ชาวกูย

กลุ่มชาติพันธุ์ที่คนไทยหลายคนเรียกว่า ส่วย นั้น ก็คือ ชนชาติพันธุ์ กูย (Kuy, Kui), กวย (Kuoy) คำว่า กุย กูย โกย กวย แปลว่า คน ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาและต้นกรงรัตนโกสินทร์ ชนชาติพันธุ์นี้ถูกเรียกเหมารวมกับชนชาติพันธุ์อื่นๆว่า เขมรป่าดง[3] เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำโขง บริเวณแนวเขาพนมดงรักจนถึงบริเวณลาวตอนกลางและลาวใต้อนึ่งคำว่า "ส่วย" ไม่ใช่ชื่อเรียกของชนชาติพันธุ์ แต่เป็นคำเรียกของฝ่ายปกครองที่ใช้มาตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึง กลุ่มชนเผ่าหลายเผ่าในพื้นอีสานใต้ในอดีต(อย่างน้อยก็ 4 ชนเผ่าขึ้นไป ได้แก่ ชนเผ่าเขมร กูย ข่า ลาว กุลา ฯลฯ)ที่ต้องส่งสวยหรือถวายเครื่องราชบรรณาการให้ทางการ (กรุงเทพฯ) ในสมัยโบราณ เรียกชนเผ่าแถบอีสานใต้นี้เหมารวมรวมทั้งทุกชนเผ่าว่า "เขมรป่าดง" หรือเรียกอีกอย่างว่า "พวกส่วย" ชาวกูย มักจะถูกชาวกัมพูชาเรียกว่า ชนชาติเดิม ข้อเสนอแนะ เห็นควรใช้ว่า กวย หรือกูย ก็พอจะรับได้ ซึ่งตรงกับชื่อชนเผ่านี้มากกว่าคำว่า "ส่วย" และจากการสืบค้นในเอกสารอื่น ๆ พบว่า ในภาษาเขมรเรียกว่า កួយ (អក្សរសព្ទខ្មែរ: /កួយ/) ในภาษาละตินเขียนว่า kuoy (អក្សរសព្ទឡាតាំង: /kuoy/)

ชาวกูย

กัมพูชา 37,700 (2009)
ลาว 42,800 (2005)[2]
ไทย 400,000 (2006)[1]