โมโนอะมีน ของ ชีววิทยาของความซึมเศร้า

ภาพแสดงองค์ประกอบสำคัญในไซแนปส์ทั่วไป ไซแนปส์เป็นช่องระหว่างเซลล์ประสาท ซึ่งแปรพลังไฟฟ้าที่วิ่งผ่านตัวไปเป็นการปล่อยสารเคมีส่งสัญญาณต่อที่เรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ซึ่งข้ามช่องไซแนปส์ไปยังตัวรับสารสื่อประสาท (receptor) ของเซลล์ติดกัน ซึ่งจะจุดชนวนพลังไฟฟ้าให้วิ่งต่อไปในเซลล์หลังไซแนปส์นั้น

โมโนอะมีนเป็นกลุ่มสารสื่อประสาทและสารควบคุมประสาท (neuromodulator) ที่รวมทั้งเซโรโทนิน โดพามีน นอร์เอพิเนฟริน และอีพิเนฟริน[20]ยาแก้ซึมเศร้าจำนวนมากเพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินในไซแนปส์ แต่ก็อาจจะเพิ่มระดับของสารสื่อประสาทอีกสองอย่างคือ นอร์เอพิเนฟรินและโดพามีนด้วยสังเกตการณ์ของประสิทธิผลนี้นำไปสู่สมมติฐานโมโนอะมีนของโรคซึมเศร้า ซึ่งสันนิษฐานว่า การขาดสารสื่อประสาทบางอย่างมีผลต่อลักษณะโรคซึมเศร้าที่สัมพันธ์กัน คือ "นอร์เอพิเนฟรินอาจสัมพันธ์กับความตื่นตัวและความกระปรี้กระเปร่า รวมทั้งความวิตกกังวล ความใส่ใจ และความสนใจในชีวิต(การขาด) เซโรโทนินอาจสัมพันธ์กับความวิตกกังวล ความหมกมุ่น และการควบคุมใจไม่ได้ (compulsion)และโดพามีนอาจสัมพันธ์กับความใส่ใจ แรงจูงใจ ความรื่นเริงใจ และความพอใจ รวมทั้งความสนใจในชีวิต"ผู้สนับสนุนทฤษฎีนี้แนะนำให้ใช้ยาแก้ซึมเศร้าที่มีฤทธิ์ต่อระบบที่แสดงอาการมากที่สุดคือ คนไข้ที่วิตกกังวลและขัดเคือง ควรใช้ยาแบบ Selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) หรือ norepinephrine reuptake inhibitor และที่ไม่กระปรี้กระเปร่าหรือไม่ยินดีพอใจในชีวิต ควรจะได้ยาที่เพิ่มนอร์เอพิเนฟรินหรือโดพามีน[21]

ตัวรับโมโนอะมีนมีผลต่อเอนไซม์ phospholipase C และ adenylyl cyclase ภายในเซลล์ลูกศรสีเขียวเป็นการกระตุ้น (stimulation) และสีแดงเป็นการยับยั้ง (inhibition)ตัวรับเซโรโทนินมีสีน้ำเงิน ตัวรับนอร์เอพิเนฟรินสีส้ม ตัวรับโดพามีนสีเหลืองเอนไซม์ Phospholipase C และ adenylyl cyclase เริ่มกระบวนการ signaling cascade ซึ่งทำให้ยีนในเซลล์เริ่มหรือหยุดการทำงานรูปแบบต่าง ๆ ของสมมติฐานโมโนอะมีนรวมสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ซึ่งควบคุมโดยโปรตีน serotonin transporter ซึ่งช่วยควบคุมความรู้สึกและพฤติกรรมเช่น ความวิตกกังวล ความโกรธ ความอยากอาหาร ความรู้สึกทางเพศ การหลับนอน พื้นอารมณ์ เป็นต้นคนไข้โรคซึมเศร้าอาจจะมียีน serotonin transporter ที่ยาวต่างจากคนอื่น[22]บุคคลที่มีอัลลีลทั้งสองแบบยาวมีโอกาสน้อยกว่าที่จะซึมเศร้า ในขณะที่บุคคลที่มีอัลลีลยาวสั้น หรือทั้งสองสั้น เสี่ยงมากกว่าที่จะเกิดโรค[2]ส่วนตัวรับ 5HT3 สัมพันธ์กับความปั่นป่วนในท้องและไม่สัมพันธ์กับตัวรับโมโนอะมีนอื่น ๆ

โดยเข้ากับสมมติฐานโมโนอะมิน งานศึกษาตามยาวพบว่ายีน serotonin transporter (5-HTT) มีผลต่อระดับที่เหตุการณ์เครียดในชีวิตสามารถพยากรณ์ความซึมเศร้าโดยเฉพาะก็คือ ความซึมเศร้าดูจะมีโอกาสเกิดสูงขึ้นหลังเหตุการณ์เครียด แต่จะสูงกว่าสำหรับคนที่มีอัลลีลของยีน 5-HTT แบบสั้น 1 อัลลีลหรือทั้งสอง[2]นอกจากนั้นแล้ว เซโรโทนินยังอาจช่วบควบคุมระบบสื่อประสาทแบบอื่น ๆ และการทำงานที่ลดลงของเซโรโทนินอาจจะปล่อยให้ระบบอื่น ๆ ทำงานอย่างผิดปกติและอย่างผิดพลาดลักษณะต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าอาจเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านี้ที่ทำงานผิดปกติ[23]

ส่วนทฤษฎีแขนงของสมมติฐานโมโนอะมีนเสนอว่า เอนไซม์ monoamine oxidase A (MAO-A) ที่ช่วยสลายโมโนอะมีนอาจจะทำงานมากเกินไปในคนซึมเศร้าซึ่งทำให้โมโนอะมีนอยู่ในระดับต่ำเกินไปเป็นสมมติฐานที่มีหลักฐานจากงานที่สร้างภาพสมองโดยใช้ PET ซึ่งพบการทำงานในระดับสูงของ MAO-A ในคนซึมเศร้า[24]ส่วนงานศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า ความต่าง ๆ ของยีนที่มีผลต่อเอนไซม์ MAO-A ไม่สัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอกับโรคซึมเศร้า[25][26]และพบผลคัดค้านข้อสมมุติของสมมติฐานโมโนอะมีน คือ ระดับการทำงานที่ต่ำลงของเอนไซม์กลับสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าในผู้เยาว์ซึ่งพบในผู้เยาว์ที่ถูกทารุณ ซึ่งแสดงว่าทั้งปัจจัยทางชีวภาพ (คือ ยีนเกี่ยวกับ MAO) และทางจิตวิทยา (การถูกทารุณกรรม) มีผลสำคัญต่อโรคซึมเศร้า[27]นอกจากนั้นแล้ว มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่า ปัญหาการแปลข้อมูลของเครือข่ายประสาทเป็นเหตุของโรคซึมเศร้า ไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงของความสมดุลทางเคมี[28]

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 งานวิจัยได้พบข้อจำกัดหลายอย่างของสมมติฐานโมโนอะมีน ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงการจิตแพทย์[29]อย่างหนึ่งก็คือ การทำงานผิดพลาดของระบบประสาทแบบเซโรโทนินไม่สามารถเป็นเหตุเดียวของความซึมเศร้าเพราะว่า ยาแก้ซึมเศร้าปกติจะปรับให้เซโรโทนินกลับสู่ระดับปกติอย่างรวดเร็วมาก แต่ว่า บ่อยครั้งกลับใช้เวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนที่อารมณ์ของคนไข้จะดีขึ้นอย่างสำคัญการตรวจสอบอย่างเข้มข้นล้มเหลวที่จะพบหลักฐานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการทำงานผิดปกติในระบบประสาทแบบเซโรโทนินใดระบบหนึ่งโดยเฉพาะสำหรับคนไข้โรคซึมเศร้า (MDD)นอกจากนั้นแล้ว ยังมียาแก้ซึมเศร้าที่ได้ผลแม้ไม่ได้ออกฤทธิ์ผ่านระบบเซโรโทนิน เช่น tianeptine และ opipramolการทดลองยาที่ลดระดับโมโนอะมีนแสดงว่า มันไม่ได้ก่อความซึมเศร้าในคนปกติ และก็ไม่ได้ทำอาการคนไข้ซึมเศร้าให้แย่ลง[30][31]และถึงแม้ว่าจะมีความจำกัดเยี่ยงนี้ สมมติฐานนี้มักจะใช้อธิบายโรคให้สาธารณชนแบบง่าย ๆ เกินไป[32]

ใกล้เคียง

ชีววิทยา ชีววิทยาของความซึมเศร้า ชีววิทยาทางทะเล ชีววิทยาของเซลล์ ชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ประเทศไทย ชีววิทยาวิวัฒนาการ ชีววิทยามนุษย์ ชีววิทยาการเจริญ ชีววิทยาระบบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชีววิทยาของความซึมเศร้า http://www.biologicalpsychiatryjournal.com/article... http://www.biologicalpsychiatryjournal.com/article... http://www.cell.com/neuron/fulltext/S0896-6273(05)... http://www.cnsspectrums.com/UserDocs/ArticleImages... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0006-... http://www.esi-topics.com/nhp/2006/september-06-Ke... http://www.informaworld.com/10.1080/15622970701816... http://www.jad-journal.com/article/S0165-0327(11)0... http://www.nature.com/npp/journal/v25/n6/full/1395... http://www.nature.com/npp/journal/v33/n1/full/1301...