ดาวอังคาร
ดาวอังคาร

ดาวอังคาร

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งดาวอังคาร (อังกฤษ: Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ[15] ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่[16][17] ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้[18][19] คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกาก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ[20] ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว[21] และที่ละติจูดกลาง[22][23] ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008[24]มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร[25] ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ[26]กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ไวกิง โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี[27][28] มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ [29][30]ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91[6] ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก[31]

ดาวอังคาร

พื้นที่ผิว:
144,798,500 ตารางกิโลเมตร
(0.284 เท่าของโลก)
เดคลิเนชันของขั้วเหนือ: 52.88650°
องค์ประกอบ:
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น: 49.562°
คาบดาราคติ:
ดาวบริวารของ: ดวงอาทิตย์
อุณหภูมิพื้นผิว:   เคลวิน   เซลเซียสต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
130 K210 K[6]308 K
−143 °C[8]-63 °C35 °C[9]
คาบซินอดิก:
779.94 วัน
(2.135 ปีจูเลียน)
คาบการหมุนรอบตัวเอง:
1.025957 วัน
(24ชั่วโมง 37นาที 22วินาที)[4]
กึ่งแกนเอก:
227,939,100 กิโลเมตร
(1.523679 หน่วยดาราศาสตร์)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 3.9335±0.0004 กรัม/ซม.³[4]
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง:
868.22 กิโลเมตร/ชั่วโมง
241.17 เมตร/วินาที (ที่ศูนย์สูตร)
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 286.537°
รัศมีตามแนวขั้ว:
3,376.2±0.1 กิโลเมตร[lower-alpha 1][3]
(0.531 เท่าของโลก)
ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด:
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร:
21.972 กิโลเมตร/วินาที
ความเร็วหลุดพ้น: 5.027 กม./วินาที
รัศมีเฉลี่ย:
3,389.5±0.2 กิโลเมตร[lower-alpha 1][3]
ความเอียงของแกน: 25.19° กับระนาบการโคจร[6]
ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ:
317.68143°
(21ชั่วโมง 10นาที 44วินาที)
ขนาดเชิงมุม: 3.5 – 25.1[6]
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด:
206.62 ล้านกิโลเมตร
(1.3814 หน่วยดาราศาสตร์)
อัตราส่วนโมเมนต์ความเฉื่อย: 0.3662±0.0017[5]
อนอมัลลีเฉลี่ย: 19.3564 องศา (°)
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร:
24.077 กิโลเมตร/วินาที
โชติมาตรปรากฏ: +1.6[10] ถึง −2.91[6]
ปริมาตร:
1.6318×1011 กม.³[4]
(0.151 เท่าของโลก)
อัตราส่วนสะท้อน:
รัศมีตามแนวศูนย์สูตร:
3,396.2±0.1 กิโลเมตร[lower-alpha 1][3]
(0.533 เท่าของโลก)
เส้นรอบวงของวงโคจร: 1.429 เทระเมตร
(9.553 หน่วยดาราศาสตร์)
ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว:
0.636 กิโลปาสกาล
(ผันแปรจาก 0.4 ถึง 0.87)[6][11]
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร:
26.499 กิโลเมตร/วินาที
ความเอียง:
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร: 3.711 เมตร/วินาที²[4]
0.376 จี
มวล:
6.4185×1023 กิโลกรัม[4]
(0.107 เท่าของโลก)
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.0935±0.0001
จำนวนดาวบริวาร: 2
ความแป้น: 0.00589±0.00015

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดาวอังคาร http://space.about.com/od/mars/a/Mars-Moon-Mystery... http://www.astropro.com/features/tables/geo/su-ma/... http://www.bbc.com/news/science-environment-357997... http://www.cnn.com/2016/10/11/opinions/america-wil... http://www.csmonitor.com/Science/2015/0105/Life-on... http://discovermagazine.com/1992/sep/marsinearthsi... http://dsc.discovery.com/news/2008/03/04/mars-aval... http://dualmoments.com/marsrovers/index.html http://www.euronews.com/2015/05/21/mars-mystery-ex... http://apnews.excite.com/article/20150506/ml--emir...