ประวัติการตีพิมพ์ ของ ซูเปอร์แมน

การออกแบบ

"เดอะ เรนจ์ออฟเดอะ ซูเปอร์-แมน"แฟนซีน โดยเจอร์รี่ ซีเกล (ม.ค. 1933)

เจอรี ชีเกล และ โจ ชูสเตอร์ ได้ทำการออกแบบตัวละครฝ่ายอธรรมที่มีลักษณะหัวล้าน ผู้ที่มีความสามารถใช้ พลังจิต เพื่อคุกคามโลก ในผลงานเรื่องสั้นที่ชื่อว่า "เดอะ เรนจ์ออฟเดอะ ซูเปอร์-แมน" ตีพิมพ์ในนิตยสาร "ไซน์ ฟิคชั่น" ฉบับที่ 3 โดยเป็นผลงานในรูปแบบแฟนซีน ออกจัดจำหน่ายในปี ค.ศ.1933[10] ซีเกลได้ทำการออกแบบตัวละครอีกตัวในปีถัดมา มีรูปแบบเป็นฮีโร่ที่มีลักษณะ อุปนิสัย เป็นผู้ผดุงความยุติธรรม ว่ากันว่าต้นแบบของซูเปอร์แมนนั้นคือ ดั๊กลาส แฟร์แบ๊งส์ ส่วนต้นแบบของ คลาร์ก เคนต์ บุคลิกของซูเปอร์แมนตอนใช้ชีวิตแบบคนทั่วๆไปนั้นก็คือ แฮโรลด์ ลอยด์.[11][12] กำกับดูแลเรื่องภาพวาดและลายเส้นโดยลี แอล แอบเนอร์และดิ๊ค เทรซี่ ทั้งชีเกลและชูสเตอร์ต้องใช้เวลาถึง 6 ปี ในการหาสำนักพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์เรื่อง เดอะ ซูเปอร์แมน ชีเกลและชูสเตอร์นั้นได้รับข้อเสนอจากคอนโซลิเดท บุ๊ค พับลิชชิ่งในการเป็นผู้จัดพิมพ์ โดยจะจัดพิมพ์ในรูปแบบของหนังสือการ์ตูนขาว-ดำจำนวน 48 หน้า ในนิตยสารดีแทคทิฟ แดน: ซีเคร็ท โอเปอเรทิฟ ฉบับที่ 48 แม้ว่าผลงานของทั้งคู่จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่าน แต่ผลพวงของปัญหาด้านการเงินทำให้ผลงานของทั้งคู่ต้องหยุดพิมพ์ ทำให้ชูสเตอร์เครียดและทำการเผาผลงานของตัวเองทุกหน้า ยกเว้นหน้าปกเท่านั้นที่รอดจากการเผาเนื่องจากชีเกลได้หยิบออกมาจากกองไฟได้ทันเวลา หลังจากนั้นชีเกลและชูสเตอร์ได้สร้างสรรค์ตัวละครชื่อ สแลม แบรดลีย์และได้นำผลงานเรื่องนี้ลงในนิตยสาร ดีแทคทิฟ คอมิคส์ ฉบับที่ 1 (มีนาคม ค.ศ.1937).[13]

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานชีเกลได้ติดต่อจ้างบรรดานักวาดภาพเพิ่มเช่น เจอร์ราร์ด โจนส์ ซึ่งตัวเจอร์ราร์ดเองนั้นเคยกล่าวว่า "ซูเปอร์แมนนั้นตามติดโจไปตลอดเวลา"[14] รวมถึง โทนี่ สโตร์บ, เมล เกรฟฟ์ และ รัซเซลล์ คีตัน ก็ได้รับการติดต่อเช่นกัน[14] โดยคีตันจะทำหน้าที่ดูแลเรื่องภาพวาดและลายเส้น ส่วนเนื้อเรื่องนั้นเป็นผลงานของชีเกลโดยมีเรื่องราวว่า ซูเปอร์แมนคือทารกผู้รอดชีวิตคนสุดท้ายของโลกและได้ถูกส่งตัวมาในช่วงเวลาปัจจุบัน โดยมี แซม และ มอลลี่ เคนต์ เป็นผู้พบเจอและเลี้ยงดู[15] อย่างไรก็ตาม คีตันก็มีปัญหาในการทำงานร่วมกับกับชีเกล และหลังจากนั้นไม่นาน เจอร์รี ชีเกลกับโจ ชูสเตอร์ ก็ได้กลับมาสร้างสรรค์ตัวละครตัวนี้ร่วมกันอีกครั้ง[14]

ทั้งคู่ได้เริ่มทำการออกแบบตัวละครใหม่อีกครั้ง ตัวละครที่ภายหลังจะกลายมาเป็นฮีโร่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับแรงบัลดาลใจในการออกแบบมาจากตัวละครในเทพนิยายอย่าง แซมชั่น และ เฮอร์คิวลิส,[16] ผู้ซึ่งต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและต้องเผชิญหน้ากับเหล่าทรราชย์ทั้งหลาย ในการออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับตัวละครนั้น ชีเกลได้กำหนดการออกแบบในครั้งนี้ไว้ว่า "ชุดของตัวละครนั้นน่าจะมีตัว S ใหญ่ๆบนหน้าอกและเป็นรูปทรงแหลม เราจะทำให้ตัวละครตัวนี้โดดเด่นและมีความสง่างามเท่าที่เราจะทำได้"[17] การออกแบบชุดของซูเปอร์แมนได้เค้าโครงมาจากตัวละครในนิตยสารที่มีชื่อว่า พัลพ์ แม็กกาซีน ซึ่งตัวละครนั้นคือ แฟลช กอร์ดอน,[18] ชายผู้แข็งแกร่งจากคณะละครสัตว์ที่ปรากฏตัวในชุดกางเกงขาสั้นแบบรัดรูป[17][19] อย่าไรก็ตามในการออกแบบรูปทรงแหลมในชุดของตัวละคร ถือว่าเป็นการออกแบบที่แตกต่างออกไปจากยุคสมัยแฟชั่น วิคตอเรีย ชุดแต่งกายของฮีโร่จากคณะละครสัตว์ผู้ซึ่งใส่เพียกางเกงรัดรูปเพียงตัวเดียวนั้นถือว่าเป็นต้นแบบชุดแต่งกายให้กับชุดฮีโร่มากมายในยุคต่อๆมา

ชื่อสถานที่และตัวละครในซูเปอร์แมนได้รับแรงบัลดาลใจมาจากภาพยนตร์หลายๆเรื่อง ชูสเตอร์กล่าวไว้ในปี ค.ศ.1983 ไว้ว่า "เจอร์รี่เป็นคนคิดชื่อเหล่านั้นทั้งหมด พวกเราเป็นแฟนพันธุ์แท้ของภาพยนตร์เลยละและเราได้นำชื่อพวกนักแสดงๆต่างที่ผ่านตาพวกเรามาใช้ในเนื้อเรื่องของเรา อย่างเช่น คลาร์ก เคนต์ ชื่อนี้มาจากชื่อของ คลาร์ก เกเบิล และ เคนต์ เทย์เลอร์และก็เมโทรโปลิสชื่อเมืองในซูเปอร์แมนที่ใช้การดำเนินเรื่องนั้น ก็มาจากภาพยนตร์ของ ฟริท์ส แลง [Metropolis, 1927] ที่พวกเรา2คนชื่นชอบ".[20]

พวกเขาได้ทำการขายผลงานให้กับสำนักพิมพ์ชื่อดังหลายสำนักพิมพ์เช่น เนชั่นแนล อัลไลน์ พับลิชชิ่งสำนักพิมพ์ในเครือของ มัลค่อม วีลเลอร์-นิโคลสัน ทั้งคู่ได้ทำการออกแบบตัวละครเพื่อนำไปใช้ในรูปแบบของหนังสือการ์ตูนที่มีขนาดความยาวของเรื่องมากกว่าการ์ตูนเรื่องใดๆในสมัยนั้น พวกเขาได้เสนอผลงานให้กับ แม็ก เกนส์ ซึ่งได้ยอมรับผลงานของพวกเขาทั้งสองและ ยูไนเต็ด ฟีเจอร์ ซินดิเคทก็ดูเหมือนว่าจะให้ความสนใจต่อผลงานชิ้นนี้แต่สุดท้ายก็ได้ส่งจดหมายมาเพื่อทำการปฏิเสธไปในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1937 อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์อย่าง เลส แดเนี่ยลส์ได้แสดงความคิดเห็นว่า "แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดเรื่องที่พลิกความคาดหมายแบบนี้ขึ้น" แม็ก เกนส์ได้ยุติบทบาทในตำแหน่งหัวหน้าด้านกำกับศิลป์ของสำนักพิมพ์ วีลเลอร์-นิโคลสันในนิตยสารชุดใหม่ของสำนักพิมพ์ซึ่งก็คือ แอคชั่น คอมิคส์ วิน ซัลลิแวน บรรณาธิการของนิตยสารนั้นต้องการให้นำช่องการ์ตูนแบบเก่านำกลับมาใช้อีกครั้ง จึงได้ขอให้ทั้งคู่ออกแบบช่องการ์ตูนเป็น 8 ช่องต่อ 1 หน้ากระดาษ ถึงอย่างนั้น ชีเกล และ ชูสเตอร์ ก็ไม่ได้สนใจต่อคำพูดของวิน ซัลลิแวนทั้งคู่ยังคงใช้ความคิดและประสบการณ์ของตัวเองในการออกแบบ หน้ากระดาษ โดยชีเกลจะเป็นคนกำหนดรูปภาพที่ใช้ในการขึ้นปกของนิตยสาร แอคชั่น คอมิคส์ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน1938)ซึ่งเป็นการปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของซูเปอร์แมน[21] และในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 2010 ได้มีการจัดประมูลนิตยสาร แอคชั่น คอมิคส์ ฉบับที่ 1ขึ้น ซึ่งถูกทำการประมูลไปด้วยราคา $1,000,000.[22]

ชีเกลอาจจะได้รับแรงบัลดาลใจในการออกแบบตัวละคร ซูเปอร์แมน ว่ามาจากการเสียชีวิตของพ่อเขา มิทเชล ชีเกลย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำธุรกิจเสื้อผ้า ในเมืองคลีฟส์แลนด์ ใกล้กับฝั่งตะวันออก เขาเสียชีวิตด้วยฝีมือของโจรที่เข้ามาปล้นร้านของเขาในปีค.ศ.1932 หนึ่งปีก่อนที่ซูเปอร์แมนจะถือกำเนิดขึ้นมา แม้ว่าชีเกลจะไม่เคยพูดถึงการตายของพ่อเขาในการให้สัมภาษณ์ แต่ เจอร์ราร์ด โจนส์ และ แบรด เมลท์เซอร์ เชื่อว่าเหตุการณ์นี้ต้องมีผลต่อผลงานของชีเกล โจนส์ได้กล่าวว่า "มันต้องมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน" ส่วนเมลท์เซอร์ ก็ได้แสดงความคิดเห็นว่า "มันต้องมีส่วนที่เชื่อมโยงกันแน่ เฉกเช่นการสูญเสียพ่อบังเกิดเกล้าของซูเปอร์แมน" "พ่อของคุณต้องตายเพราะการก่ออาชากรรม และคุณได้สร้างยอดมนุษย์ที่สุดยอดขึ้นมาเพื่อปกป้องโลก ผมรู้สึกเศร้าใจกับชีเกลแต่นี่แหละที่มาของซูเปอร์แมน "[23]

การจัดพิมพ์

ซูเปอร์แมนได้ทำการเปิดตัวเป็นครั้งแรกในนิตยสาร แอคชั่น คอมิคส์ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน ค.ศ.1938); วาดภาพปก โดย โจ ชูสเตอร์

ซูเปอร์แมนปรากฏตัวครั้งแรกในนิตยสาร แอคชั่น คอมิคส์ เล่มที่ 1 จัดพิมพ์วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1938 (จัดจำหน่าย มิถุนายน ค.ศ. 1938)[24] ในปี ค.ศ. 1939 ได้มีการเปิดตัว ซูเปอร์แมนฉบับรวมเล่ม โดยเป็นการรวบรวมตอนที่ตีพิมพ์จากนิตยสาร "แอคชั่น คอมิคส์" ส่งผลให้ยอดขายของหนังสือนั้นถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก[25] จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1939 ซูเปอร์แมนถูกนำไปตีพิมพ์ในนิตยสาร นิว ยอร์ค เวิลด์ แฟร์ คอมิคส์ ที่ภายหลังในหน้าร้อนในปี ค.ศ. 1942 ได้ทำการเปลี่ยนชื่อมาเป็น เวิลด์ ฟินเนท คอมิคส์ รวมถึงในฉบับที่ 7 ของ ออล สตาร์ คอมิคส์ นอกจากนั้นซูเปอร์แมนยังออกมาปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในบทบาทของสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งกลุ่มจัสทิส โซไซตี้ออฟอเมริกาอีกด้วย

ในเริ่มแรก เจอร์รี ชีเกลและโจ ชูสเตอร์ จะเป็นคนจัดการและดูแลเนื้อเรื่องและภาพวาดก่อนนำไปตีพิมพ์ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชูสเตอร์เริ่มมีอาการผิดปกติทางสายตาและประกอบกับการที่ตัวละครในเนื้อเรื่องที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การทำงานต้องหนักขึ้นไปด้วย สิ่งนี้ทำให้ชูสเตอร์ตัดสินใจสร้างสตูดิโอขึ้นมา เพื่อใช้ผลิตผลงานทางด้านศิลป์โดยเฉพาะ[25] และเขายังยืนยันว่าจะใช้สตูดิโอแห่งนี้วาดใบหน้าทุกๆหน้าของซูเปอร์แมน ส่วนภายนอกสตูดิโอนั้น แจ๊ค เบิร์นลีย์ เริ่มเข้ามาช่วยในการทำหน้าปกและเนื้อเรื่อง[26] จนถึงปี ค.ศ. 1941 นักวาดภาพที่มีชื่อว่า เฟร็ด เรย์ ก็ได้เข้ามาร่วมในการออกแบบหน้าปกของซูเปอร์แมนในบางฉบับ เช่น ซูเปอร์แมน ฉบับที่ 14 (กุมภาพันธ์ ค.ศ.1942) ที่ภายหลังกลายเป็นฉบับที่ทรงคุณค่าและมีการพิมพ์ซ้ำอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาเวย์ บอร์ริ่งจึงได้เข้ามาทำงานในสตูดิโอของชูสเตอร์เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมของสตูดิโอที่จะต้องร่วมงานกับดีซีในปี ค.ศ. 1942 โดยจะต้องจัดพิมพ์ผลงานลงในนิตยสาร ซูเปอร์แมน และ แอคชั่น คอมิคส์[27] หลังจากนั้นอัล พลาสติโน่ ได้ถูกจ้างเข้ามาเพื่อทำงานต่อจากลายเส้นของ เวย์ บอร์ริ่ง แต่ท้ายที่สุดแล้วพลาสติโน่ได้สร้างลายเส้นในแบบของตัวเองขึ้นมาและกลายมาเป็นหนึ่งในนักวาดที่ดีที่สุดในยุค โกลด์ แอนด์ ซิลเวอร์ เอจ คอมิคส์[28]

ในปี ค.ศ.1939 ได้มีทีมงานเข้ามาช่วยแต่งเนื้อเรื่องการผจญภัยให้กับซูเปอร์แมนได้แก่ วิทนีย์ เอลล์เวิร์ธ, มอร์ท ไวซิงเกอร์ และ แจ๊ค ชิฟฟ์ ซึ่งทั้งหมดได้ถูกจ้างมาโดย วิน ซัลลิแวน พร้อมกับกองบรรณาธิการชุดใหม่ได้แก่ เอ็ดมอน แฮมิลตัน, แมนลี่ เวด เวล์แมน และ อัลเฟรด เบสเตอร์ โดยผู้คนเหล่านี้ล้วนเป็นนักเขียนนิยายเชิงวิทยาศาสตร์[29]

ในปี ค.ศ.1943 เจอร์รี ชีเกล ถูกเชิญให้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองกองทัพอยู่บ่อยครั้งส่งผลให้ผลงานของชีเกลนั้นมีจำนวนลดลง ดอน คาร์เมร่อน และ อัลวิน ชวาร์ท จึงได้เข้าร่วมสู่ทีมเขียนบทโดยชวาร์ทนั้นจะทำงานร่วมกับ เวย์ บอร์ริ่งในการผลิต ซูเปอร์แมน ในหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1939 โดยชีเกลและชูสเตอร์[27]

ในปี ค.ศ. 1945, ซูเปอร์บอย ได้ปรากฏตัวครั้งแรกในนิตยสาร มอร์ ฟัน คอมิคส์ ฉบับที่ 101 หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1946 ได้ย้ายมาตีพิมพ์ในนิตยสาร แอดเวนเจอร์ คอมิคส์ โดยใช้ชื่อเรื่องว่า ซูเปอร์บอยและได้ทำการรวมเล่มในปี ค.ศ. 1949 จนกระทั่งในช่วงปี ค.ศ.1950 ได้มีการเปิดตัวผลงานชุดใหม่ของซูเปอร์แมนเรื่องซูเปอร์แมน พอล จิมมี่ โอลเซ่น (ในปี ค.ศ. 1954) และ ซูเปอร์แมน เกิร์ลเฟรนด์ ลูอิส เลน (ในปี ค.ศ. 1958) ต่อมาในปี ค.ศ.1974 ทั้ง2เรื่องได้ถูกรวมเข้าไปอยู่ในชุดซีรีส์ของ ซูเปอร์แมน แฟมิลี่ อย่างไรก็ตามซีรีส์ชุดนี้ถูกทำการยกเลิกไปในปี ค.ศ.1982 ส่วนนิตยสาร ดีซีคอมิกส์ พรีเซนท์ ที่ทำการตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1978 ถึงปี ค.ศ.1986 จะทำการเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการรวมตัวของซูเปอร์แมนและตัวละครอื่นๆใน ดีซี ยูนิเวอร์ส.

ในปี ค.ศ.1986 มีการตัดสินใจเพื่อสร้างเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างซูเปอร์แมนกับตัวละครอื่นๆของดีซีในซีรีส์เรื่องสั่นที่มีชื่อว่า คริซิส ออน อินฟิไนท์เค้าโครงมาจากผลงานเรื่อง "วอทเอเวอร์ แฮพเพ่น ทู เดอะ แมนออฟทูมอร์โรว์"ซึ่งมีจำนวน 2 ตอนเขียนบทโดย อลัน มัวร์ ภาพประกอบโดยเคิร์ท สวอน, จอร์จ เปเรส และ เคิร์ท ชาฟเฟนเบอร์เกอร์.เรื่องราวชุดนี้ได้ทำการตีพิมพ์ในนิตยสาร ซูเปอร์แมน ฉบับที่ 423 และนิตยสารแอคชั่น คอมิคส์ ฉบับที่ 583 ซึ่งเลส แดเนี่ยลส์ได้ให้ความเห็นว่า "แฟนๆของซูเปอร์แมนที่พลาดผลงานชิ้นนี้ ความรู้สึกของพวกเขาจะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองพลาดผลงานชิ้นสุดท้ายของซูเปอร์แมนก็เป็นได้ "[30]

ซูเปอร์แมนได้ถูกนำกลับมาทำใหม่อีกครั้งโดยนักเขียนและนักวาดภาพที่ชื่อว่า จอห์น ไบรอัน ในเนื้อเรื่องที่ชื่อว่าเดอะ แมน ออน สตีล (ค.ศ. 1986) ในปี ค.ศ. 1986 ได้ทำการยกเลิกการจัดพิมพ์นิตยสาร เวิลด์ ไฟเนท คอมิคส์ และ ได้ทำการเปลี่ยนชื่อนิตยสารของซูเปอร์แมนเป็น เดอะ แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน นิตยสารซูเปอร์แมนในรูปแบบที่ 2 โดยได้เริ่มจัดจำหน่ายในปี ค.ศ.1987 เรื่อยมาจนกระทั่งสิ้นสุดในปี ค.ศ.2006 หลังจากที่จบลง เดอะ แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ได้กลับมาตีพิมพ์อีกครั้งในนิตยสาร ซูเปอร์แมน ที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน: เดอะ แมน ออน สตีล ที่เริ่มจัดจำหน่ายในปี ค.ศ.1991 จนถึงปี ค.ศ.2003 ในขณะที่นิตยสารไตรมาสอย่าง ซูเปอร์แมน: เดอะ แมนออฟทูมอร์โรว์ นั้นจัดจำหน่ายในปี ค.ศ.1995 จนถึงปี ค.ศ.1999 และในปี ค.ศ.2003 นิตยสาร ซูเปอร์แมน/แบทแมน จึงเริ่มทำการจัดจำหน่ายและสิ้นสุดลงในปี ค.ศ.2011 เช่นเดียวกับซีรีส์หายากที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน: เบิร์ธไรท์ ส่วนเรื่อง ออล-สตาร์ ซูเปอร์แมน นั้นเริ่มจัดพิมพ์ในปี ค.ศ. 2005 และเรื่อง ซูเปอร์แมน คอนฟิเดนเชี่ยล ก็ได้เริ่มตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2006 (ภายหลังถูกยกเลิกไปในปี ค.ศ. 2008) ซูเปอร์แมนยังได้ถูกนำไปทำเป็นซีรีส์การ์ตูนทางโทรทัศน์ที่ดัดแปลงเนื้อเรื่องมาจากหนังสือการ์ตูนในชื่อเรื่องว่า ซูเปอร์แมน แอดเวนเจอร์ (ค.ศ.1996–ค.ศ.2002), จัสติสลีก แอดเวนเจอร์, จัสติสลีก อันลิมิต (ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2008) และ เดอะ ลีเจียนออฟซูเปอร์-ฮีโร่ อิน เดอะ 31 เซนจูรี่ (ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2008)

ในปี ค.ศ 2011 ดีซีคอมิกส์ได้มีการนำซูเปอร์แมนกลับมาทำใหม่อีกครั้ง โดยใช้เรื่องมาจาก เรื่องราวทั้งหมด.[31] ที่เคยจัดทำในนิตยสารซูเปอร์แมน และ แอคชั่น คอมิคส์ 2 นิตยสารที่เคยถูกยกเลิกไปได้ถูกนำกลับมาทำใหม่อีกครั้งโดยเริ่มตั้งแต่เล่มที่1[32] เครื่องแต่งกายของซูเปอร์แมนได้ถูกทำการออกแบบใหม่ให้ดูแข็งแกร่งขึ้นและยกเลิกกางเกงสีแดงที่สวมไว้นอกเครื่องแบบ

ในปัจจุบัน นิตยสารที่เกี่ยวกับซูเปอร์แมนที่จัดพิมพ์อยู่นั้นได้แก่ นิตยสาร ซูเปอร์แมน, แอคชั่น คอมิคส์ และ จัสติสลีกนอกจากนี้ซูเปอร์แมนยังได้ไปปรากฏตัวบ่อยๆในบทดารารับเชิญในนิตยสารเรื่องอื่นๆของดีซีอีกด้วย

อิทธิพล

เรื่องราวของซูเปอร์แมนได้รับอิทธิพลมาจากสภาพของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสังคมอเมริกา จะเห็นได้ชัดเจนจากจากมุมของของผู้สร้างตัวละครทั้ง 2 คน ชูสเตอร์และชีเกลที่ได้สะท้อนออกมาจากเนื้อเรื่องช่วงต่างๆของซูเปอร์แมน ซูเปอร์แมนนั้นจะมีบทบาทเหมือนตัวแทนของผู้คนในสังคมที่ต้องเผชิญกับพวกนักธุรกิจที่เห็นแก่ตัวและนักการเมืองจอมปลอมที่พยายามจะเข้ามาเอาเปรียบประชาชนด้วยวิธีต่างๆ[33] ทฤษฎีนี้ได้รับความเห็นชอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือการ์ตูนอย่าง โรเจอร์ ซาบิน ซึ่งมันคือสิ่งที่เห็นได้จาก "อุดมการณ์เสรีนิยมของ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ที่เรียกว่า นโยบายเศรษฐกิจใหม่" โดย ชูสเตอร์และชีเกลเริ่มทำให้ให้ซูเปอร์แมนเหมือนกับวีรบุรุษที่สามารถเผชิญหน้ากับปัญหาทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้[34] โดยเรื่องราวของซูเปอร์แมนในรายการวิทยุนั้นตัวซูเปอร์แมนต้องประสบกับอุปสรรคต่างๆและเผชิญหน้ากับองค์กรที่คล้ายๆกับ เค.เค.เค(องค์กรเหยียดสีผิว) ในซีรีส์เรื่อง เดอะ แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ออกอากาศในปี ค.ศ.1946.[35][36] ชีเกลและชูสเตอร์ได้นำรูปแบบความเป็นอยู่ของเด็กผู้อพยพชาวยิวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อเรื่องด้วย แต่ทิโมธี, แอรอน และ พีวีย์ ได้ทำการแย้งขึ้นมาว่า "เรื่องของพวกผู้อพยพนั้นควรจะจำกัดขอบเขตการออกแบบให้อยู่ในเฉพาะประวัติศาสตร์ของอเมริกาเท่านั้นเพราะนี่คือเรื่องราวของคนอเมริกา" พีวีย์รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะบ่งบอกถึงตัวตนของชาวอเมริกัน [37]

ชีเกลได้นำเอาเหล่าวีรบุรุษในเทพนิยายจากหลายๆเรื่องเป็นแนวทางในการออกแบบตัวละคร เช่น เฮอร์คิวลิสและแซมซั่น[17] สก็อต บูแคทมันได้ให้ความเห็นว่าตัวละครตัวนี้คือ "มีบุคลิกส่วนหนึ่งเป็นของบุคคลที่ยิ่งใหญ่อย่าง ลินด์เบิร์ก ... (และ) อาจรวมถึง เบ๊บ รูทธ" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวละครตัวนี้คือตัวแทนของชาวอเมริกันที่จะมาสร้างเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ผ่านร่างกายที่ทรงพลัง ... ที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหนบนโลกนี้มาก่อน[38] นอกจากนี้ชีเกลและชูสเตอร์ยังได้ทำการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ มาเป็นแนวทางในการสร้างผลงานจากนิยายแนววิทยาศาสตร์ที่ทั้งคู่ชื่นชอบ[10] บางทีสิ่งที่มีผลต่อการทำงานของทั้งคู่นั้นอาจจะเป็นตัวละครที่ชื่อว่า ฮิวโก้ แดนเนอร์ ซึ่งเป็นตัวละครเอกใน แกลดิเอเตอร์ นวนิยายในปี ค.ศ. 1930 แต่งโดย ฟิลลิป ไวลี ผู้ซึ่งมีพลังคล้ายๆกับซูเปอร์แมนในช่วงแรก [39]

ผู้ออกแบบและเชี่ยวชาญด้านการ์ตูน จิม สเตอรันโก ได้กล่าวถึงวีรบุรุษจากนิยายอย่าง ด๊อค ซาเวจ ตัวละครอีกตัวที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างซูเปอร์แมนโดยสังเกตจากความคล้ายกันระหว่างลายเส้นของชูสเตอร์กับรูปภาพของด๊อค ซาเวจ จนอาจกล่าวได้ว่า" ซูเปอร์แมนนั้นมีความคล้ายคลึงับวีรบุรุษร่างยักษ์อย่างด๊อค ซาเวจ".[40] แต่ สเตอรันโกก็ยังสรุปไม่ได้ว่ารูปแบบตัวละครจากในนิยายนั้นจะถูกใช้เป็นประเด็นหลักในการออกแบบซูเปอร์แมน "การออกแบบซูเปอร์แมนของชีเกลนั้นได้กำหนดรูปแบบไว้อยู่ 3 รูปแบบที่แตกต่างกันนั่นคือ เป็นสิ่งมีชีวิตจากนอกโลก, เป็นยอดมนุษย์หรือไม่ก็เป็นทั้งสองสิ่งนี้ ชีเกลได้กำหนดความสามารถพิเศษโดยใช้องค์ประกอบจากรูปแบบทั้ง 3 รูปแบบและนำแนวคิดเหล่านี้มาใช้รวมกันในการผลิตผลงาน ส่วนแรงบัลดาลใจของชีเกลนะหรือ แน่นอน!ต้องมาจากนิยายอยู่แล้ว ",[40] ส่วนนิยายเรื่องอื่นๆที่น่าจะมีอิทธิพลต่อซูเปอร์แมนนั้นเป็นผลงานของ "จอห์น ดับเบิ้ลยู แคมป์เบล ชื่อเรื่องว่า อาร์น มุนโร ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชายผู้สืบเชื้อสายของมนุษย์โลกผู้ที่เติบโตบนดาวพฤหัส แต่เนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองดวงดาวส่งผลให้ อาร์น มุนโร มีพละกำลังมหาศาล และได้สร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่บนดาวพฤหัสซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งที่เหมือนกับซูเปอร์แมนบนโลก

เนื่องจากชีเกลและชูสเตอร์ต่างก็เป็นชาวยิว ผู้เขียนบทความทางศาสนาและนักวิชาการชื่อดังบางคนอย่างเช่น แรบบิ ซิมชา เวนสไตน์และนักเขียนนิยายชาวอังกฤษ ฮาวเวอร์ด จาค๊อบสัน ต่างเห็นพ้องว่า ซูเปอร์แมนนั้นได้รับอิทธิพลในการออกแบบมาจาก โมเสส,[41][42] และองค์ประกอบอื่นๆของชาวยิว เช่น ชื่อภาษาคริปตอนของซูเปอร์แมนนั้นคือ "คาล์-เอล" นั้นคล้ายกับคำใน ภาษาฮีบรู קל-אל, ซึ่งมีความหมายว่า "เสียงแห่งพระเจ้า".[43] คำลงท้าย "เอล", หมายความว่า "(แห่ง) พระเจ้า"[44] ซึ่งจะพบได้จากชื่อของเหล่าทวยเทพ (ยกตัวอย่างเช่น Gabriel, Ariel) เหล่าเทพผู้คอยช่วยเหลือมวลมนุษย์ด้วยพลังแห่งความดี ส่วนในตำนานของชาวยิวที่เกี่ยวข้องกับ โกเลม ก็มีการกล่าวถึงในแง่ดี[45] โกเลม หนึ่งในตำนานที่ถูสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องและดูแลชาวยิวที่โดนกดขี่ในยุคศตวรรษที่ 16 ณ กรุงปราก ที่ภายหลังได้กลายมาเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมที่สำคัญของยุโรปหลังจากต้องทนทุกข์ทรมานจากการกระทำของพวก นาซี ในช่วงปี ค.ศ. 1930 และ 1940 ซูเปอร์แมนมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับพระเยซู ผู้ที่ได้ทำการช่วยเหลือมนุษย์ชาติ[34][42][45][46] นอกจากนี้ชื่อสกุล เคนต์ นั้นในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 เป็นที่ฟังดูล้าสมัยไม่เหมือนกับชื่อ "โคเชน" ซึ่งจะพบบ่อยในสังคมอเมริกา

เรื่องราวของซูเปอร์แมนนั้นได้ถูกยกย่องเป็นครั้งแรกจากฟรีดริช นีทเชอแต่ก็ยังไม่มีสิ่งใดยืนยันได้ว่านีทเชอนั้นมีบทบาทสำคัญในการให้แนวคิดแก่ชีเกลและชูสเตอร์ [42] เลส แดเนียลส์ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า "ชีเกลได้นำเอาส่วนหนึ่งของเรื่องราวมาจากนิยายแนววิทยาศาสตร์หลายๆเรื่องมันเหมือนกับว่าเขาได้ทำการจ้างนักเขียนมาจำนวนมากโดยที่เขาไม่ต้องกังวลกับค่าจ้างของพวกนักเขียนเหล่านั้น คุณจะสังเกตได้ว่าเรื่องราวของเขาจะถูกจดจำโดยผู้คนหลายร้อยล้านคนแต่ในจำนวนนั้นแทบจะไม่มีคนที่จะจะรู้จักนีทเชอเลย"[17] ส่วนข้อโต้แย้งอื่นๆเกี่ยวกับแนวคิดของชีเกลและชูสเตอร์ บ้างก็ว่า "คุณอาจจะไม่ทราบมาก่อนว่าแนวความคิดของพวกเขานั้นมาจากพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติของฮิตเลอร์ แต่แนวความคิดนี้ก็เป็นแค่เรื่องที่พูดคุยกันลอยๆเท่านั้น"[47] เย็ท จาค๊อบสันและคนอื่นๆชี้ไปที่ความเป็นไปได้หลายๆอย่างที่ซูเปอร์แมนและวีรบุรุษอย่างอูเบอร์เมนเชอร์ ที่อยู่กันคนละฟากของโลกจะมีความเกี่ยวข้องกัน[41] นีทเชอได้สร้างสรรค์ตัวละคร อูเบอร์เมนเชอร์ ผู้ซึ่งมีความสามารถเหนือคนธรรมดาทั่วไป,มีคุณธรรม และมีชีวิตอย่างปกติสุขในขณะที่อยู่กับผู้คนทั่วไป ซูเปอร์แมนนั้นได้ความสามารถมาจากพลังอันแข็งแกร่งของเผ่าพันธุ์จากนอกโลกและเลือกที่จะมาใช้ชีวิตอย่างมนุษย์โลก นีทเชอได้ใช้จินตนาการในการสร้างตัวละครที่ดีที่สุดของตัวเองและกลายมาเป็นแนวทางให้กับตัวละครที่ดีที่สุดของชีเกลและชูสเตอร์ซึ่งมีความสมบูรณ์แบบยิ่งกว่า[48]

ชีเกลและชูสเตอร์ทำการเลือกต้นแบบของตัวละครที่จะนำมาใช้ในผลงานของพวกเขา ทั้งคู่ได้อ่านหนังสือจำนวนมาก และพวกเขายังชอบนิยายแนววิทยาศาสตร์เหมือนกันซึ่งมันช่วยให้ทั้งคู่สนิทกันยิ่งขึ้นไปอีก ชีเกลใช้ตัวละคร จอห์น คาร์เตอร์ เข้ามาเป็นต้นแบบในการดำเนินเรื่อง "คาร์เตอร์นั้นมีความสามารถในการพุ่งทะยานด้วยความเร็วสูงเนื่องจากดาวอังคารนั้นมีขนาดเล็กกว่าโลกและเขายังมีความแข็งแกร่งอย่างมาก ผมจึงออกแบบให้ดาวคริปตันนั้นเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่ใหญ่กว่าโลกมากๆ [20] ผลงานชิ้นนี้ยังมีเค้าโครงมาจากการ์ตูนในวัยเด็กที่พวกเขาชอบตัดเก็บออกมาจากหนังสือพิมพ์ เรื่อง ลิตเติ้ล นีโม แต่งโดย วินเซอร์ แม็คเคย์ การ์ตูนที่ทั้งสองใช้เป็นแหล่งกำเนิดของจินตนาการ[49] ชูสเตอร์ได้ดูผลงานจากนักวาดภาพที่มีชื่อเสียงจำนวนมากเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาลายเส้นของตัวเอง แต่ไม่มีใครจะมีอิทธิพลต่อลายเส้นของชูสเตอร์ไปมากกว่า "อเล็กซ์ เรย์มอนด์ และ เบิร์น โฮกราธ ซึ่งเป็นคนที่ผมยกย่อง อาจรวมถึง มิลท์ คานิฟฟ์, ฮัล ฟอสเตอร์, และ รอย เครน แต่ถ้าเป็นผลงานทางภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลต่องานของเรามากที่สุดก็ต้องเป็นภาพยนตร์ของ ดั๊กลาส แฟร์แบงส์ ซีเนียร์"[50] โดยแฟร์แบงส์รับบทเป็น โรบิน ฮู้ด ซึ่งเราใช้เรื่องนี้เป็นแบบอย่างในการทำให้ซูเปอร์แมนได้ปรากฏตัวในแบบฉบับภาพยนตร์ [51] ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังใช้เป็นแบบในการดำเนินเรื่องและการจัดวางหน้ากระดาษอีกด้วย[52] ในขณะที่ชื่อเมือง เมโทรโพลิสนั้นได้ชื่อนี้มาจากภาพยนตร์ของ ฟริท์ซ แลง โมชั่น พิคเจอร์ เรื่อง เมโทรโพลิส.[20]

ลิขสิทธิ์การครอบครอง

แต่เดิมนั้นผลงานของซูเปอร์แมนนั้นเป็นของนิตยสาร แอคชั่น คอมิคส์ โดยชีเกลและชูสเตอร์ได้ตกลงทำสัญญาการจัดพิมพ์เรื่องราว ตัวละคร และสิ่งของต่างภายใต้แบรนด์ของซูเปอร์แมน โดยทั้งคู่ได้ค่าทำสัญญาเป็นเงิน $130 [53][54] หนังสือพิมพ์ เดอะ แซทเทอร์เดย์ อีฟนิ่ง โพสท์ ได้ทำการรายงานในปี ค.ศ.1940 เอาไว้ว่าทั้งคู่ได้ค่าตอบแทนประมาณ $75,000 ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนที่น้อยมากถ้าเทียบกับรายได้ของนิตยสารที่มีจำนวนผู้อ่านเป็นล้านคนที่ติดตามอ่านเรื่องซูเปอร์แมน [55] ชีเกลและชูสเตอร์จึงได้ทำการต่อรองเรื่องรายได้ในสัญญาฉบับใหม่แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าจนในปี ค.ศ. 1947 ชีเกลและชูสเตอร์ ได้ทำการยื่นฟ้องร้องเพื่อที่จะทำให้สัญญาที่พวกเขาเคยทำไว้ในปี ค.ศ.1938 กลายเป็นโมฆะ และทำสัญญาลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ให้กับผลงานเรื่องซูเปอร์แมน นอกจากนั้นทั้งคู่ยังยื่นฟ้องต่อสำนักพิมพ์ในปีเดียวกันเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของซูเปอร์บอย ซึ่งพวกเขาให้เหตุผลว่าเป็นตัวละครที่พวกเขาสร้างแยกออกมาซึ่งถูกทางสำนักพิมพ์นำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต หลังจากเหตุการณ์นั้นทั้งคู่ถูกไล่ออกจากสำนักพิมพ์ทันทีแต่ทางสำนักพิมพ์ก็ยังเก็บผลงานต่างๆของทั้งคู่เอาไว้ ในที่สุดการต่อสู้ทางกฎหมายก็จบลงในปี ค.ศ.1948 เมื่อศาลแห่งนิวยอร์กได้ตัดสินให้ยึดถือสัญญาที่เคยทำไว้ในปี ค.ศ.1938 อย่างไรก็ตามการพิจารณาคดีจากผู้พิพากษา เจ แอดดิสัน ยัง ทั้งคู่ก็ยังได้รับข่าวดีอยู่บ้างในลิขสิทธิ์การครอบครองซูเปอร์บอย หลังจาก 1เดือนในการตัดสินคดีการครอบครองลิขสิทธิ์ในซูเปอร์บอยทั้งสองฝ่ายก็หาข้อยุติได้ โดยสำนักพิมพ์จะทำการจ่ายเงินให้กับชีเกลและชูสเตอร์เป็นจำนวนราว $94,000 สำหรับค่าลิขสิทธิ์ที่ถือครองผลงานเรื่อง ซูเปอร์บอย ส่วนสถานะของทั้งคู่ในสำนักพิมพ์ยังคงเป็นที่ยอมรับในฐานะนักเขียนผู้สร้างผลงานเรื่องซูเปอร์แมน แต่ทางดีซีนั้นก็ปฏิเสธที่จะรับทั้งคู่กลับเข้าไปทำงานอีกครั้ง [56]

เจอร์รี่ ซีเกล พร้อมกับ โจแอนนา(ภรรยา)และ ลอร์ร่า(ลูกสาว) ในปี ค.ศ.1976 โดยโจแอนนาและลอร์ร่า ซีเกล ได้ทำสัญญาในการรักษาผลประโยชน์ของซีเกลในการครอบครองลิขสิทธิ์ของซูเปอร์แมนในปีค.ศ.1999

ในปี ค.ศ.1973 ชีเกลและชูสเตอร์ ต้องมีเรื่องในการฟ้องร้องลิขสิทธิ์เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของซูเปอร์แมน ซึ่งครั้งนี้เป็นผลมาจาก กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ชื่อว่า กฎหมายว่าด้วยการครอบครองลิขสิทธิ์ ฉบับปีค.ศ.1909 กฎหมายที่ทำให้มีสิทธิ์ในการครอบครองผลงานได้ 28 ปี แต่สามารถทำการขยายสัญญาได้ในกรณีพิเศษออกไปอีก 28 ปี ซึ่งข้อโต้แย้งของทั้งคู่นั้นต้องการให้ดีซีถือลิขสิทธิ์นี้ได้แค่ 28 ปีเท่านั้น ซึ่งครั้งนี้ทั้งคู่แพ้คดีทั้ง 2 ศาลไม่ว่าจะเป็น ศาลแขวง ได้พิจารณาคดีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1973 และ ศาลอุทธรณ์ ได้พิจารณาคดีเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1974[57][58]

ในปี ค.ศ.1975 หลังจากมีข่าวรายงานว่าทั้งคู่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างยากลำบากองค์กรวอร์เนอร์ คอมมูนิเคชั่นจึงได้มอบเงินบำนาญตลอดชีพให้กับชีเกลและชูสเตอร์เป็นจำนวนเงิน $20,000 ต่อปีรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ เจย์ เอ็มเม็ทท์ ซึ่งหลังจากนั้นกลายมาเป็นประธานของวอร์เนอร์ บราเธอร์สได้ให้สัมภาษณ์ผ่านหนังสือพิมพ์ นิว ยอร์ค ไทม์ ว่า "แม้กฎหมายจะไม่ได้มาสั่งให้เราทำสิ่งเหล่านี้ แต่ผมรู้สึกได้ถึงด้านจริยธรรมที่ผลักดันให้ผมทำสิ่งเหล่านี้ "[55] ไฮดิ แม็คโดนัลด์ ได้เขียนบทความให้กับ นิตยสาร พับลิเชอร์ วีคลีย์ โดยได้บันทึกไว้ว่า นอกจากเรื่องของเงินบำนาญนั้น "วอร์เนอร์ตกลงที่จะใส่ชื่อทั้งชีเกลและชูสเตอร์ในฐานะผู้สร้างและออกแบบซูเปอร์แมนในผลงานหนังสือ, ซีรีส์ และภาพยนตร์ ทุกๆเรื่อง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ".[54]

หลังจากที่เรื่องราวการถือครองลิขสิทธิ์สงบลงได้เพียง 1 ปี ในปี ค.ศ.1976 ปัญหาการถือครองลิขสิทธิ์ก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งครั้งนี้เป็นปัญหาการครอบครองในช่วงเวลา 19 ปีที่เหลือจากทั้งหมด 75 ปี อย่างไรก็ตาม ประเด็นในครั้งนี้คือการยินยอมให้นักเขียนคนอื่นๆเข้ามาดัดแปลงผลงานของพวกเขาจากผลงานดั้งเดิมที่ชีเกลและชูสเตอร์ช่วยกันสร้างขึ้นมาในปี ค.ศ. 1973 กฎหมาย กฎหมายว่าด้วยการครอบครองลิขสิทธิ์ ฉบับปีค.ศ.1976 เริ่มมีผลในปี ค.ศ.1978 และยินยอมให้มีการปรับปรุงสัญญาในหัวข้อที่ว่าด้วยการครอบครองลิขสิทธิ์ก่อนหน้านี้เป็นเวลา 56 ปี ซึ่งนั่นหมายความว่าลิขสิทธิ์การถือครองซูเปอร์แมนนั้นจะกลับมาเป็นของทั้งคู่ในช่วงปีค.ศ.1994 ถึง ค.ศ.1999 โดยยึดตามวันเริ่มจำหน่ายในปี ค.ศ.1938 เจอร์รี่ ชีเกลนั้นได้เสียชีวิตลงในเดือนมกราคม ปีค.ศ.1996 ดังนั้นภรรยาและลูกสาวของเขาจึงกลายเป็นผู้ได้รับสิทธิ์นั้นในปี ค.ศ.1999 ส่วนโจ ชูสเตอร์ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1992 แต่จนถึงปัจจุบันก็ไม่ได้มีการทำสัญญาสิทธิ์การครอบครองให้เป็น ทรัพย์สิน[59]ของชูสเตอร์แต่อย่างใด

ในปีค.ศ.1998 ได้มีการขยายเวลาในการครอบครองลิขสิทธิ์อีกครั้งตามกฎหมายที่ชื่อว่าSonny Bono Copyright Term Extension Act ซึ่งสัญญาการครอบครองฉบับนี้จะถูกขยายออกไปมากกว่าเดิมถึง 95 ปี สัญญาฉบับนี้ถือเป็นสัญญาลิขสิทธิ์ของซูเปอร์แมนที่มีระยะเวลาที่ยาวนานกว่าสัญญาในอดีตที่เคยทำมาทั้งหมด ในเดือนมกราคม ค.ศ.2004 มาร์ค เพียรี่ย์ หลานชายและผู้ครอบครองมรดกตามกฎหมายของ โจ ชูสเตอร์ ได้ออกมากำหนดสิทธิ์ในการครอบครองโดยตัวเขาจะทำการถือครองลิขสิทธิ์ผลงานครึ่งหนึ่งของชูสเตอร์โดยจะมีผลตั้งแต่ปี ค.ศ 2013 [59] เรื่องราวของการแบ่งลิชสิทธิ์การครอบครองกลายมาเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในศาลระหว่างวอร์เนอร์ บราเธอร์สกับเหล่าทายาทของชูสเตอร์ โดยหัวข้อที่ถกเถียงกันนั้นคือเรื่องสัญญาที่ทางเหล่าทายาทของชูสเตอร์ต้องการให้ทำการยกเลิกสัญญาฉบับบเก่าและเขียนสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมา ซึ่งในครั้งนี้ศาลตัดสินให้เหล่าทายาทของชูสเตอร์เป็นผู้ชนะคดี ต่อมาใน เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2004 พวกเขาได้ทำการยื่นฟ้องวอร์เนอร์ บราเธอร์สอีกครั้งในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ ทางวอร์เนอร์ บราเธอร์สจึงได้ทำการฟ้องกลับโดยอ้างว่าพวกเขาได้ปฏิบัติตามสัญญาทุกๆอย่างโดย วอร์เนอร์ บราเธอร์สนั้นได้อาศัยช่องว่างทางกฎหมายที่ไม่ครอบคลุมในสัญญาทำให้ชนะคดีมาได้ในที่สุด[60][61] ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.2008 ผู้พิพากษา ลาร์สัน แห่ง ศาลแขวงอเมริกาแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการออกกฎหมายให้ทรัพย์สินของชูสเตอร์นั้นได้รับสิทธิ์จดทะเบียนในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของอเมริกา ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์นานาชาติที่ ไทม์ วอร์เนอร์ ถือครองลิขสิทธิ์ของตัวละครผ่านทางดีซี ส่วนประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหาก็คือจำนวนเงินค่าตอบแทนของชีเกลที่สมควรจะได้ และได้มีการเรียกร้องสิทธิ์ในผลงานที่ต่อยอดออกมา เช่น ภาพยนตร์ ซึ่งจะมีการตัดสินในภายภาคหน้า อย่างไรก็ตามผลงานทุกอย่างของซูเปอร์แมนตั้งแต่ปีค.ศ 1999 รายได้ทั้งหมดนั้นจะตกเป็นของไทม์ วอร์เนอร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย[62][63] ซึ่งคำตัดสินนี้ถูกประกาศออกมาในมลรัฐแคลิฟอร์เนียโดย ศาลรัฐบาลกลางแห่งอเมริกา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2008[64]

ส่วนลิขสิทธิ์การครอบครองซูเปอร์บอยที่เป็นของภรรยาและลูกสาวของชีเกลนั้นได้หมดลงในปี 2002 ศาลได้มีการตัดสินให้ทั้งคู่ได้ลิขสิทธิ์การครอบครองออกไปอีกในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2006 [65] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ศาลแห่งเดียวกันก็ได้ทำการแก้ไขคำตัดสิน [66] ผลการตัดสินของวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2006 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงผลการตัดสินในครั้งนี้เป็นผลมาจากการยื่นฟ้องของไทม์ วอร์เนอร์ซึ่งในปัจจุบันก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้[62]

ในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ.2009 ครอบครัวของชีเกลไม่ยอมรับต่อคำตัดสินของศาลในเรื่องของค่าลิขสิทธิ์ ผู้พิพากษา จี ลาร์สัน ผู้พิพากษาของศาลแขวงแห่งอเมริกาจึงได้ทำการตัดสินให้ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส และ ดีซีคอมิกส์ต้องทำการชดใช้ค่าเสียหายให้กับครอบครัวของชีเกลโดยคิดเป็นค่าชดเชยจากรายได้ของภาพยนตร์ในปีค.ศ. 2006 ที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน รีเทิร์น และซีรีส์จากสถานีโทรทัศน์ ซี ดับเบิ้ลยู เรื่อง สมอลล์วิลล์ นอกจากนั้นศาลยังมีคำสั่งให้ระงับการถ่ายทำภาพยนตร์ชุดใหม่ของซูเปอร์แมนที่มีกำหนดการเปิดกล้องในปี ค.ศ. 2011 จนกว่าครอบครัวของชีเกลจะได้รับค่าชดเชยที่สมเหตุสมผล[67]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซูเปอร์แมน http://www.amazon.com/Bird-Plane-Superman-Original... http://www.azreporter.com/entertainment/television... http://www.bartleby.com/61/ http://www.blackwell-synergy.com/doi/abs/10.1111/1... http://www.blackwell-synergy.com/doi/full/10.1111/... http://www.cbgxtra.com/default.aspx?tabid=42&view=... http://www.citybeat.com/cincinnati/article-20359-t... http://www.cnn.com/SPECIALS/2002/emmys/print.ballo... http://www.comicbookdb.com/character.php?ID=190 http://www.comicbookdb.com/character.php?ID=296