ภายนอก ของ ชเตฟันสโดม

หอโรมานเนสก์ด้านหน้าของมหาวิหาร โค้งระหว่างหอที่เห็นไม่ใช่ประตูยักษ์แต่เป็นหน้าต่างใหญ่เหนือประตูลายโมเสกบนหลังคา

อาสนวิหารเป็นคริสต์ศาสนสถานที่อุทิศให้แก่นักบุญสเทเฟนผู้ที่ก็เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์อาสนวิหารพัสเซาด้วย ฉะนั้นตัวโบสถ์จึงหันทางที่พระอาทิตย์ขึ้นในวันสมโภชที่ตรงกับวันที่ 26 ธันวาคม ตัวอาสนวิหารที่สร้างด้วยหินปูนมีความยาว 107 เมตร กว้าง 70 เมตร และ สูง 136.7 เมตร โดยมีทางเดินกลางที่ยาว 38.9 เมตร ในช่วงเวลาที่ผ่านมาสิ่งสกปรกจากเขม่าไฟ และ มลพิศต่างก็หมักหมมเกาะตัวบนตัวมหาวิหารจนกลายเป็นสีดำ แต่การบูรณปฏิสังขรณ์ที่เพิ่งดำเนินการไปเมื่อไม่นานมานี้ทำให้มหาวิหารกลับไปเป็นสีขาวตามเดิม

หอ

หอสูง 136 เมตรที่ชาวเวียนนาเรียกว่า “Steffl” (ออกเสียง “สเตฟเฟิล” แผลงมาจากคำว่า “Stephen”) หอใต้ขนาดมหึมาของอาสนวิหารนักบุญสเทเฟนที่เป็นหอที่เด่นสง่ากว่าสิ่งอื่นใดของภูมิทัศน์ตึกรามของเมืองเวียนนาใช้เวลาสร้างทั้งสิ้น 65 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1433 ระหว่างการล้อมกรุงเวียนนาในปี ค.ศ. 1529 และอีกครั้งหนึ่งในยุทธการเวียนนาในปี ค.ศ. 1683 หอสเตฟเฟิลใช้เป็นหอสังเกตการณ์และที่ตั้งของกองบังคับการในการป้องกับเมืองเวียนนาที่มีกำแพงล้อมรอบ ในหอถึงกับมีห้องพักสำหรับผู้ทำหน้าที่สังเกตการณ์ หอสเตฟเฟิลมีผู้ประจำการตอนกลางคืนมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1955 ที่จะสั่นระฆังถ้าเห็นไฟไหม้ในเมือง บนยอด เป็นที่ตั้งของราชอินทรีสองหัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตราอาร์มของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก-ลอแรน บนหน้าอกเป็นกางเขนอัครบิดรที่หมายถึง “Apostolic Majesty” ของพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี

หอเหนือเดิมตั้งใจที่จะให้เป็นแบบเดียวกับหอใต้ แต่กลายเป็นโครงการที่ใหญ่เกินตัวเมื่อคำนึงถึงว่าโครงการที่เริ่มขึ้นในช่วงเวลาตอนปลายของสมัยการสร้างมหาวิหารแบบกอธิคที่กำลังใกล้จะสิ้นสุดลง และเมื่อการก่อสร้างต้องมาหยุดชะงักลงในปี ค.ศ. 1511

ในปี ค.ศ. 1578 ฐานหอที่สร้างขึ้นมาบางส่วนแล้วก็ได้รับการสร้างยอดให้เป็นแบบเรอเนสซองซ์ที่มีชื่อเรียกกันเล่น ๆ ว่า “ยอดหอน้ำ” (water tower top) โดยชาวเวียนนา หอนี้สูง 68 เมตร ราวครึ่งหนึ่งของหอใต้

ทางเข้าหลักเรียกว่า “ประตูยักษ์” (Riesentor) ที่หมายถึงกระดูกต้นขาของ Mastodon ที่แขวนอยู่เหนือประตูอยู่เป็นเวลาหลายสิบปี ที่เป็นกระดูกที่ขุดพบในปี ค.ศ. 1443 ขณะที่ขุดบริเวณที่จะทำฐานสำหรับหอเหนือ หน้าบันเหนือประตูเป็นภาพพระเยซูในท่า “พระเยซูผู้ทรงอานุภาพ” (Christ Pantocrator) ขนาบด้วยทูตสวรรค์มีปีกสององค์ ขณะที่ทางซ้ายและขวาของประตูเป็นหอโรมันสองหอหรือ “หอไฮเดน” (Heidentürme) แต่ละหอสูง 65 เมตร ชื่อของหอสร้างมาจากการใช้วัสดุที่มาจากสิ่งก่อสร้างเดิมของโรมัน (=heiden) ระหว่างที่ยึดครองบริเวณนี้อยู่ ฐานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมเหนือแนวหลังคา “หอไฮเดน” เดิมเป็นที่เก็บระฆัง ระฆังในหอโรมันใต้หายไประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แต่หอโรมันเหนือยังคงใช้การได้อยู่ หอโรมันและประตูยักษ์เป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของมหาวิหาร

หลังคา

ความงดงามของอาสนวิหารนักบุญสเทเฟนอยู่ที่การตกแต่งลวดลายอันวิจิตรของหลังคาด้วยกระเบื้องสีต่างๆ ขนาดของหลังคายาว 111 เมตร และใช้กระเบื้องเคลือบทั้งสิ้น 230,000 แผ่น เหนือบริเวณร้องเพลงสวดทางด้านใต้ของสิ่งก่อสร้างเป็นการวางกระเบื้องเป็นรูปอินทรีสองหัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตราอาร์มของการปกครองของจักรวรรดิออสเตรียโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ทางด้านเหนือเป็นตราอาร์มของ เมืองเวียนนา และของ สาธารณรัฐออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1945 เพลิงไหม้ที่ข้ามมาจากสิ่งก่อสร้างอื่นยังหอเหนือลามไปสร้างความเสียหายให้แก่โครงไม้ของหลังคา ความใหญ่โตของหลังคาทำให้ถ้าจะใช้ไม้ในการสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นแทนที่ก็จะต้องโค่นป่าราวหนึ่ตารางกิโลเมตรจึงจะได้ไม้พอเพียง ฉะนั้นจึงได้ใช้โครงสร้างเหล็กหล่อ 600 เมตริกตันแทนที่ หลังคาเป็นทรงที่แหลมมากจนการทำความสะอาดด้วยน้ำฝนก็พอเพียง และนอกจากนั้นก็แทบจะไม่มีหิมะเกาะได้

ระฆัง

หอเหนือระฆังพุมเมริน

กล่าวกันว่าคีตกวีลุดวิก ฟาน เบโทเฟินทราบว่าตนเองหูหนวกก็เมื่อหันขึ้นไปมองนกบินออกมาจากหอระฆังเพราะระฆังถูกสั่นแต่ก็ไม่ได้ยินเสียงระฆัง อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนมีระฆังทั้งหมด 23 ใบ ใบใหญ่ที่สุดที่แขวนในหอเหนือมีชื่อเป็นทางการว่าระฆังพระแม่มารีย์ แต่มักจะเรียกกันว่า “ระฆังพุมเมริน” ระฆังพุมเมรินหนัก 20,130 กิโลกรัม เป็นระฆังที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรียและเป็นระฆังแบบแกว่งที่ใหญ่เป็นที่สองในยุโรป รองจาก “ระฆังปีเตอร์” ที่หนัก 23,500 กิโลกรัมที่มหาวิหารโคโลญ ระฆังพุมเมรินหล่อในปี ค.ศ. 1711 จากปืนใหญ่ที่ยึดได้จากมุสลิมที่มาล้อมกรุงเวียนนา และมาหล่อใหม่ในปี ค.ศ. 1951 หลังจากหล่นลงมาแตกบนพื้นหลังจากเพราะคานไม้ที่แขวนที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ในปี ค.ศ. 1945 หักตัวลง ระฆังใหม่ที่มีเส้นผ้าศูนย์กลาง 3.14 เมตรเป็นของขวัญจากรัฐอัปเปอร์ออสเตรีย ระฆังนี้สั่นเฉพาะโอกาสพิเศษเช่นปีใหม่ ในหอเดียวกันนี้มีระฆังที่เก่ากว่าอีกสามใบที่ไม่ได้ใช้แล้ว:

  • “ระฆังเล็ก” (Kleine Glocke) - หนัก 62 กิโลกรัม หล่อในปี ค.ศ. 1280
  • “ระฆังอาหารค่ำ” (Speisglocke) - หนัก 240 กิโลกรัม หล่อในปี ค.ศ. 1746
  • “ระฆังขบวนแห่” (Zügenglocke) - หนัก 65 กิโลกรัม หล่อในปี ค.ศ. 1830

กลุ่มระฆังสิบเอ็ดใบที่หล่อในปี ค.ศ. 1960 แขวนบนหอใต้ แทนที่ระฆังโบราณที่สูญไปกับเพลิงใหม้ในปี ค.ศ. 1945 ใช้ระหว่างพิธีมิสซา สี่ใบใช้ในพิธีมิสซาตามปกติ จำนวนระฆังที่ใช้เพิ่มขึ้นตามความสำคัญของพิธีมิสซา การใช้ทั้งสิบเอ็ดใบก็เมื่อพระคาร์ดินัลอาร์ชบิชอปแห่งเวียนนากระทำพิธีมิสซาเอง ระฆังทั้งสิบเอ็ดใบมีชื่อตั้งแต่ใบใหญ่ที่สุดถึงเล็กที่สุดตามลำดับคือ

และบนยอดหอที่สูงที่สุดแขวน “ระฆังพริมกล็อก” (หล่อใหม่ ค.ศ. 1772) และ “ระฆังอัวร์เชลเลอ” (หล่อ ค.ศ. 1449) ที่ใช้สั่นเพื่อบอกชั่วโมง

หอโรมันเหนือมีระฆังหกใบ ห้าใบที่หล่อในปี ค.ศ. 1772 ใช้สำหรับสั่นเป็นสัญญาณการทำวัตรเย็นและเมื่อมีงานศพ และเป็นระฆังใช้งานที่มีชื่อเรียกตามหน้าที่

  • “ระฆังเพลิง” (Feuerin) ใช้ส่งสัญญาณเตือนไฟ แต่ในปัจจุบันใช้เป็นสัญญาณการสวดมนต์เย็น (หล่อ ค.ศ. 1859)
  • “ระฆังนักดนตรี” (Kantnerin) เป็นสัญญาณเรียกนักดนตรี (cantor) มาทำพิธีมิสซา
  • “ระฆังมิสซา” (Feringerin) เป็นสัญญาณพิธีมิสซาใหญ่วันอาทิตย์
  • “ระฆังเบียร์” (Bieringerin) เป็นสัญญาณสุดท้ายของทาเวิร์น
  • “ระฆังวิญญาณ” (Poor Souls) เป็นสัญญาณงานศพ
  • “ระฆังเชอร์เพิทส์ช” (Churpötsch)

สิ่งตกแต่งบนผนังด้านนอก

มาตรฐานหน่วยวัดความยาว “เอลล์” ที่ใช้กับผ้าลินนินและผ้าอื่นบนผนังวัด
“พระเยซูปวดฟัน” (Zahnweh-Herrgott) ที่ตำแหน่ง CT
แท่นเทศน์นักบุญยอห์นคาพิสทราโน

ในยุคกลางเมืองสำคัญ ๆ ต่างก็มีระบบมาตรการชั่งตวงวัดสำหรับสาธารณชนที่พ่อค้าต้องทำตามมาตรฐานของเมืองที่กำหนดไว้ เวียนนาใช้ “เอลล์” ในการวัดความยาวของผ้าชนิดต่างๆ ที่สลักบนผนังของมหาวิหารอย่างเป็นทางการทางซ้ายของทางเข้าหลัก “เอลล์” ที่ใช้วัดความยาวของผ้าลินนินก็เรียก “ยาร์ดเวียนนา” (Viennese yard) ด้วย (89,6 เซนติเมตร) และถ้าเป็น “เอลล์” ผ้าม่านก็จะเป็น 77 เซนติเมตรที่ใช้ท่อนเหล็กสองท่อนวัด ตามความเห็นของฟรันซ์ ทวาร็อคอัตราส่วนระหว่างลินนินเอลล์และผ้าม่านเอลล์จะเท่ากับ 3 / 2 {\displaystyle {\sqrt {3}}/2} .[5][6] พอดี เอลล์เวียนนาได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกในปีค.ศ. 1685 โดยแคนนอนเทสทาเรลโล เดลลา มาสสาในหนังสือ “Beschreibung der ansehnlichen und berühmten St. Stephans-Domkirchen”[7]

แผ่นจารึก (ใกล้กับแท่นเทศน์นักบุญจอห์นคาพิสทราโน (SJC) บนผัง) มีรายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทกับมหาวิหารที่รวมทั้งการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการดนตรีพิเศษไม่นานก่อนที่จะเสียชีวิต เซนต์สตีเฟนเป็นวัดของโมซาร์ทขณะที่พำนักอยู่ที่บ้านฟิกาโรและสมรสที่นั่น และลูกสองคนก็ได้รับศีลจุ่มที่นี่ด้วย งานศพของโมซาร์ทจัดในชาเปลกางเขน (PES บนผัง) ภายในมหาวิหาร[8]

แท่นเทศน์ที่ตั้งอยู่ด้านนอก (SJC บนผัง) เป็นแท่นที่นักบุญจอห์นคาพิสทราโนใช้เทศน์เรื่องสงครามครูเสดในปี ค.ศ. 1454 เพื่อเรียกร้องให้ทำการยุติการรุกรานของมุสลิมเข้ามาในยุโรป[9] ประติมากรรมบาโรกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 แสดงภาพนักบุญฟรานซิสภายใต้รัศมีพระอาทิตย์อันเรืองรองเหยียบย่ำชนเตอร์ก แท่นเทศน์นี้เดิมเป็นแท่นเทศน์เอกของมหาวิหารที่ตั้งอยู่ภายในจนกระทั่งมาแทนที่ด้วย แท่นเทศน์พิลแกรมในปี ค.ศ. 1515

นอกจากนั้นก็มีพระรูปของพระเยซู (CT บนผัง) ที่ชาวเวียนนาเรียกกันอย่างชื่นชมว่าภาพ “พระเยซูปวดฟัน” เพราะพระพักตร์ที่บิดเบี้ยว และ นาฬิกาแดด (S บนผัง)