สัญลักษณ์ประจำจังหวัด ของ จังหวัดอำนาจเจริญ

ต้นตะเคียนหินดอกจานเหลืองดอกไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญปลาสร้อยขาว สัตว์น้ำประจำจังหวัดอำนาจเจริญตราประจำจังหวัด

พระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระประธานของภาพ แสงฉัพพรรณรังสี เปล่งรัศมีโดยรอบพระเศรียรซ้ายขวามีต้นไม้อยู่สองข้าง ถัดไปเป็นกลุ่มเมฆ ด้านล่างเป็นแถบป้ายชื่อจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้อักษรย่อว่า อจ.

คำขวัญประจำจังหวัด

พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

– คำขวัญประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
วิสัยทัศน์

ประชาสังคมเข้มแข็ง แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดี มีโอกาสทางการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต

– วิสัยทัศน์จังหวัดอำนาจเจริญ
ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกจานเหลือง (Butea monosperma)ต้นไม้ประจำจังหวัด ตะเคียนหิน (Hopea ferrea)สัตว์น้ำประจำจังหวัด ปลาสร้อยขาว (Henicorhynchus siamensis )

ประชากร

ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นคนท้องถิ่นเชื้อสายไทย - ลาว และมีคนกลุ่มอื่นที่มีหลายเชื้อสาย และภาษาพูดต่างออกไปได้แก่ ชาวภูไท พบในเขตอำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม ส่วยและข่า พบในอำเภอชานุมานในชุมชนที่มีการค้าขายหรือในเขตเมือง จะมีคนไทยเชื้อสายจีนและญวนปะปนอยู่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดนับถือพระพุทธศาสนา ร้อยละ ๙๗.๕๐ มีวัดในพระพุทธศาสนาอยู่ ๒๖๖ แห่ง นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ ๒.๓๐ และนับถือศาสนาอิสลามน้อยมาก

ภาษาชาวอำนาจเจริญส่วนใหญ่ใช้ภาษาอีสาน เช่นเดียวกับชาวอีสานในจังหวัดอื่น ภาษาอีสานจัดเป็นประเภทภาษาถิ่นของภาษาไทย ส่วนภาษาเขียนใช้ภาษาไทย และอักษรไทย ถ้าเป็นเอกสารโบราณ เช่น หนังสือออก หนังสือก้อน บทสวด และตำนาน นิยมบันทึกด้วยตัวอักษรธรรม เป็นภาษาอีสาน ภาษาบาลี สันสกฤต ภาษาขอม และภาษาไทยภาษาอีสานถิ่นอำนาจเจริญ มีอยู่สามสำเนียง ได้แก่ สำเนียงอุบล ฯ สำเนียงบ้านน้ำปลีก และสำเนียงชายแดน สำเนียงอุบล ฯ มีลักษณะห้วน น้ำเสียงแข็ง และหนักแน่น สำเนียงบ้านน้ำปลีก มีลักษณะช้า และยืดเสียงท้ายคำให้ยาวออกไป มากกว่าสำเนียงอุบล ฯ ทำให้รู้สึกนุ่มนวลกว่า สำเนียงชายแดน เป็นสำเนียงผสมระหว่างสำเนียงอุบล ฯ และสำเนียงลาว ประชาชนที่อยู่ใกล้ชายแดนแถบอำเภอชานุมาน จะมีสำเนียงลาวผสมอยู่บ้าง ชาวอำนาจเจริญ ส่วนใหญ่พูดสำเนียงอุบล ฯ ภาษาผู้ไท ชาวผู้ไท มีภาษาใช้เฉพาะเผ่าคือ ภาษาผู้ไท เป็นภาษาพูด ไม่ปรากฏว่ามีภาษาเขียน ชาวผู้ไทส่วนใหญ่จะพูดได้ทั้งภาษาอีสาน และภาษาผู้ไท มีหลายหมู่บ้านที่ใช้ภาษาผู้ไทในการสื่อสารประจำวันคือ อำเภอเสนางคนิคม ที่บ้านนาสะอาด ตำบลเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน ในตำบลคำเขื่อนแก้ว มีบ้านคำเดือย บ้านเหล่าแก้วแมง และบ้านสงยาง ในตำบลชานุมาน มีบ้านโนนกุง และบ้านหินสิ่ว ในตำบลโคกก่ง มีบ้านหินกอง บ้านบุ่งเขียว บ้านนางาม และบ้านพุทธรักษา ภาษาข่าพวกข่าเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิม ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามสองฝั่งแม่น้ำโขง มีวัฒนธรรมกลมกลืนกับชาวพื้นเมืองในท้องถิ่น เช่น พวกส่วย และลาว ชาวบ้านที่ใช้ภาษาข่าคือ ชาวบ้านดงแสนแก้ว และบ้านดงสำราญ ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน

สภาพเศรษฐกิจ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจขึ้นกับการเกษตรกรรม มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตร รวมทั้งสิ้น 1,021,798 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 51.72 ของเนื้อที่ทั้งหมด

การทำนา พื้นที่นาถือครองมีสัดส่วน 869,574 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.10 ของพื้นที่ถือครองทำการเกษตร เป็นพื้นที่เก็บเกี่ยว 558,530 ไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 83,821 ตัน

การปลูกพืชไร่ มีการปลูกพืชไร่รวมพื้นที่ประมาณ 7,825 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.65 ของพื้นที่ถือครองทำการเกษตร

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง ปอแก้ว ถั่วลิสง การอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว และอุตสาหกรรมในครัวเรือน

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: จังหวัดอำนาจเจริญ http://www.dekamnat.com http://maps.google.com/?ie=UTF8&ll=15.86,104.63&sp... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=15.86&l... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.watbankaobo.com/ http://www.globalguide.org?lat=15.86&long=104.63&z... http://www.wikimapia.org/maps?ll=15.86,104.63&spn=... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.acr.mahidol.ac.th/mahidol/ http://www.amnatcharoen.go.th