาวเวียงจันทน์ และชาวลาวจำปาศักดิ์ พูดสำเนียงลาวเวียงซึ่งพบได้มากในตัวอำเภอเมืองศรีสะเกษ, อำเภอขุนหาญ และอำเภอขุขันธ์ ซึ่งเป็นสำเนียงเดียวกับนครหลวงเวียงจันทน์ในประเทศลาว มีลักษณะการพูดเนิบช้าและเหน่อ และภาษาลาวใต้ในแขวงจำปาศักดิ์, ประเทศลาว มีสำเนียงการพูดที่ห้วนสั้น การเข้ามาของชาวลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไม่ทราบปีที่แน่ชัด แต่พบการเคลื่อนย้ายครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 และยุคสงครามกลางเมืองลาวคอมมิวนิส (พ.ศ. 2496-2518)

ทั้ง 2 กลุ่มมีภาษาในการสื่อสารเป็นของตนเองทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ได้แก่ อักษรไทยน้อยและอักษรธรรมอีสาน ซึ่งเป็นตัวอักษรที่พัฒนามาจากตัวฝักขามในสมัยสุโขทัยพร้อมกับการเข้ามาของศาสนาพุทธในดินแดนอีสาน สำเนียงภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไท-ลาว จัดอยู่อยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท ในจังหวัดศรีสะเกษมีความแตกต่างจากสำเนียงของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพื้นฐานการพัฒนาและถิ่นฐานเดิมที่แตกต่างกันไป โดยรวมแล้วกลุ่มภาษาไทในจังหวัดศรีสะเกษถูกแบ่งออกเป็น 3 สำเนียงคือ ไทอีสาน, ลาวเวียง และลาวใต้ โดยหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมไท-ลาวของชาวศรีสะเกษ อย่างไรก็ดีมักเรียกรวมกลุ่มวัฒนธรรมกลุ่มนี้ว่าชาวลาว [5]

  • กลุ่มชาติพันธุ์เยอ มีเพียงภาษาพูด ซึ่งมีคำศัพท์ส่วนใหญ่คล้ายกับภาษากวยแต่มีสำเนียงที่แตกต่างและเพี้ยนไปจากภาษากวยตามสภาพแวดล้อม นักภาษาศาสตร์ให้ความเห็นว่าภาษาเยอคือภาษากวยที่มีความใกล้ชิดกับภาษาลาว ส่วนภาษากวยคือภาษาเยอที่ใกล้ชิดกับภาษาเขมร อย่างไรก็ตาม ภาษาเยอจัดเป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) เช่นกัน โดยพบว่ามีการพูดภาษาดังกล่าวนี้ในบางพื้นที่ของอำเภอไพรบึง, อำเภอพยุห์, อำเภอศรีรัตนะ, และอำเภอน้ำเกลี้ยง [5]

การศึกษา

จังหวัดศรีสะเกษ มีสถานศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 1,032 แห่ง แบ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 972 แห่ง (สพฐ. 914 แห่ง, เอกชน 28 แห่ง, อาชีวศึกษา 6 แห่ง, กศน. 22 แห่ง และสกอ. 2 แห่ง) และสถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 53 แห่ง (สธ. 1 แห่ง, อปท. 39 แห่ง, ตชด. 1 แห่ง, พศ. 10 แห่ง และสพล. 2 แห่ง)

  • ประตูทางเข้าหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: จังหวัดศรีสะเกษ http://203.113.86.149/stat/pk/pk53/pk_53.pdf http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2... http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.h... http://sisaket.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=ar... http://www.royin.go.th/akara/home/index.php http://www.sisaket.go.th http://www.sisaket.go.th/ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/A/...