ชาไทย
ชาไทย

ชาไทย

ชาไทย มีอยู่ ๒ ความหมาย๑) ชาที่ผลิตในไทย มีทั้งชาที่ทำจากต้นเมี่ยง (ชาพันธุ์อัสสัม) ที่ขึ้นตามธรรมชาติ และชาที่ทำจากชาพันธุ์จีน โดยมากจะเป็นสายพันธุ์ชาลูกผสมของไต้หวัน และทำตามอย่างเทคนิคการผลิตของไต้หวัน๒) ชาที่ออกสีส้มแดงที่ชงจากชาผงที่ทำขึ้นในไทย ชาผงพวกนี้ใช้วัตถุดิบชาซีลอนด้อยคุณภาพ ที่ชงแล้วสีไม่สวย สีเหลืองซีดจาง แล้วนำมาผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพโดยการแต่งสี แต่งกลิ่น เป็นชาที่ใช้แพร่หลายทั่วไปในไทย ในฐานะชาดำอย่างฝรั่ง ถูกนำมาทำเป็นชาร้อนใส่นมขนมหวาน หรือชาเย็นที่เติมนมข้นหวาน และชาเย็นที่เติมน้ำตาล เครื่องดื่มนี้คนไทย เรียกสั่งกันเป็น ชาร้อน (ชาร้อนเติมครีมเทียมข้นหวาน และน้ำตาล), ชาเย็น (ชาเย็นเติมครีมเทียมข้นหวาน และน้ำตาล), ชาดำร้อน (ชาเติมน้ำตาล), ชาดำเย็น (ชาเย็นเติมน้ำตาล) ต่อมาเมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวไทย และเห็นลักษณะสีและกลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แปลกต่างไปจากชาอื่น จึงเรียกว่าThai tea แล้ว Thai tea จึงถูกแปลงกลับมาเป็นภาษาไทยว่า "ชาไทย" ชาไทยตามความหมายนี้ ไม่นับรวม ชาชัก ที่ขายกันทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นชาไม่แต่งสี และมีสีตามธรรมชาติที่ผสมนมแล้วออกสีกากี