ชาวโยดะยา
ชาวโยดะยา

ชาวโยดะยา

ชาวโยดะยา หรือ ชาวอยุธยาในพม่า[4][5] (พม่า: ယိုးဒယားလူမျိုး, เอ็มแอลซีทีเอส: Yodaya lu myui:; โยดะยา หลุ มฺโย) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวสยามจากอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอพยพเข้ามาประเทศพม่า มีทั้งอพยพไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์พม่าโดยสมัครใจ บ้างก็เป็นเชลยซึ่งถูกกวาดต้อนเมื่อเกิดสงครามเมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวอยุธยาในพม่าค่อย ๆ ผสมปนเปไปกับสังคมพม่า บ้างก็โยกย้ายจากถิ่นฐานเดิม[6][7][8] พวกเขาเลิกพูดภาษาไทยและหันไปพูดภาษาพม่า จนกระทั่งทิน มอง จี นักวิชาการชาวพม่าผู้มีเชื้อสายโยดะยาเขียนบทความสั้นชื่อ "สุสานกษัตริย์ไทย" (A Thai King’s Tomb) ก่อนปี พ.ศ. 2538[6][7] โดยเชื่อว่าสถูปเก่าองค์หนึ่งในป่าช้าเนินล้านช้างหรือเนินกระแซ[9] (ลินซินกอง) เป็นสุสานของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร อดีตพระมหากษัตริย์อยุธยาผู้นิราศจากบัลลังก์และตกเป็นเชลยในพม่า[10] และเริ่มมีชื่อเสียงจากการที่มัคคุเทศก์พานักท่องเที่ยวไทยไปยังสถูปแห่งหนึ่งในป่าช้าลินซิน แต่กระแสดังกล่าวทำให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาชาวอยุธยาในพม่า และมีความพยายามในการตามหาชุมชนอยุธยาที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน[11]จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2556 จึงได้มีการค้นพบชุมชนเชื้อสายอยุธยาชื่อหมู่บ้านซูกา มีประชากรราว 200 คน (พ.ศ. 2560)[1][2] และยังมีชุมชนของผู้มีเชื้อสายอยุธยา ณ บ้านมินตาซุ (ย่านเจ้าฟ้า)[12] มีประชากรเชื้อสายอยุธยาอยู่ไม่ต่ำกว่า 30 คน (พ.ศ. 2557)[13] ทั้งสองชุมชนนี้ตั้งอยู่ในเมืองมัณฑะเลย์ แม้ไม่สามารถใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้แล้ว แต่วัฒนธรรมหลายอย่างของชาวอยุธยายังคงอยู่และส่งอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมพม่าบางประการมาจนถึงยุคปัจจุบัน[14][15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาวโยดะยา http://anowl.co/anowlruang/irrawaddy/ http://www.ayutthaya-history.com/PressFocus2013.ht... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/767954 http://myanmartravelinformation.com/where-to-visit... http://www.ngthai.com/photographycontest2017/vote_... http://www.rimkhobfabooks.com/book-division/histor... http://www.watsamphan.com/datawat/my08_builder/01_... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/180277 http://www.komchadluek.net/news/edu-health/180693 http://www.patrolnews.net/society-and-the-environm...