ประวัติ ของ ชีอะฮ์

การสืบทอดของอะลี

เหตุการณ์ที่ฆอดิรคุมม์

ดูบทความหลักที่: เหตุการณ์ที่ฆอดิรคุมม์
การแต่งตั้งอะลีที่ฆอดิรคุมม์ (MS Arab 161, fol. 162r, AD 1309/8 Ilkhanid manuscript illustration)

เหตุการณ์ที่ฆอดิรคุมม์ เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 632. ในขณะกลับจากการทำฮัจญ์ ศาสดามุฮัมมัดได้เรียกชาวมุสลิมที่อยู่รอบ ๆ มารวมตัวกันแล้วให้โอวาส ในตอนนั้น มุฮัมมัดชูแขนอะลีแล้วกล่าวว่า "ใครสำคัญไปกว่าตนเอง?" ชาวมุสลิมกล่าวว่า "อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์"[9]

เหตุการณ์นี้ได้ถูกบันทึกทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนนี[10][11][12][13]

รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอะลี

อัรบะอีนในกัรบะลา

เมื่อมุฮัมมัดเสียชีวิตในปีค.ศ.632 และญาติของมุฮัมมัดกำลังจัดงานศพ ในขณะที่เตรียมร่างกายนั้น อะบูบักร์, อุมัร และอบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรเราะฮ์พบกับผู้นำแห่งมะดีนะฮ์และเลือกอบูบักร์เป็นเคาะลีฟะฮ์. อะลีปฏิเสธความเป็นเคาะลีฟะฮ์ของอบูบักร์และไม่ให้สัตยาบันแก่เขา รายงานนี้มีทั้งสายซุนนีและชีอะฮ์

อะลีไม่ได้เป็นเคาะลีฟะฮ์ จนกระทั่งอุสมาน เคาะลีฟะฮ์คนที่สามถูกลอบสังหารในปีค.ศ.657 และอะลีก็กลายเป็นเคาะลีฟะฮ์คนที่สี่[14] แล้วย้ายเมืองหลวงไปที่กูฟะฮ์ในอิรัก[8]

ในช่วงที่อะลีปกครอง สังคมมุสลิมมักจะมีโต้แย้ง และมีสงครามเกือบบ่อย ซึ่งมีผลทำให้เกิดฟิตนะฮ์ครั้งแรก ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองใหญ่ครั้งแรกในรัฐเคาะลีฟะฮ์อิสลาม[14] อะลีปกครองตั้งแต่ปีค.ศ.656 ถึงค.ศ.661[14] สิ้นสุดโดยการถูกลอบสังหาร[15] ในตอนที่กำลังละหมาด (สุญูด). และมุอาวิยะฮ์ ศัตรูหลักของอะลี ประกาศตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ์[16]

ฮะซัน อิบน์ อะลี

ดูบทความหลักที่: ฮะซัน อิบน์ อะลี

หลังอะลีเสียชีวิต ฮะซัน อิบน์ อะลี ลูกชายคนโตกลายเป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งกูฟะฮ์ และหลังจากต่อสู้ระหว่างกูฟะฮ์กับทหารของมุอาวิยะฮ์ ฮะซํนยอมโอนอำนาจให้มุอาวิยะฮ์และทำสนธิสัญญาสันติภาพภาพใต้ข้อเงื่อนไข:[17][18]

  1. บังคับยกเลิกการกล่าวสาปแช่งอะลีในที่สาธารณะ เช่น ในเวลาละหมาด
  2. มุอาวิยะฮ์ไม่ควรใช้เงินภาษีกับความจำเป็นส่วนตัว
  3. ควรสงบศึก และผู้ติดตามฮะซํนจะได้รับสิทธิและความปลอดภัย
  4. มุอาวิยะฮ์จะไม่แต่งตั้งตนเองเป็นอะมีรุลมุอ์มินีน
  5. มุอาวิยะฮ์จะไม่ให้มีใครเป็นผู้สืบทอด

ฮะซันเกษียณในมะดีนะฮ์ และในปีค.ศ.670 เขาถูกฆ่าด้วยยาพิษโดยญะดา บิยต์ อัลอัชอัษ อิบน์ ก็อยส์ ภรรยาของท่าน โดยมุอาวิยะฮ์แอบติดต่อเธอให้ฆ่าฮะซัน เพื่อให้มุอาวิยะฮ์ยกตำแหน่งให้กับยะซีด ลูกชายของตนเอง

ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี

ดูบทความหลักที่: ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี
เทวสถานอิหม่ามฮุซัยน์ที่กัรบะลา

ฮุซัยน์ น้องชายของฮะซัน และลูกคนเล็กของอะลี ได้เรียกร้องให้รวมอำนาจเคาะลีฟะฮ์ ในปีค.ศ.680 มุอาวิยะฮ์เสียชีวิตแล้วยกตำแหน่งให้ยะซีด และทำลายสนธิสัญญาของฮะซํน อิบน์ อะลี. ดังนั้น ฮุซํยน์ได้รวบรวมครอบครัวกับผู้ติดตามในมะดีนะฮ์ เดินทางไปที่กูฟะฮ์ แต่ถูกขวางโดยทหารของยะซีด ที่ใกล้กัรบะลา (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และฮุซํยน์กับครอบครัวและผู้ติดตามอีกประมาณ 72 คนถูกฆ่าในยุทธการที่กัรบะลา

ชีอะฮ์ยกย่องฮุซัยน์เป็นผู้พลีชีพ (ชะฮีด) และนับท่านเป็นอิหม่ามจากอะฮ์ลุลบัยต์[19] ยุทธการที่กัรบะลามักถูกกล่าวเป็นจุกแยกระหว่างซุนนีกับชีอะฮ์ของอิสลาม และในทุก ๆ ปี มุสลิมชีอะฮ์จะฉลองในวันอาชูรอ.

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชีอะฮ์ http://jmm.aaa.net.au/articles/11253.htm http://files.preslib.az/projects/remz/pdf_en/atr_d... http://bn.abna24.com/service/important/archive/201... http://www.adherents.com/largecom/com_shiite.html http://www.britannica.com/EBchecked/topic/540503 http://www.britannica.com/EBchecked/topic/540503/S... http://www.commdiginews.com/world-news/analysis-in... http://www.eurasiareview.com/25032011-challenges-f... http://www.globalpost.com/dispatches/globalpost-bl... http://timesofindia.indiatimes.com/city/lucknow/Sh...