ต้นกำเนิดของชาวไท ของ ชาวไท

ในรายงานตีพิมพ์เมื่อปี 2004 นักภาษาศาสตร์ Laurent Sagart ตั้งสมมติฐานว่าภาษาไท-กะไดเริ่มแรกกำเนิดจากภาษาออสโตนีเซียน ซึ่งผู้อพยพนำติดตัวจากไต้หวันไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ หลังจากนั้นภาษานี้ก็ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาพื้นเมืองต่างๆตั้งแต่จีน-ทิเบต, ม้ง-เมี่ยน จนถึงตระกูลภาษาอื่นๆ โดยรับคำศัพท์เข้ามาจำนวนมากและค่อยๆกลายโครงสร้างภาษามาคล้ายกัน ปัจจุบันเมื่อไม่นานมานี้กลุ่มคนบางกลุ่มที่พูดภาษาไทได้อพยพไปทางทิศใต้ผ่านเทือกเขาต่างๆเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจจะทันทีโดยการมาถึงของชาวจีนฮั่นไปจีนตอนใต้

มรดกทางภาษาไม่ได้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับมรดกทางพันธุกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนภาษาเมื่อประชากรต่างๆเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ชาวไทมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการปรากฏของ Y-DNA Haplogroup O2a สูงมากและอัตราการปรากฏของ O2a1 และ O1 ปานกลาง[ต้องการอ้างอิง], อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่า Y-DNA haplogroup O1 มีความสัมพันธ์กับทั้งผู้ที่พูดภาษาออสโตนีเซียนและผู้ที่พูดภาษาไท ,ความแพร่หลายของ Y-DNA haplogroup O1 ในหมู่ผู้ที่พูดภาษาออสโตนีเซียนและผู้ที่พูดภาษาไทยังบ่งบอกถึงบรรพบุรุษร่วมกันกับผู้ที่พูดภาษาซิโน-ทิเบตัน, ออสโต-เอชียติก และม้ง-เมี่ยนเมื่อประมาณ 35,000 ปีก่อนในจีน ,Y-DNA haplogroup O2a ถูกพบด้วยอัตราการปรากฏสูงในหมู่คนไทส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่คนไทมีร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยใกล้เคียงนั่นคือผู้ที่พูดภาษาออสโต-เอเชียติกในมณฑลยูนนานของจีนตอนใต้ Y-DNA haplogroups O1 และ O2a เป็นกลุ่มย่อยของ O ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของ K อีกทีซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ซึ่งเชื่อกันว่าได้เกิดขึ้นเมื่อ 40,000 ปีก่อน ณ ที่ใดที่หนึ่งระหว่างอิหร่านกับจีนตอนกลาง[ต้องการอ้างอิง]

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบโครโมโซมแล้วลักษณะร่วมของกลุ่มผู้พูดภาษาตระกูลไท-ไตคือY-DNA haplogroup O1aซึ่งพบมากในแถบจีนตะวันออกเฉียงใต้ทำให้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่โอกาสในทฤษฎีที่กล่าวว่าคนไทมาจากประเทศจีนตอนใต้นั้นมีความเป็นไปได้มากที่สุดในขณะนี้[2]

Projected spatial frequency distribution for haplogroup O2-M95 .[3]แผนภาพแสดงอัตราส่วนความถี่ทางภูมิศาสตร์ของ Y-DNA Haplogroup O2a ซึ่งพบมากในผู้พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก[lower-alpha 1]