(หญิง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 13 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก (เฌอ) และก่อนหน้า (ชฎา) ออกเสียงอย่าง ย (ยักษ์) เมื่อเป็นพยัญชนะต้น และออกเสียงอย่าง น (หนู) เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ญ หญิง” อักษร ญ มีเครื่องหมายอยู่ข้างใต้ เรียกว่า เชิง แต่นิยมตัดเชิงออกเป็น เมื่อเขียนคำที่มีสระอุ หรือสระอู เช่น กตัญญู [1]อักษร ญ ตรงกับตัวเทวนาครี "ञ" ภาษาฮินดีแทนด้วยเสียงเสียงนาสิกเพดานแข็ง [ɲ] และกลุ่มภาษาไทยเกือบทั้งหมดใช้เสียงนี้เช่นกัน ยกเว้นภาษาไทยกลางที่มีถิ่นสุโขทัยเท่านั้นที่ใช้ ภาษาไทยกลางถิ่นอื่นแทนด้วยเสียงเปิดเพดานแข็ง [j] และพยัญชนะสะกด ให้เสียงนาสิกปุ่มเหงือก [n] กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศใช้แทนเสียง /ɲ/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด เช่น España เอสปัญญา