ประวัติ ของ ฉ่อย

เพลงฉ่อย มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เพลงไอ้เป๋ เนื่องจากพ่อเพลงฉ่อย ยุคแรกชื่อ ตาเป๋ มี ยายมา เป็นภรรยา เริ่มแรกเพลงฉ่อย หรือ เพลงเป๋ เป็นที่นิยมในแถบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ จังหวัดใกล้เคียง ประมาณก่อนยุค พ.ศ. 2437 เป็นต้นมา ส่วนครูเพลงฉ่อย ยุคแรกเริ่มก็มี ครูเปลี่ยน - ครูเป๋ - ครูฉิม - ครูศรี - ครูบุญมา - ครูบุญมี ครูเพลงเหล่านี้มีแค่ชื่อ และ ตำนานส่วนประวัติไม่มีเลย เพลงฉ่อย นี้ปรับปรุงและดัดแปลงมาจาก เพลงโคราช - เพลงเรือ และเพลงปรบไก่ เป็นต้นก็สาเหตุเนื่องจาก เวลาปรบมือเป็นจังหวะเพลงปรบไก่ ร้องบทไหว้ครูและเกริ่นอย่างเพลงโคราช ใช้กลอนก็ใช้คล้ายกับเพลงเรือ แต่อย่างไรเพลงฉ่อย ก็น่าจะอยู่ในยุคต้นสมัยรัชกาลที่ 5

นอกจากนี้แล้วเพลงฉ่อย ยังมีชื่ออื่นอีก "ฝ่ายเหนือ" อาจหมายถึงจังหวัดทางล่างเช่น จังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ - จังหวัดอ่างทองจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น

ส่วนคำว่า "เพลงตะขาบ" (ต้นฉบับเดิมใช้ ข.ขวด) คนเพลงเก่า ๆ เรียกเพลง..วง.. เพราะของเดิมยืนเป็นวง เล่นกับลานดิน เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีเวทีดั่งกับปัจจุบันนี้ ส่วนบ้างคนก็เรียกว่า "เพลงฉ่า" เพราะเวลารับเพลง รับว่า "เอ่ชา เอ๊ช้า ชาฉ่าชา ชา หนอยแม่" เลยเรียกติดกัน จนปัจจุบันคนก็ยังเอามาร้องเล่นกันส่วนมากเป็นท่อนนี้ ชาวโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ก็เรียกศัพย์บัญญัติแปลก ๆ พิสดารอีกว่า "เพลงทอดมัน"

ปัจจุบัน นักแสดงเพลงฉ่อยที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ ขวัญจิต ศรีประจันต์ และ สามน้า ( โย่ง เชิญยิ้ม นง เชิญยิ้ม พวง เชิญยิ้ม )

เอกลักษณ์เพลงฉ่อยบางส่วน

  • การขึ้นเพลงทั่วไป จะขึ้นว่าฉัดช่าฉัดชา ฉัดช่าฉัดฉ่า เอิงเอิงเออฉะเอิงเอ้ย
  • ในการแสดงสดสามน้า ในการทอร์คโชว์อาจารย์จตุพล ชมพูนิช น้าพวง ขึ้นว่า เอ้อ เอิงเออ เอิงเออ เออเอ้อเออเหอ เอ้อเออ เอิงเงย ฉัดช่าฉัดชา ฉัดช่าฉัดฉ่า เอิงเอิงเออฉะเอิงเอ้ย
  • ทางจังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ รับเพลงว่า เอ่ชา เอชา เอ๊ชา ฉ่าชาเอย
  • ส่วนทาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - จังหวัดอ่างทอง - จังหวัดสุพรรณบุรี รับเพลงว่า เอ่ชา ชา ชาฉ่าชาเอย
  • ส่วนทางใต้ กรุงเทพมหานคร - จังหวัดราชบุรี รับเพลงว่า เอ่ชา เอชา ชาชาฉ่าชา หนอยแม่