สำนักหรือทัศนะนิติศาสตร์อิสลาม ของ ซุนนี

ชะรีอะฮ์ (شريعة) หรือนิติบัญญัติอิสลามตามทัศนะของซุนนีนั้น มีพื้นฐานมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ (อิจย์มาอ์) มติฉันท์ของเหล่าผู้รู้ และกิยาส (การเปรียบเทียบกับบทบัญญัติที่มีอยู่แล้ว)นิกายซุนนีมีในอดีตมี 17 สำนัก แต่ได้สูญหายไปกับกาลเวลา ในปัจจุบันนิกายซุนนีมี 4 สำนัก ที่เป็นสำนักเกี่ยวกับฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ได้แก่

  1. ฮะนะฟี (ทัศนะของอะบูฮะนีฟะหฟิกฮ์ นุอฟิกฮ์มาน บินษาบิต) -
  2. มาลีกี (ทัศนะของมาลิก บินอะนัส)
  3. ชาฟีอี (ทัศนะของมุฮัมมัดมัด บินอิดริส อัชชาฟิอีย์) - ผู้ที่ยึดถือทัศนะนี้คือ คนส่วนใหญ่ในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
  4. ฮันบะลี (ทัศนะของท่านอะฮ์มัด บินฮันบัล)

ปัจจุบันมีอีกกลุ่มที่สำคัญคือ กลุ่มที่ไม่ได้ยึดถือหรือสังกัดตนอยู่ใน 4 กลุ่มข้างต้น แต่การวินิจฉัยหลักการศาสนาจะใช้วิธีศึกษาทัศนะของทั้ง 4 กลุ่มแล้ววิเคราะห์ดูว่าทัศนะใดที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยยึดอัลกุรอานและซุนนะฮฟิกฮ์เป็นธรรมนูญสำคัญในการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ในศาสนา