ชิปมังก์
ชิปมังก์

ชิปมังก์

ชิปมังก์ (อังกฤษ: chipmunk) เป็นกระรอกขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Tamias จัดเป็นกระรอกดินจำพวกหนึ่ง กระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ และบางชนิดพบได้ในทวีปเอเชียตอนบนและตะวันออกชิปมังก์มีลักษณะคล้ายกับกระเล็น (Tamiops spp.) ซึ่งเป็นกระรอกต้นไม้และพบได้ในเอเชียอาคเนย์ คือ เป็นกระรอกขนาดเล็ก และมีลายแถบเป็นริ้วสีขาวและดำคล้ำลากผ่านบริเวณใบหน้าทั้งสองด้าน, หลัง และหาง สีขนตามลำตัวจะแตกต่างกันออกไปตั้งแต่สีเทาจนถึงสีน้ำตาลออกแดงต่างกันตามแต่ชนิด ขนาดโดยเฉลี่ย ความยาวลำตัวประมาณ 8–11.5 นิ้ว มีหางที่มีขนเป็นพวงฟูต่างจากกระเล็น ความยาวประมาณ 3–4 นิ้ว นอกจากนี้แล้วชิปมังก์ยังมีกระพุ้งแก้มที่ใช้สำหรับเก็บอาหารได้อีกด้วยชิปมังก์จะสร้างโพรงในระดับต่ำกว่าพื้นดิน ทางเข้าจะมีการปิดบังไว้ใต้ก้อนหินหรือพุ่มไม้ต่าง ๆ เป็นอย่างดี แม้จะอยู่ในโพรงแล้วก็ตาม ชิปมังก์ก็ยังเป็นสัตว์ที่ตื่นตัวตลอดเวลา มีการระแวดระวังภัยสูง เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลาย แต่ส่วนมากจะเป็น ลูกไม้ชนิดต่าง ๆ แม้กระทั่งลูกไม้ที่มีเปลือกแข็ง, ถั่ว, เมล็ดพืช, ข้าว, ไข่นก, แมลง แม้กระทั่งเห็ดรามีฤดูผสมพันธุ์ ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิของทุกปี ตัวเมียจะออกลูกครอกละ 2–8 ตัว ลูกชิปมังก์จะอยู่กับพ่อแม่เป็นเวลา 2 เดือนและหลังจากนั้นจะจากไปหาอาหารด้วยตนเอง หลังจากผ่านไป 5 เดือน ชิปมังก์วัยอ่อนจะเจริญเติบโตจนมีขนาดตัวโตเต็มวัย ในช่วงฤดูหนาวที่อากาศหนาว อาหารหายาก จะเข้าสู่การจำศีลด้วยการนอนอยู่นิ่ง ๆ ในโพรงของตัวเอง จนกว่าจะถึงฤดูร้อน ชิปมังก์มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 2–3 ปี[3]