ประวัติศาสตร์ ของ ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

การค้นพบ

กาลิเลโอ กาลิเลอีผู้คนพบดวงจันทร์ของกาลิเลโอทั้งสี่ดวง

ผลจากการปรับปรุงกล้องโทรทรรศน์โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี โดยการเพิ่มกำลังขยายขึ้นเป็น 20 เท่า[2] เขาสามารถมองเห็นเทหฟากฟ้าได้ชัดเจนกว่าที่เคยเห็นโดยกล้องโทรทรรศน์เดิม ทำให้กาลิเลโอค้นพบดาวจันทร์ของกาลิเลโอได้ในช่วงราวเดือนธันวาคม พ.ศ. 2152 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2153[1][3]

เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2153 กาลิเลโอได้เขียนจดหมายซึ่งกล่าวถึงดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเป็นครั้งแรก ซึ่งในขณะนั้นเขามองเห็นเพียงสามดวงและเขาเชื่อว่าดวงจันทร์เหล่านั้นมีตำแหน่งที่อยู่คงที่ใกล้กับดาวพฤหัสบดี เขายังได้สังเกตวงโคจรของดวงจันทร์ทั้งสามในระหว่างวันที่ 8 มกราคม ถึง 2 มีนาคม พ.ศ. 2153 ในระหว่างที่เฝ้าสังเกตดวงจันทร์ทั้งสามอยู่นั้นเขาก็ได้ค้นพบดวงจันทร์ดวงที่สี่และจากการสังเกตเขาได้ค้นพบว่าดวงจันทร์ทั้งสี่ไม่ได้อยู่คงที่แต่มันได้โคจรไปรอบๆดาวพฤหัสบดี[1]

การค้นพบของกาลิเลโอได้พิสูจน์ถึงความสำคัญของกล้องโทรทรรศน์ในฐานะเครื่องมือของนักดาราศาสตร์ว่ายังมีเทหวัตถุในอวกาศที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ารอการค้นพบอยู่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นการค้นพบว่ามีเทห์ฟ้าที่โคจรรอบสิ่งอื่นนอกจากโลกได้สั่นคลอนอย่างรุนแรงต่อระบบโลกเป็นศูนย์กลางที่ยอมรับกันในขณะนั้นซึ่งเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและเทหฟากฟ้าอื่นๆทั้งหมดจะโคจรรอบโลก[4] บทความของกาลิเลโอ Sidereus Nuncius (Starry Messenger) ซึ่งประกาศถึงการเฝ้าสังเกตฟากฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ของเขานั้นไม่ได้กล่าวยอมรับทฤษฎีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางซึ่งเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่กาลิเลโอเองก็ยอมรับในทฤษฎีโคเปอร์นิคัส[1] ผลจากการค้นพบครั้งนี้ กาลิเลโอสามารถพัฒนาวิธีการกำหนดลองจิจูดของตำแหน่งในวงโคจรของดวงจันทร์ของกาลิเลโอได้[5]

นักดาราศาสตร์ชาวจีนXi Zezongได้อ้างว่ามีการค้นพบดาวสีแดงขนาดเล็กอยู่ใกล้กับดาวพฤหัสบดีในราว 362 ปีก่อนคริสตกาลโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีนGan Deซึ่งคาดว่าจะเป็นแกนีมีดซึ่งเป็นเวลาราวสองพันปีก่อนการค้นพบของกาลิเลโอ[6]

อุทิศให้แก่ตระกูลเมดีซี

ดาวเมดีซีใน Sidereus Nuncius (the 'starry messenger'), 1610. ดวงจันทร์วาดในตำแน่งต่าง ๆ

ใน พ.ศ. 2148 กาลิเลโอได้รับการว่าจ้างให้เป็นครูสอนคณิตศาสตร์ให้กับโคสิโม เดอ เมดีชี ใน พ.ศ. 2152 คอสิโมได้รับการแต่งตั้งเป็นดยุคคาสิโมที่สองแห่งทุสคานีกาลิเลโอได้รับการอุปถัมภ์จากลูกศิษย์ที่มั่งคั่งและครอบครัวที่ทรงอิทธิพลในการค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี[1] ในวันที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2153 กาลิเลโอได้เขียนจดหมายถึงเลขานุการของดยุค ความว่า:

God graced me with being able, through such a singular sign, to reveal to my Lord my devotion and the desire I have that his glorious name live as equal among the stars, and since it is up to me, the first discoverer, to name these new planets, I wish, in imitation of the great sages who placed the most excellent heroes of that age among the stars, to inscribe these with the name of the Most Serene Grand Duke.[1]

พระเจ้าทรงให้โอกาสฉันแสดงความจงรักภักดีต่อท่านและความปรารถนาของฉันที่ต้องการให้ชื่อของท่านอยู่เสมอดวงดาว ฉันในฐานะผู้ค้นพบคนแรกมีสิทธิ์ที่จะตั้งชื่อดวงดาวเหล่านี้ ฉันปรารถนาที่จะทำตามนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งตั้งชื่อวีรบุรุษที่ยอดเยี่ยมของยุคในหมู่ดวงดาว โดยการตั้งชื่อดาวเหล่านี้ตามดยุคผู้สูงศักดิ์

กาลิเลโอสอบถามว่าเขาควรจะตั้งชื่อดวงจันทร์นี้ว่า "ดาวคอสิโม" ตามชื่อของคอสิโมหรือควรจะตั้งชื่อว่า "ดาวเมดีซี" เพื่อเป็นเกียรติแก่พี่น้องทั้งสี่ของตระกูลเมดีซี เลขานุการกล่าวว่าชื่อหลังเหมาะสมที่สุด[1]

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2153 กาลิเลโอได้เขียนจดหมายอุทิศให้แก่ดยุคแห่งทุสคานีและได้ส่งสำเนาให้ดยุคในวันต่อมาโดยหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากดยุคโดยเร็วที่สุด ในวันที่ 19 มีนาคม เขาได้ส่งกล้องโทรทรรศน์ของเขาที่ใช้ในการส่องดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเป็นครั้งแรกให้แก่ดยุคพร้อมด้วยสำเนาอย่างถูกต้องของ Sidereus Nuncius (The Starry Messenger) ซึ่งแสดงว่าเขาได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเลขานุการโดยการตั้งชื่อดวงจันทร์ทั้งสี่ดวงว่า Medician Stars[1] กาลิเลโอเขียนอารัมภบทว่า:

Scarcely have the immortal graces of your soul begun to shine forth on earth than bright stars offer themselves in the heavens which, like tongues, will speak of and celebrate your most excellent virtues for all time. Behold, therefore, four stars reserved for your illustrious name ... which ... make their journeys and orbits with a marvelous speed around the star of Jupiter ... like children of the same family ... Indeed, it appears the Maker of the Stars himself, by clear arguments, admonished me to call these new planets by the illustrious name of Your Highness before all others.[1]

เป็นที่น่ายินดีอย่างหามิได้ ดวงดาวทั้งสี่เป็นสิทธิของท่านในการตั้งชื่อซึ่งทำให้การเดินทางและการโคจรด้วยความเร็วอันน่าอัศจรรย์รอบดาวพฤหัสบดีคล้ายกับเด็กๆจากครอบครัวเดียวกัน อันที่จริงมันคล้ายกับว่าผู้สร้างดวงดาวเหล่านี้ได้ปรากฏตัวเพื่อเตือนสติให้ฉันเรียกดวงดาวเหล่านี้ตามชื่อของท่านดยุค

ชื่อ

อุปกรณ์ในสมันกลางศตวรรษที่ 18 ใช้เพื่อแสดงวงโคจรดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี

กาลิเลโอแรกเริ่มได้ตั้งชื่อดวงจันทร์ที่เขาค้นพบว่า ดวงดาวของคอสิโม ("Cosimo's stars") เพื่อเป็นเกียรติแก่โคสิโม เดอ เมดีชี ต่อมากาลิเลโอได้เปลี่ยนชื่อเป็น Medicea Sidera ("the Medician stars") ตามคำแนะนำของคอสิโมเพื่อเป็นเกียรติแก่พี่น้องทั้งสี่คนของตระกูลเมดีซี (คอสิโม (Cosimo), ฟรานเชสโก (Francesco), คาร์โล (Carlo), และ ลอเรนโซ (Lorenzo)) การค้นพบถูกประกาศใน Sidereus Nuncius ("Starry Messenger") ตีพิมพ์ที่เมืองเวนิช (เวนิส) ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2153 ซึ่งเป็นเวลาน้อยกว่าสองเดือนหลังการสังเกตพบในครั้งแรก

ชื่ออื่นๆ ซึ่งถูกเสนอพร้อมกัน:

ส่วนชื่อที่มีโอกาสชนะมากกว่าถูกเสนอโดย Simon Marius ซึ่งเป็นผู้ค้นพบดวงจันทร์ทั้งสี่นี้ในช่วงเวลาเดียวกันกับกาลิเลโอ ชื่อดวงจันทร์นี้ได้รับการแนะนำจาก โยฮันเนส เคปเลอร์ เป็นชื่อตามเทพเจ้าที่เป็นคนรักของ ซูส (Zeus) ได้แก่ ไอโอ (Io) ยูโรปา (Europa) แกนิมิด (Ganymede) และ คาลลิสโต (Callisto)  ซึ่งตีพิมพ์ Mundus Jovialis ใน พ.ศ. 2157[8]

กาลิเลโอปฏิเสธการใช้ชื่อที่มาริอุสตั้งโดยได้คิดค้นระบบการเรียกลำดับซึ่งยังคงถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้ควบคู่ไปกับการใช้ชื่อเรียกดวงจันทร์ ลำดับเลขเรียงจากด้านในออกสู่ด้านนอก ดังนั้น I, II, III และ IV สำหรับ ไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa), แกนิมิด (Ganymede), และ คาลลิสโต (Callisto) ตามลำดับ[8] กาลิเลโอใช้ระบบนี้ในสมุดบันทึกของเขาแต่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ ชื่อตามลำดับ (Jupiter x) ถูกใช้มาจนถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการค้นพบดวงจันทร์ดวงอื่นซื่งอยู่ด้านใน จากนั้นชื่อตามที่มาริอุสตั้งจึงถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย[8]

ใกล้เคียง

ดวงจันทร์ ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ ดวงจันทร์ของดาวอังคาร ดวงจันทร์ยูโรปา ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน ดวงจันทร์บริวาร ดวงจันทร์สีน้ำเงิน ดวงจันทร์ไทรทัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ http://books.google.com/books?id=eF4LAQAAIAAJ&pg=P... http://www.newscientist.com/article.ns?id=dn1647 http://www.newscientist.com/article/mg20126984.300... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://www.skyandtelescope.com/observing/objects/j... http://www.solarviews.com/eng/europa.htm http://www.space.com/2954-time-europa.html http://strangepaths.com/observation-of-jupiter-moo... http://www.lpl.arizona.edu/~showman/publications/s... http://geology.asu.edu/~glg_intro/planetary/p8.htm