การท่องเที่ยว ของ จังหวัดสุรินทร์

หมายเหตุ ชื่อปราสาทและโบราณสถานต่าง ๆ เป็นการกำหนดชื่อเอาเองในภายหลัง สำหรับชื่อ-คำอ่าน (เป็นสำเนียงแบบปัลลวะ หรือสำเนียงของบาลี - สันสฤต ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากเหล่าพราหมณ์/นักบวชจากแถบอินเดียในปัจจุบัน) ที่ถูกต้องและชื่อที่แท้จริงยังต้องค้นคว้าตามจารึกต่าง ๆ ต่อไป

โบราณสถาน
  • กลุ่มปราสาทตาเมือน อยู่ที่ ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทภูมิโปน ชื่อที่แท้จริงตามจารึกที่ค้นพบ คือ "กฤตฺชญนคร" เป็นชุมชนขอมโบราณดั้งเดิม ตั้งอยู่ที่ บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย อยู่ที่ บ้านจาน ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทหมื่นชัย อยู่ที่ บ้านถนน ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทเต่าทอง อยู่ที่ บ้านตาโมม ตำบลสะกาด อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทยายเหงา อยู่ที่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทบ้านพลวง อยู่ที่ บ้านพลวง ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทบ้านไพล หรือวัดโคกปราสาท อยู่ที่ บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาททนง อยู่ที่ บ้านปราสาททนง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทอังกัญโพธิ์ อยู่ที่ บ้านอังกัญโพธิ์ ตำบลโคกยาง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทโอรงา อยู่ที่ บ้านโคกสะอาด ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทเขาพนมสวาย อยู่ที่ในวัดพนมศิลาราม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทเมืองที อยู่ที่บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทบ้านอนันต์ อยู่ที่วัดโพธิญาณ ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทบ้านระแงง อยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทช่างปี่ อยู่ที่บ้านช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทนางบัวตูม อยู่ที่บ้านสระถลา ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทโนนแท่น อยู่ที่บ้านโพนครก ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทตาเมือนธม อยู่ที่ ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทตาเมือนโต๊จ อยู่ที่ บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทตาเมือน หรือ ปราสาทบายกรีม อยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทจอมพระ อยู่ที่บ้านศรีดงบัง ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทบ้านตระเปียงเตีย หรือปราสาทระเบียงเตีย อยู่ที่บ้านหนองเกาะ ตำบลลำดวน อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
  • เจดีย์บ้านลำดวน อยู่ที่โรงเรียนบ้านลำดวน ตำบลลำดวน อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทหมื่นศรีน้อย อยู่ที่บ้านหมื่นศรีกลาง ตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทตามอยหรือปราสาทตามอญ อยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาททอง อยู่ที่บ้านแสรออ ตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทแก้ว อยู่ที่บ้านพระปืด ตำบลแร่ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ปราสาทบ้านสนม (ปราสาทวัดธาตุ) อยู่ที่วัดธาตุ ภายในศาลเจ้าพ่อศรีนครเตาเท้าเธอ (พระเจ้าจินดา) บ้านสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ สร้างสมัยอาณาจักรขอมเรืองอำนาจประมาณ พ.ศ. 1800 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พระองค์โปรดให้สร้างที่พักคนเดินทาง และสร้างอโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลขึ้นในชุมชนต่าง ๆ มากมาย ปราสาทแห่งนี้มีขนาดโดยประมาณ กว้าง 20 เมตร ยาว 25 เมตร สูงประมาณ 5 เมตร สร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เดิมมีต้นไม้ขนาดใหญ่ ประมาณ 2 - 3 โอบ จำนวนมาก ได้แก่ ประดู่ ตะแบก ยาง ตะคร้อ ตาเสือ คำไก่ ซึ่งปราสาทหลังนี้มองจากทุ่งนา นอกบ้านเห็นเด่นชัด บริเวณรอบ ๆ ปราสาทมีสระน้ำเรียงรายทั้งสี่ด้าน ในบริเวณวัด ในบริเวณปราสาท ทางวัดได้รื้อปราสาทลง และก่อสร้างอุโบสถแทน เมื่อ พ.ศ. 2478 และนำชิ้นส่วนปราสาทไปทิ้งไว้ด้านหลังวัด อดีตเคยขุดได้พระพุทธรูปปางต่าง ๆ และเทวรูป ปัจจุบันมี 2 องค์ 1 องศ์ อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ และอีก 1 องค์ อยู่ที่ศาลเจ้าพ่อศรีนครเตาท้าวเธอ คาดว่าสร้างสมัยเดียวกับปราสาทจอมพระ แต่รูปร่างเป็นแบบเดียวกันกับปราสาทศีขรภูมิ
  • ปราสาทบ้านธาตุ (วัดโพธิ์ศรีธาตุ) ตั้งอยู่ที่ตำบลธาตุ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากอำเภอรัตนบุรี ไปตามเส้นทางสายรัตนบุรี-ศรีสะเกษ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  ๒๐๗๖ ประมาณกิโลเมตรที่ ๘ เคยเป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณเดิมเป็นเมืองของขอมโบราณ ชื่อว่า “นครธีตา” บ้างก็ว่า “นครจำปา” ซึ่งมีอายุนับได้พันปีมาแล้ว ต่อมาอาจจะมีข้าศึกจากเมืองอื่น ยกทัพมารุกราน ทำลาย หรือเกิดโรคระบาด จนทำให้ผู้คนอพยพหนีจากไป จนกลายเป็นเมืองร้าง ซึ่งมีหลักฐานปรากฏให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบันนี้  คือ ๑. กำแพงเมือง คูเมือง ซึ่งเป็นแบบโบราณล้อมรอบบ้านธาตุทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ๒. บึง หรือหนองน้ำ ซึ่งขุดด้วยมนุษย์ ล้อมรอบบ้านธาตุ ทางทิศเหนือและตะวันออก ( ปัจจุบัน คือ หนองบัว-หัวช้าง หนองเบือก หนองแก หนองกอลอ  ฯลฯ  ) ๓. ประตูเมือง ซึ่งเป็นทางเข้า – ออก ๔ ด้าน คือ ประตูด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก ตามสภาพที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ๔. เขตพระราชวัง ( โฮง ) ซึ่งเป็นที่อยู่ของเจ้าเมือง ( คือ บริเวณตะวันตกวัดโพธิ์ศรีธาตุในปัจจุบัน ) ๕. สถานที่ประกอบศาสนกิจหรือพิธีกรรมตามความเชื่อ คือ  “ วิหาร ” หรือ  “ เจดีย์ ” หรือ “ ธาตุ ” หรือ “ เทวสถาน ”  ( บริเวณวัดโพธิ์ศรีธาตุ ซึ่งได้แก่  ธาตุ หิน ที่ก่อด้วยศิลาแลงหินทราย ในปัจจุบันทางวัดได้ใช้เป็นฐานในการสร้างพระธาตุมณฑป ) นอกจากนี้ ยังมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบและเป็นเนินดิน มีคูน้ำล้อมรอบและมีหมู่บ้านกระจัดกระจายโดยรอบเป็นทุ่งนากว้าง

หมายเหตุ ชื่อปราสาทและโบราณสถานต่าง ๆ เป็นการกำหนดชื่อเอาเองในภายหลัง สำหรับชื่อที่ถูกต้องแท้จริงยังต้องค้นคว้าตามจารึกต่าง ๆต่อไป

แหล่งประวัติศาสตร์โบราณคดี
  • ศาลหลักเมืองสุรินทร์
  • บุญบั้งไฟ อำเภอรัตนบุรี เป็นงานบุญบั้งไฟที่จัดขึ่นอย่างยิ่งใหญ่ของชาวอำเภอรัตนบุรี และยิ่งใหญ่มากที่สุดในจังหวัดสุรินทร์
  • อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก
  • วัดบูรพาราม
  • ปราสาทตาเมือนธม
  • ปราสาทตาเมือนโต๊ด
  • น้ำตกไตรคีรี
  • อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง
  • น้ำตกกรูงคลา
  • สภาพธรรมชาติอันสวยงามของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ และ พุทธอุทยานเขาศาลาอตุลฐานะจาโร
  • จุดชมวิวผานางคอย เขาศาลา
  • วนอุทยานป่าสนสองใบหนองคู

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดเลย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น