ชาวยวน
ชาวยวน

ชาวยวน

ยวน หรือ คนเมือง เป็นกลุ่มประชากรที่พูดภาษาตระกูลภาษาขร้า-ไทกลุ่มหนึ่ง ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศไทยซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา[2] เป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรล้านนา ถึงแม้ในปัจจุบันชาวล้านนาจะกลายเป็นพลเมืองของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ก็มักเรียกตนเองว่า "คนเมือง" ซึ่งเป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นในยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง เพื่อฟื้นฟูประชากรในล้านนาหลังสงคราม โดยการกวาดต้อนกลุ่มคนจากที่ต่าง ๆ เข้ามายังเมืองของตนตามตำนานสิงหนวัศิกล่าวว่า สิงหนวัศิกุมาร ได้อพยพผู้คนบริวารมาจากเมืองราชคฤห์ เข้าใจว่า อยู่ในมณฑลยูนนาน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เชียงแสน ราวต้นสมัยพุทธกาล ตั้งชื่อบ้านเมืองนี้ ว่า โยนกนคร เรียกประชาชนเมืองนี้ว่า ยวน ซึ่งเป็นเสียงเพี้ยนมาจากชื่อเมือง "โยนก" นั่นเอง[ต้องการอ้างอิง] จากนั้น ก็มีกษัตริย์ครองเมืองโยนกนี้มาเรื่อยๆ ประชากรไทยวน ก็แพร่หลายออกไปในอาณาจักรล้านนา ต่อมา พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า ได้นำทัพมาตีเมืองเหนือ และปกครองเมืองเหนือเป็นเวลานานถึง 200 ปีคนไทยภาคกลางในสมัยโบราณเคยเรียก ชาวไทยในถิ่นเหนือว่า "ยวน" โดยปรากฏหลักฐานในวรรณคดีเช่น ลิลิตยวนพ่าย ซึ่งกวีของอยุธยารจนาขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นักวิชาการต่างประเทศสันนิษฐานว่า คำว่า ยวน อาจจะมาจากคำสันสกฤตว่า "yavana" แปลว่า คนแปลกถิ่น หรือคนต่างถิ่น[3] เจ้าอาณานิคมอังกฤษในสมัยที่เข้าปกครองประเทศพม่า มองว่าคนยวนเป็นพวกเดียวกับชาวชาน โดยเรียกพวกนี้ว่า "คนชานสยาม" (Siamese Shan) เพื่อแยกแยะออกจากจากชาวรัฐชานในประเทศพม่าที่อังกฤษเรียกว่า "ชานพม่า" (Burmese Shan)[4] แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมประเพณีของคนไทใหญ่หลาย ๆ กลุ่มในปี พ.ศ. 2454 แดเนียล แมกกิลวารี ซึ่งทำงานเผยแพร่คริสต์ศาสนาในล้านนาเป็นเวลาเกือบห้าสิบปี (พ.ศ. 2410–2453) ได้เขียนหนังสือเรื่อง "กึ่งศตวรรษในหมู่ชาวสยามและชาวลาว"[5] เรียกคนในล้านนาปน ๆ ไปว่า "คนลาว" เรียกตั๋วเมือง (อักษรล้านนา) ว่าเป็น "ภาษาลาว" และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า "ลาว" แต่น่าจะเป็นเพียงเพื่อบ่งชี้ว่าคนไทยทางเหนือเคยปกครองตัวเองแยกจากสยามมาก่อน ซึ่งในตอนหนึ่งของหนังสือ แมกกิลวารีขยายความว่า"เราได้แล้วเห็นจังหวัดลาว (ล้านนา) ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสยามนั้น เคยเป็นมลรัฐอิสระมาจนกระทั่งพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย แต่แอกของสยามนั้นเบาและอารีมาก พวกล้านนาไม่ได้ถูกสยบในสงคราม แต่เข้ามาสู่ความเกี่ยวพันกับสยามโดยความเต็มใจของตัวเอง เพื่อจะหนีการปกครองของพม่า ด้วยเหตุที่ทั้งตำแหน่งที่ตั้งและความอ่อนแอของรัฐเหล่านี้ ทำให้มีความจำเป็นที่พวกเขาจะต้องมองไปที่อาณาจักรคู่แข่งขันในภูมิภาค เพื่อขอความคุ้มครองจากอีกรัฐหนึ่ง ... ธรรมชาติได้สร้างให้ประเทศลาวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสยามมากกว่าใครอื่น การคมนาคมติดต่อกับทะเลจำต้องผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา และลำน้ำสาขา ในขณะที่แนวทิวเขาสูงแยกดินแดนนี้ออกจากพม่า ทั้งในทางชาติพันธ์และภาษาก็เช่นกัน พวกนี้เป็นคนสยาม และไม่ใช่คนพม่า"ในงานเรื่อง "ชนชาติไท" ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2466 วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งทำงานที่เชียงรายนานถึง 32 ปี (พ.ศ. 2429–2461) กล่าวถึงคนเขตภาคเหนือตอนบนของไทยว่าเป็น "คนยวน" มิใช่คนลาวดังที่หลายฝ่ายเข้าใจ แต่ความน่าสนใจของแม็คกิลวารี และ ด็อดด์ อยู่ที่ว่าคนทั้งสองได้ทำงานในล้านนาเป็นเวลานานมาก จึงน่าจะมีความรู้ความเข้าใจในท้องถิ่นอย่างมาก แต่คนทั้งสองก็มิได้แตกต่างจากชาวต่างชาติคนอื่น ที่เข้ามาเยือนภาคเหนือเหมือนกัน แต่อยู่ไม่นาน นั่นคือไม่พูดถึงการเมืองท้องถิ่น และมองคนในภาคเหนือในมุมมองที่แทบไม่แตกต่างจากมุมมองของชาวสยามทั่วไป