ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย
ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย (อังกฤษ: Late Pleistocene) เป็นช่วงอายุอย่างไม่เป็นทางการในธรณีกาลสากลในการลำดับชั้นหินตามอายุกาล หรือรู้จักในชื่อ ไพลสโตซีนบน (อังกฤษ: Upper Pleistocene) ในแง่ของการลำดับชั้นหิน การแบ่งช่วงอายุนี้มีจุดหมายเพื่อเป็นส่วนที่สี่ของสมัยไพลสโตซีนอันเป็นสมัยหนึ่งของยุคควอเทอร์นารีที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบัน ในปัจจุบันได้กำหนดช่วงเวลาของช่วงอายุนี้ไว้ระหว่างประมาณ 129,000 ปี ถึง ประมาณ 11,700 ปีก่อน ช่วงอายุนี้เทียบเท่ากับช่วงอายุทารันเทียน (อังกฤษ: Tarantian) ที่เสนอขึ้นไว้ของธรณีกาล เพื่อให้เป็นช่วงอายุถัดจากช่วงอายุชิบาเนียน (เดิมชื่อช่วงอายุไพลสโตซีนตอนกลาง) ที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการไว้แล้ว และเป็นช่วงอายุก่อนหน้าช่วงอายุกรีนแลนเดียนที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการไว้แล้วเช่นกัน[1] จุดเริ่มต้นโดยประมาณของช่วงอายุนี้คือจุดเริ่มต้นของช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งเอเมียน หรือหินกึ่งช่วงอายุไอโซโทปทะเล 5อี (Marine Isotope Stage 5) และดำรงอยู่ต่อเนื่องไปจนถึงการสิ้นสุดของยังเกอร์ดรายแอส เมื่อประมาณ 11,700 ปีก่อนเริ่มสมัยโฮโลซีน[2]ปัจจุบัน คำว่า ไพลสโตซีนตอนปลาย ถูกใช้เป็นชื่อชั่วคราวหรือ "กึ่งทางการ" โดยสหภาพธรณีวิทยาสากล (IUGS) แม้ว่าสามช่วงอายุที่เก่าที่สุดของสมัยไพลสโตซีน (ได้แก่ ช่วงอายุเจลาเซียน ช่วงอายุคาลาเบรียน และช่วงอายุชิบาเนียน) จะได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายนั้นยังไม่ได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการ ซึ่งอยู่ในคราวเดียวกันกับการพิจารณาการแบ่งย่อยแอนโทรโปซีนของสมัยโฮโลซีน[5]ลักษณะสำคัญของช่วงอายุนี้ คือ ยุคธารน้ำแข็ง เช่น ยุคธารน้ำแข็งเวือร์มในเทือกเขาแอลป์ของทวีปยุโรปจนถึง 14 ka (1.4 หมื่นปีก่อน) และยังเกอร์ดรายแอสที่เกิดขึ้นตามมาในภายหลัง มหาสัตวชาติหรือสัตว์ขนาดใหญ่จำนวนมากสูญพันธุ์ไปในช่วงอายุนี้ โดยเป็นกระแสที่ต่อเนื่องไปจนถึงสมัยโฮโลซีน ในแง่บรรพมานุษยวิทยา จะตรงกับระยะยุคหินเก่าบน (Upper Palaeolithic stage) ของพัฒนาการมนุษย์ ซึ่งรวมไปถึงการอพยพย้ายถิ่นและการสูญพันธุ์ของสปีชีส์มนุษย์โบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ในช่วงดังกล่าว

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย

หน่วยวิทยาการลำดับเวลา ช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหิน หินช่วงอายุ
คำนิยามขอบบน จุดสิ้นสุดของธารน้ำแข็งถอยกลับยังเกอร์ดรายแอส
ขอบบน GSSP แกนน้ำแข็งของ NGRIP2 กรีนแลนด์
75°06′00″N 42°19′12″W / 75.1000°N 42.3200°W / 75.1000; -42.3200
การใช้ช่วงเวลา ธรณีกาลของ ICS
การอนุมัติ GSSP 14 มิถุนายน 2561 (ในฐานะฐานของช่วงอายุกรีนแลนเดียน)[3][4]
คำนิยามขอบล่าง ไม่ได้กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ
ชื่อที่เสนอ ทารันเทียน (Tarantian)
แคนดิเดตคำนิยามขอบล่าง หินกึ่งช่วงอายุไอโซโทปทะเล 5อี
การใช้ระดับภาค ทั่วโลก (ICS)
ความเป็นทางการของชื่อ ไม่เป็นทางการ
เทห์วัตถุ โลก
ความเป็นทางการของช่วงกาล ทางการ

ใกล้เคียง

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ช่วงอายุปีอาเซนเซียน ช่วงอายุชิบาเนียน ช่วงอายุซานเคลียน ช่วงอายุเมฆาลายัน ช่วงอายุเจลาเซียน ช่วงอายุคาลาเบรียน ช่วงอายุนอร์ทกริปเปียน ช่วงอายุกรีนแลนเดียน ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย http://www.ancient-wisdom.com/francelascaux.htm http://www.mnsu.edu/emuseum/prehistory/egypt/histo... http://people.oregonstate.edu/~carlsand/carlson_en... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17600185 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19144388 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23344358 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25831543 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27638208 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27813680 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4394292