ซีแนปซิด
ซีแนปซิด

ซีแนปซิด

เธอรอปซิดา ซีลีย์, 1895[1]ซีแนปซิด (อังกฤษ: Synapsids) เป็นกลุ่มของสัตว์ที่รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและสัตว์อื่นทุกชนิดที่ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมากกว่าสมาชิกอื่นในเคลดแอมนิโอตาอย่างสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก[2] สัตว์จำพวกซีแนปซิดสามารถจำแนกออกจากแอมนิโอตอื่นได้โดยง่ายด้วยการมีช่องเปิดของกระดูกขมับ ซึ่งเป็นช่องเปิดใต้เพดานกะโหลกศีรษะด้านหลังดวงตาแต่ละข้าง และเหลือแต่โค้งกระดูกอยู่ข้างใต้ของช่องเปิดเหล่านั้น เอกลักษณ์ดังกล่าวเป็นที่มาของชื่อเคลด[3] ซีแนปซิดเริ่มแรกนั้นมักเรียกกันว่าเป็นพีลีโคซอร์หรือไซแนปซิดเกรดพีลีโคซอร์ คำไม่เป็นทางการนี้ประกอบด้วยไซแนปซิดทั้งหมดที่ไม่เป็นเธอแรปซิด ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวของสัตว์คล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่พัฒนามากกว่า ไซแนปซิดที่ไม่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมได้รับการบรรยายว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในระบบการจำแนกชั้นดั้งเดิม แต่ไม่มีการใช้ศัพท์ที่อาจทำให้เข้าใจผิดดังกล่าวแล้ว[4][5] ปัจจุบันซีแนปซิดหมายถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมต้นกำเนิดหรือโพรโต-แมเมิล[6] ซีแนปซิดวิวัฒนาการมาจากสัตว์ฐานจำพวกแอมนิโอต และเป็นหนึ่งในสองเคลดหลักของแอมนิโอต อีกเคลดหนึ่ง คือ ซอรอปซิดา ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์จำพวกสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ช่องเปิดของกระดูกขมับที่เป็นเอกลักษณ์พัฒนาขึ้นในบรรพบุรุษของไซแนปซิด ประมาณ 312 ล้านปีก่อน ช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัสซีแนปซิดเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกขนาดใหญ่ที่สุดในยุคเพอร์เมียน 299 ถึง 251 ล้านปีก่อน แม้ว่าช่วงสิ้นสุดยุคเพอร์เมียนจะมีแพเรอาซอร์ขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งที่มีขนาดใกล้เคียงก็ตาม จำนวนและความหลากหลายของซีแนปซิดถูกลดลงไปอย่างมากโดยเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก ในช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์สูญพันธุ์ดังกล่าว ซีแนปซิดรูปร่างเก่าทั้งหมด (คือพีลีโคซอร์) สูญพันธุ์ไปแล้ว แทนที่ด้วยสัตว์จำพวกเธอแรปซิดที่พัฒนามากกว่า แม้ว่าไดซีโนดอนต์และยูเธอริโอดอนต์ ซึ่งสัตว์กลุ่มหลังประกอบไปด้วยยูเธอโรเซฟาเลีย (เธอโรเซฟาเลีย) และอีพิซีโนดอนเทีย (ซีโนดอนเทีย) จะมีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสซิกในฐานะเธอแรปซิดที่เหลืออยู่เป็นกลุ่มสุดท้าย อาร์โคซอร์กลายเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกขนาดใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในยุคนี้ แต่ก็ยังมีซีแนปซิดขนาดใหญ่เหลืออยู่จำนวนหนึ่งอย่าง Lisowicia bojani ค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 โดยมีขนาดเท่าช้าง โพรไบโนเนเธีย ซึ่งรวมถึงเมอเมเลียฟอร์มิส เป็นซีแนปซิดกลุ่มสุดท้ายที่มีชีวิตรอดพ้นยุคไทรแอสซิก[7] หลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลิโอจีน ไซแนปซิดที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมก็มีความหลากหลายมากขึ้นอีกครั้งจนกลายเป็นสัตว์บกและสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดบนโลก