การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ของ ดอกซีไซคลีน

นอกเหนือจากข้อบ่งชี้ทั่วไปสำหรับยาปฏิชีวนะทุกชนิดในกลุ่มเตตราไซคลีนแล้ว ดอกซีไซคลีนมักถูกใช้เพื่อรักษาโรคไลม์, ต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง, โพรงอากาศอักเสบ, ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน[28][29] สิวที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, โรคโรซาเชีย (Rosacea),[30][31] และการติดเชื้อแบคทีเรียสกุลริคเค็ทเซีย[32]

เมื่อปี ค.ศ. 2004 ในแคนาดา ดอกซีไซคลีนได้ถูกกำหนดให้เป็นยาปฏิชีวนะทางเลือกแรกสำหรับการรักษาท่อปัสสาวะอักเสบที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ไม่ใช่สกุลโกโนคอคคอลและสกุลคลาไมเดีย โดยใช้ร่วมกับเซฟิกซิมในการรักษาหนองในที่ไม่ซับซ้อน[33]

การใช้เพื่อต้านโปรโตซัว

ดอกซีไซคลีนถูกนำมาใช้เป็นยาสำหรับป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียในผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคดังกล่าว นอกจากนี้ยังสามารถใช้ยานี้สำหรับการรักษาโรคดังกล่าวได้ด้วย แต่ไม่ควรใช้ดอกซีไซคลีนเดี่ยวๆในการรักษามาลาเรียในระยะแรกของการรักษา ถึงแม้ว่าเชื้อก่อโรคนั้นๆจะยังคงมีความไวต่อดอกซีไซคลีนก็ตาม เนื่องจากฤทธิ์ในการต้านมาลาเรียของดอกซีไซคลีนนั้นไม่อาจมีผลได้ในทันที ซึ่งเป็นผลมาจากกลไกการออกฤทธิ์ของดอกซีไซคลีนที่ต้องใช้เวลาสักระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเหนี่ยวนำให้การแบ่งเซลล์ของเชื้อสาเหตุเกิดความผิดปกติ เนื่องจากความผิดปกติของโปรตีนสังเคราะห์ได้ยีนอะพิโคพลาสต์[34] ด้วยเหตุนี้ทำให้การรักษามาลาเรียด้วยดอกซีไซคลีนจึงมักให้ร่วมกับยาต้านมาลาเรียชนิดอื่น เช่น ควินีน เป็นต้น[35]

การใช้เพื่อต้านแบคทีเรีย

โดยส่วนใหญ่แล้ว Moraxella catarrhalis, Brucella melitensis, Chlamydia pneumoniae, และ Mycoplasma pneumoniae นั้นเป็นแบคทีเรียที่มีความไวต่อดอกซีไซคลีน ในขณะที่ Haemophilus spp., Mycoplasma hominis, และ Pseudomonas aeruginosa บางสเตรนได้เกิดการพัฒนาสายพันธุ์ให้ดื้อต่อดอกซีไซคลีน ซึ่งมีความรุนแรงของการดื้อยาในระดับที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่[36] นอกจากนี้ ดอกซีไซคลีนยังเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาพิจารณาใช้เพื่อการป้องกันและรักษาโรคแอนแทรกซ์และโรคฉี่หนู[37] และยังมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซิเนีย เพสทิส (แบคทีเรียที่ทำให้เกิดการระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ที่เรียกว่า กาฬมรณะ), โรคไลม์,[38][39][40][41] โรคเออร์ลิชิโอสิส (Ehrlichiosis)[42][43] และโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อกกี (Rocky Mountain spotted fever)[44]

ในปัจจุบัน ดอกซีไซคลีนมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่อไปนี้:[44][45]

2
The unnamed parameter 2= is no longer supported. Please see the documentation for {{columns-list}}.

ในกรณีเชื้อก่อโรคเป็นแบคทีเรียแกรมลบ เมื่อการทดสอบถึงความไวของเชื้อก่อโรคแล้วพบว่ายังมีความไวต่อดอกซีไซคลีน อาจพิจารณาใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษาโรคติดเชื้อเหล่านี้ได้:[44][45]

อย่างไรก็ตาม แบคทีเรียแกรมบวกบางสายพันธุ์ได้มีการปรับตัวให้ดื้อต่อดอกซีไซคลีน ตัวอย่างเช่น เชื้อตัวอย่างราวร้อยละ 44 ของสายพันธุ์ Streptococcus pyogenes และมากกว่าร้อยละ 74% ของสายพันธุ์ S. faecalis นั้นได้มีการพัฒนาตนให้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเตตราไซคลีน ดังนั้น หากจะพิจารณาใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกต่อไปนี้ ควรมีการทดสอบถึงความไวของเชื้อก่อโรคดังกล่าวต่อดอกซีไซคลีนก่อนเสมอ:[44][45]

ในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้ต่อยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน อาจพิจารณาใช้ดอกซีไซคลีนเป็นยาทางเลือกรองได้ สำหรับข้อบ่งใช้ต่อไปนี้:[44][45]

2
The unnamed parameter 2= is no longer supported. Please see the documentation for {{columns-list}}.

นอกจากนี้ ดอกซีไซคลีนยังได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาให้ใช้เป็นยาปฏิชีวนะทางเลือกรองที่ใช้สำหรับการรักษาสิวอักเสบรุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย[44][45] อย่างไรก็ตาม ในบางข้อบ่งใช้นั้นไม่อาจใช้ดอกซีไซคลีนเดี่ยวๆในการรักษาได้ เนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาไม่ดีเท่าที่ควรและทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการดื้อยาของเชื้อสาเหตุได้มากขึ้น จึงมักมีการใช้ดอกซีไซคลีนร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่นในข้อบ่งใช้นั้นๆ อาทิ โรคแท้งติดต่อ ซึ่งดอกซีไซคลีนจัดเป็นยาทางเลือกแรกแต่ต้องใช้การรักษาร่วมกับสเตรปโตมัยซิน และเป็นทางเลือกรองเมื่อให้การรักษาร่วมกับไรแฟมพิซิน (ไรแฟมพิน)[49]

การใช้เพื่อต้านปรสิต

ดอกซีไซคลีนมีประสิทธิภาพดีในการฆ่าแบคทีเรียวอลบาเคียที่ดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis) อยู่ในระบบสืบพันธุ์ของปรสิตจำพวกนีมาโทดาอย่างพยาธิฟิลาเรีย (Filariasis) ทำให้ระบบสืบพันธุ์ของพวกนีมาโทดาปราศจากแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ และส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์ของนีมาโทดนั้นๆ จากการออกฤทธิ์ของดอกซีไซคลีนต่อแบคทีเรียในระบบสืบพันธุ์ของนีมาโทดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทำให้สามารถลดการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อบางชนิดที่เกิดจากปรสิตเหล่านั้นลงได้ อาทิ โรคพยาธิตาบอด และ โรคเท้าช้าง เป็นต้น[50] การศึกษาทางคลินิกในปี ค.ศ. 2005 พบว่า การรักษาด้วยดอกซีไซคลีนเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 8 สัปดาห์สามารถกำจัดตัวอ่อนไมโครฟิลาเรีย (microfilaria) ของหนอนพยาธิฟิลาเรียออกไปได้เกือบทั้งหมด[51]

ความไวของจุลชีพต่อยา

ดอกซีไซคลีนถือเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพดีอย่างยิ่งในการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงการติดเชื้อในตา ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียสกุลChlamydia, Streptococcus, Ureaplasma, Mycoplasma และอื่นๆ การวัดค่าความเข้มข้นยาที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ (MIC susceptibility test) ของดอกซีไซคลีนต่อแบคทีเรียบางชนิด ดังแสดงต่อไปนี้[52]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดอกซีไซคลีน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.10482... http://www.costco.com/Pharmacy/drug-results-detail... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0163-... http://www.fiercepharmamanufacturing.com/story/hik... http://www.goodrx.com/doxycycline-hyclate?drug-nam... http://www.ijidonline.com/article/S1201-9712 http://www.jle.com/en/revues/medecine/ejd/e-docs/0... http://www.jpgmonline.com/article.asp http://law.justia.com/cases/federal/district-court... http://www.toku-e.com/Assets/MIC/Doxycycline%20hyc...