ภายใน ของ ชเตฟันสโดม

ผังอาสนวิหารนักบุญสเทเฟน พร้อมด้วยอักษรสีแดงที่เป็นเครื่องหมายว่าเป็นสิ่งที่กล่าวถึงในบทความCT ประติมากรรม “พระเยซูปวดฟัน”;Fr3 อนุสรณ์พระศพของจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3;G ประตูยักษ์HA แท่นบูชาเอก;MP รูปเคารพพระแม่มารีโพช;NT หอเหนือ;P แท่นเทศน์;PES ชาเปลพระศพของเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย;RT หอโรมัน;S นาฬิกาแดด;SJC แท่นเทศน์นักบุญจอห์นคาพิสทราโน;ST หอใต้;WNA ฉากแท่นบูชาน็อยชตัดท์มุมมองจากช่องทางเดินเหนือไปยังด้านหลังของอาสนวิหาร ทางขวาเป็นประตูสู่ชาเปลกางเขน [[PES]] (1849).ฉากแท่นบูชาน็อยชตัดท์

อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนมีแท่นบูชาด้วยกันทั้งหมด 18 ในบริเวณหลักของตัวโบสถ์และอีกหลายแท่นตามคูหาสวดมนต์รอบๆ แท่นบูชาเอก [[HA]] และ “ฉากแท่นบูชาน็อยชตัดท์” (เยอรมัน: Wiener Neustädter Altar) [[WNA]] เป็นแท่นบูชาที่เด่นที่สุดในวัด

แท่นบูชาแรกที่จะเห็นเมื่อเข้าไปในโบสถ์คือแท่นบูชาเอกที่อยู่ไกลออกไปตรงปลายสุดของทางเดินกลางที่ใช้เวลาสร้างกว่าเจ็ดปีระหว่าง ค.ศ. 1641 ถึง ค.ศ. 1647 ที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมมหาวิหารให้เป็นแบบบาโรก แท่นบูชาสร้างโดยโทไบอัส พ็อคตามคำสั่งของฟิลิปป์ ฟรีดริช กราฟ บรึนเนอร์จากหินอ่อนจากโปแลนด์, สไตเรีย และ ไทโรล เนื้อหาของฉากประดับแท่นบูชาเอกเป็นภาพการขว้างก้อนหินเพื่อสังหารนักบุญสเทเฟนผู้เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์มหาวิหาร ล้อมรอบด้วยภาพนักบุญจากบริเวณเวียนนา — นักบุญลีโอโพลด์ นักบุญฟลอเรียน นักบุญเซบาสเตียน, นักบุญร็อค — ตอนบนเป็นประติมากรรมของพระแม่มารีย์ ที่แย้มให้ผู้ศรัทธาได้เห็นสวรรค์ที่พระเยซูทรงรอรับนักบุญสเทเฟนอยู่ (มรณสักขีองค์แรกที่ขึ้นจากเบื้องล่าง)

“ฉากแท่นบูชานอยชตัดท์” ที่ตั้งอยู่ทางตรงปลายช่องทางเดินข้างทางทิศเหนือได้รับการสั่งให้สร้างในปี ค.ศ. 1447 โดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 ผู้ที่มีอนุสรณ์พระบรมศพอยู่ตรงกันข้าม บนฐานฉากแท่นบูชา เป็นภาพเครื่องมือสัญลักษณ์ “A.E.I.O.U.” อันมีชื่อเสียงของจักรพรรดิฟรีดริช พระองค์ทรงสั่งให้สร้างสำหรับอารามวิคทริง แต่ตั้งอยู่ที่นั่นมาจนกระทั่งแอบบีถูกปิดในปี ค.ศ. 1786 ที่เป็นผลมาจากนโยบายการปฏิรูปสถาบันนักบวชของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 จากนั้นเครื่องมือสัญลักษณ์ “A.E.I.O.U.” ก็ถูกส่งไปยังอารามคณะซิสเตอร์เชียนของนักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โวที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 ที่เมืองวีนเนอร์น็อยชตัดท์ และในที่สุดก็ขายให้แก่มหาวิหารเมื่ออารามถูกปิดหลังจากที่ไปรวมตัวกับอารามไฮลีเกนครอยซ์

“ฉากประดับแท่นบูชาน็อยชตัดท์” ประกอบด้วยบานพับภาพสองตอน ตอนบนมีความสูงสี่เท่าของตอนล่าง เมื่อเปิดตอนล่างออกมาก็จะเป็นกรงสำหรับเดิมเป็นที่เก็บเรลิกเหนือแท่นบูชา ในวันราชการบานพับสี่บานก็จะปิดให้เห็นแต่ภาพนอกที่เป็นภาพเขียนสีมัว ๆ ของนักบุญ 72 องค์ ในวันอาทิตย์จึงจะมีการเปิดให้ได้เห็นงานสลักไม้ทาสีทองอันวิจิตรภายในที่เป็นภาพฉากชีวิตของพระแม่มารี การบูรณปฏิสังขรณ์ฉากแท่นบูชาเริ่มทำกันในปี ค.ศ. 1985 และใช้เวลาทั้งสิ้น 20 ปีจึงเสร็จ โดยใช้ศิลปินนักบูรณปฏิสังขรณ์ 10 คนที่ใช้เวลาทำงาน 40,000 ชั่วโมง และใช้เงิน 1.3 ล้านยูโร

รูปสัญลักษณ์พระแม่มารีโพช

พระแม่มารีโพช

ไอคอนพระแม่มารีโพช [[MP]] เป็นรูปสัญลักษณ์แบบไบแซนไทน์ของแม่พระและพระกุมาร ไอคอนพระแม่มารีย์ได้ชื่อมาจากโบสถ์ฮังการีมาเรียโพช (Máriapócs ออกเสียง Poach) ที่อัญเชิญมายังเวียนนา รูปสัญลักษณ์เป็นภาพพระแม่มารีชี้ไปยังพระบุตรเป็นนัยยะว่า “พระองค์คือผู้ที่จะมาเป็นผู้นำทาง” และ พระบุตรทรงถือกุหลาบสามก้านซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตรีเอกภาพ และสวมกางเขนบนพระศอ ไอคอนที่มีขนาด 50 x 70 เซนติเมตรสร้างในปี ค.ศ. 1676 โดยจิตรกรIstvan Papp ที่สั่งทำโดย Laszlo Csigri เมื่อถูกปล่อยจากการเป็นเชลยโดยเติร์กผู้เข้ามารุกรานฮังการีในขณะนั้น อาจจะเป็นได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีเงินจ่ายค่าจ้าง 6 ดูคัต เพราะ Laszlo Hurta ซื้อไอคอนไปถวายโบสถ์มาเรียโพช

หลังจากที่เกิดปาฏิหาริย์เมื่อพระแม่มารีในภาพทรงหลั่งน้ำพระเนตรสองครั้งในปี ค.ศ. 1696 แล้วจักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1 ก็ทรงอัญเชิญพระรูปมายังอาสนวิหารนักบุญสเทเฟนเพื่อความปลอดภัยจากกองทหารมุสลิมที่สนับสนุนโดยฝรั่งเศสที่ยังคงมีอำนาจโดยทั่วไปในฮังการีอยู่ในขณะนั้น หลังจากการขนย้ายที่ใช้เวลาห้าเดือนพระรูปก็มาถึงเวียนนาในปี ค.ศ. 1697 จักรพรรดินีเอเลอเนอร์ มักดาเลเนอแห่งพาลาทิเนต-นอยบูร์กก็ทรงจ้างให้สร้างเสื้อคลุมโลหะ (Riza) “Rosa Mystica” อันวิจิตร และกรอบ และจักรพรรดิเลโอโพลด์มีพระราชโองการให้ตั้งพระรูปไม่ไกลจากแท่นบูชาเอกที่ตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1697 มาจนถึง ค.ศ. 1945 ตั้งแต่นั้นพระรูปก็ได้รับการโยกย้ายหลายครั้ง ในปัจจุบันตั้งอยู่เหนือแท่นบูชาภายใต้เบญจาคริสต์หินโบราณติดกับมุมตะวันตกเฉียงใต้ของช่องทางเดิน จากเทียนจำนวนมากมายทำให้ทราบว่าพระรูปยังเป็นที่นิยมสักการะกันอยู่โดยเฉพาะโดยชาวฮังการี ตั้งแต่นำมาตั้งที่อาสนวิหารพระแม่มารีย์ก็มิได้ทรงหลั่งน้ำพระเนตรอีก แต่ก็มีปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งที่เชื่อว่าเกิดจากพระรูปรวมทั้งชัยชนะของเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยต่อเติร์กที่เซนทาเพียงสองสามอาทิตย์หลังจากที่นำพระรูปมาไว้ที่มหาวิหาร

ชาวเมืองโพชเรียกร้องให้นำพระรูปมาเรียโพชคือ แต่จักรพรรดิเลโอโพลด์ทรงเพียงแต่ส่งรูปก็อปปีไปให้ ตั้งแต่นั้นมาก็กล่าวกันว่าพระแม่มาเรียในภาพก็อปปีทรงหลั่งน้ำพระเนตรและช่วยให้เกิดปาฏิหาริย์ หมูบ้านจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “มาเรียโพช” และกลายเป็นเมืองสำคัญสำหรับผู้เดินทางมาจาริกแสวงบุญ

แท่นเทศน์

แท่นเทศน์ที่เป็นประติมากรรมของนักบุญเกรกอรี นักบุญเจอโรม และนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป
คนแอบมอง

แท่นเทศน์หิน [[P]] เป็นงานชิ้นเอกของงานประติมากรรมแบบกอธิค เดิมเชื่อกันว่าเป็นงานที่สร้างโดยอันทวน พิลแกรมแต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นงานของนิโคเลาส์ แกร์ฮาร์ทมากกว่า ตัวแท่นเทศน์ตั้งติดเสาที่หันมาทางทางเดินกลาง แทนที่จะอยู่ทางด้านหน้าของมหาวิหาร

ด้านข้างของแท่นเทศน์แผ่บานออกมาเหมือนกลีบดอกไม้ที่บานออกมาจากก้านที่รองรับอยู่ข้างล่าง บนกลีบเป็นประติมากรรมภาพนูนของนักปราชญ์แห่งคริสตจักรเดิมสี่องค์ที่รวมทั้งนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป นักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน นักบุญเกรกอรี และ นักบุญเจอโรม ตามราวกระไดอ้อมรอบเสาจากตัวแท่นเทศน์ลงมาถึงพื้นเป็นงานสลักตกแต่งต่างๆ ที่รวมทั้งกบและจิ้งเหลนกัดกันซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว ตอนบนบันไดเป็นรูปสลักสุนัขเพื่อพิทักษ์ผู้เทศน์จากผู้ขัดขวาง

ใต้บันไดเป็นสัญลักษ์อันเป็นที่ชื่นชมกันที่สุดในมหาวิหารที่เป็นภาพเหมือนตนเองของสถาปัตยกรรมไม่ทราบนามแอบเปิดหน้าต่างแอบมองที่เรียกว่า “คนแอบมอง” (Fenstergucker) สิ่วในมือของตัวแบบและเครื่องหมายช่างหิน บนเกราะเหนือหน้าต่างทำให้สันนิษฐานกันว่าเป็นภาพเหมือนตนเองของประติมากร

ชาเปล

ชาเปลนักบุญนักบุญแคเธอรินผังห้องใต้ดินของมหาวิหารเซนต์สตีเฟน

อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนมีชาเปล หรือ ชาเปลอย่างเป็นทางการหลายชาเปลที่รวมทั้ง:

  • ชาเปลนักบุญแคเธอริน ที่ตั้งอยู่ที่ฐานของหอใต้ชาเปลศีลล้างบาป ในบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของอ่างศีลจุ่มสิบสี่เหลี่ยมที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1481 ที่มีฝาห้อยอยู่ตอนบนที่เดิมใช้เป็นแผ่นสะท้อนเสียง (sound board) ที่ตั้งอยู่เหนือแท่นเทศน์ ฐานที่เป็นหินอ่อนเป็นรูปสลักอีแวนเจลิสทั้งสี่ ขณะที่ในช่องรอบอ่างเป็นอัครทูต, พระเยซู และ นักบุญสเทเฟน
  • ชาเปลนักบุญบาร์บารา ที่ตั้งอยู่ที่ฐานของหอเหนือ ใช้เป็นที่ทำสมาธิและสวดมนต์
  • ชาเปลนักบุญเอลิเจียส ที่ตั้งอยู่ทางมุมตะวันออกเฉียงใต้ใช้สำหรับสวดมนต์ แท่นบูชาในชาเปลนี้อุทิศให้แก่นักบุญวาเลนไทน์ ที่มีร่างอยู่ในชาเปลอีกชาเปลหนึ่งชั้นบน (คริสต์ศาสนสถานหลายแห่งอ้างว่าเป็นเจ้าของร่างของนักบุญวาเลนไทน์)
  • ชาเปลนักบุญบาร์โทโลมิว ที่ตั้งอยู่เหนือชาเปลนักบุญเอลิเจียสเพิ่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อเร็วๆ นี้
  • ชาเปลกางเขน (The Chapel of the Cross)[[PES]] ที่ตั้งอยู่ตรงมุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ตั้งอนุสรณ์ของเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย ภายในมีโรงสามโลงและโกฐใส่หัวใจภายใต้แผ่นหินใหญ่ที่มีห่วงวงแหวน ชาเปลนี้เป็นที่จัดงานศพของโมซาร์ทเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1791 หนวดบนพระพักตร์พระเยซูบนกางเขนเป็นผมคน ชาเปลนี้ไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม
  • ชาเปลนักบุญวาเล็นไทน์ ที่ตั้งอยู่เหนือชาเปลกางเขนในปัจจุบันเป็นที่เก็บมงคลวัตถุจำนวนเป็นร้อยที่เป็นของมหาวิหารที่รวมทั้งชิ้นผ้าจากผ้าปูโต๊ะที่ใช้ในโอกาสพระกระยาหามื้อสุดท้าย ในหีบใหญ่บรรจุกระดูกของนักบุญวาเล็นไทน์ ซึ่งย้ายมาจากที่ที่เคยเป็นหอประชุมสงฆ์เดิม

อนุสรณ์ผู้เสียชีวิต, สุสานใต้ดิน และ คริพท์

ตั้งแต่สมัยแรกเป็นต้นมามหาวิหารเซนต์สตีเฟนก็เป็นที่สำหรับการฝังศพตั้งแต่สมัยโรมัน และ เป็นที่บรรจุศพของทั้งขุนนางและคนธรรมดา แต่การได้รับการบรรจุภายในตัวมหาวิหารถือกันว่าเป็นสิ่งที่มีเกียรติเพราะความที่ได้ใกล้ชิดกับนักบุญต่างที่มีมงคลวัตถุเก็บรักษาไว้ภายในมหาวิหาร ผู้ที่ไม่มีเกียรติยศเท่าใดนักก็จะได้รับการฝังใกล้มหาวิหาร

ภายในมหาวิหารจะมีอนุสรณ์ของเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย [[PES]] แม่ทัพสูงสุดของกองทัพของพระจักรพรรดิในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนใน “ชาเปลกางเขน” (Chapel of The Cross) (มุมตะวันตกเฉียงเหนือของมหาวิหาร) และของจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 [[Fr3]] ในรัชสมัยของพระองค์เวียนนาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมุขมณฑลอิสระจากมุขมณฑลพัสเซาเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1469 (มุมตะวันออกเฉียงใต้ของมหาวิหาร) การก่อสร้างอนุสรณ์ใช้เวลากว่า 45 ปีโดยเริ่มราว 25 ปีก่อนที่จะเสด็จสวรรคต โลงหินอันโอฬารนี้สร้างด้วยหินอ่อนเนื้อแน่นกว่าปกติสีแดงที่พบที่เหมืองอัดเนท แกะสลักโดยนิโคเลาส์ แกร์ฮาร์ท ฝาโลงเป็นพระรูปของจักรพรรดิฟรีดริชทรงเครื่องทรงชุดราชาภิเษกล้อมรอบด้วยตราอาร์มของราชอาณาจักรต่างที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจ อนุสรณ์มีประติมากรรมรูปคน 240 รูปที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของการสร้างงานประติมากรรมของยุคกลาง

อนุสรณ์พระบรมศพจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3

เมื่ออัฐิสถาน และสุสานแปดสุสานที่ติดกับกำแพงด้านข้างและหลังของมหาวิหารปิดลงเพราะการระบาดของกาฬโรค กาฬโรค ในปี ค.ศ. 1735 กระดูกที่ขุดขึ้นมาจากสุสานเหล่านี้ก็ถูกนำไปเก็บไว้ในสุสานใต้ดินใต้วัด การบรรจุศพภายในสุสานใต้ดินโดยตรงเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1783 เมื่อกฎหมายที่ออกใหม่ระบุห้ามการฝังภายในตัวเมือง ภายในสุสานใต้ดินที่ไม่เปิดให้ชมมีศพกว่า 11,000 คนนอกจากนั้นชั้นล่างใต้ดินของวัดก็ยังเป็นที่บรรจุศพของบิชอป ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ทางศาสนา และดยุก ศพสุดท้ายที่บรรจุไว้ในคริพท์ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1952 ทางต้อนใต้ของบริเวณร้องเพลงสวดที่เป็นศพของคาร์ดินัลฟรันซ์ เคอนิกในปี ค.ศ. 2004 ที่บรรจุศพของดยุกแห่งเวียนนา (Ducal Crypt) ตั้งอยู่ภายใต้บริเวณพิธีมีที่บรรจุสัมริด 78 อันที่บรรจุร่าง, หัวใจ หรือ อวัยวะภายในของสมาชิกในราชวงศ์ฮับส์บวร์ก 72 พระองค์ ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1365 รูดอล์ฟที่ 4 ดยุกแห่งออสเตรียสั่งให้สร้างคริพท์สำหรับบรรจุร่างของตนเองในมหาวิหารที่ได้สั่งให้สร้าง เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1754 ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ก็ล้นไปด้วยโลงหิน 12 โลงและโกฐอีก 39 โกฐ บริเวณนี้จึงได้รับการขยายโดยเพิ่มห้องรูปไข่ติดกับด้านตะวันออกของห้องเดิม ในปี ค.ศ. 1956 ห้องทั้งสองนี้ก็ได้รับการบูรณะและสิ่งที่บรรจุอยู่ก็ได้รับการจัดเรียบเรียงใหม่ โลงหินของดยุกรูดอล์ฟและภรรยาได้รับการวางไว้บนแท่น และโกฐ 62 โกฐที่ใช้บรรจุอวัยวะก็ถูกย้ายจากชั้นสองชั้นภายในห้องใหม่ไปไว้ในตู้ในห้องเดิม

ออร์แกน

มหาวิหารเซนต์สตีเฟนมีออร์แกนเก่าที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1334[10][11] หลังจากเพลิงไหม้ในปี ค.ศ. 1945 มิคาเอล คอฟฟ์มันน์ก็สร้างออร์แกนไฟฟ้าใหม่ที่เสร็จในปี ค.ศ. 1960 ที่มี 125 เสียง, 4 manuals และ 9000 ท่อโดยทุนเงินบริจาคจากสาธารณชน[12] ในปี ค.ศ. 1991 ออร์แกนสำหรับบริเวณร้องเพลงสวดก็ได้รับการสร้างโดยบริษัทออสเตรียชื่อบริษัทสร้าออร์แกนรีเกอร์ (Rieger Orgelbau) ออร์แกนนี้เป็นออร์แกนเครื่อง (mechanical organ) ที่มี 56 เสียงและ 4 manuals[13]