ลักษณะทั่วไปของชมพูทวีป ของ ชมพูทวีป

ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

  • มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ท้องฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
  • มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง 4 ศอก มีอายุเป็น อายุกัป หรือเฉลี่ยโดยอายุของมนุษย์ทั้งหมด ปัจจุบันคือ 120 ปี
  • มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
  • สมัยหนึ่งมนุษย์ในชมพูทวีปเคยมีอายุถึง 80,000 ปี แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง อาหารหยาบขึ้น อายุก็ลดลง
  • ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง 10 ปี เท่านั้น
  • ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป" เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"

เรื่องของชมพูทวีป เหตุที่เรียกชื่อดังนี้ เพราะทวีปนี้มีไม้หว้าเป็นพญาไม้ประจำทวีป (ต้นชมพู แปลว่าต้นหว้า) ไม้หว้าต้นนี้อยู่ในป่าหิมพานต์ ลำต้นวัดโดยรอบ 15 โยชน์ จากโคนถึงยอดสูงสุด 100 โยชน์ จากโคนถึงค่าคบสูง 50 โยชน์ ที่ค่าคบมีกิ่งทอดออกไปในทิศทั้ง 4 แต่ละกิ่งยาว 50 โยชน์ วัดจากโคนต้นไปทางทิศไหนก็จะสูงเท่ากับความยาวในแต่ละทิศ คือ 100 โยชน์ ใต้กิ่งหว้าทั้ง 4 นั้น เป็นแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านไปในทิศทั้งหลาย ผลหว้ามีกลิ่นหอม รสหวานปานน้ำผึ้ง หมู่นกทั้งหลายชวนกันมากินผลหว้าสุกนั้น บางทีผลสุกก็หล่นลงตามฝั่งแม่น้ำ แล้วงอกออกเป็นเนื้อทอง และถูกน้ำพัดออกไปจมลงในมหาสมุทร เรียกทองนั้นว่า ทองชมพูนุท เพราะอาศัยเกิดมาจาก ชมพูนที

ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทวีปทั้ง 3 ยกเว้นชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะ ทำให้อาหารการกิน และน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียนเหมือน อย่างในชมพูทวีป ที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ใน 3 ทวีป มีศีลธรรมที่เป็นปกติ สม่ำเสมอ ส่วนมนุษย์ในชมพู-ทวีป มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก บางคนสุขสบาย บางคนลำบาก บางคนปานกลาง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละคน

แต่ละยุคในชมพูทวีป อาจกล่าวได้ว่า มนุษย์ในชมพูทวีป มีความแตกต่างกันมากที่สุดก็ว่าได้ ...

  1. อังคะ
  2. มคธะ
  3. กาสี
  4. โกศล
  1. วัชชี
  2. มัลละ
  3. เจตี
  4. วังสะ
  1. กุรุ
  2. ปัญจาละ
  3. มัจฉะ
  4. สุรเสนะ
  1. อัสสกะ
  2. อวันตี
  3. คันธาระ
  4. กัมโพชะ

และมีแคว้นเล็กๆอีก 5 แคว้นคือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ

แคว้นพระบิดาของพระพุทธองค์ก็อยู่ในแคว้นเล็ก ๆ นี่อาณาจักรเหล่านี้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบอบสามัคคีธรรม คือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง ระบอบประชาธิปไตยบ้าง แต่ส่วนมากจะเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ด้วยเหตุที่พุทธศาสนาถือกำเนิดในแผ่นดินอินเดีย จึงควรจะได้ศึกษาภูมิหลังของอินเดียในยุคก่อนการกำเนิดของพุทธศาสนาพอสังเขป ดังนี้

ชนชาติที่เชื่อกันว่า เป็นชนชาติดั่งเดิมของอินเดียคือ เผ่าซานโตล (Santole) มุนดา (Mundas) โกลาเรีย (Kolaria) ตูเรเนียน (Turanians) ดราวิเดียน (Dravidians) คนพวกนี้เป็นพวกผิวดำจำพวกหนึ่ง ปัจจุบันยังพอมีหลงเหลืออยู่ที่รัฐพิหาร และเบงกอล ของอินเดีย