ดาวเทียมสำรวจโลก
ดาวเทียมสำรวจโลก

ดาวเทียมสำรวจโลก

ดาวเทียมสำรวจโลกคือดาวเทียมที่ออกแบบมาเพื่อ หรือใช้สำหรับสำรวจโลกจากวงโคจร ซึ่งรวมถึงดาวเทียมสอดแนมและอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับกิจการพลเรือน เช่น การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม อุตุนิยมวิทยา การทำแผนที่ เป็นต้นดาวเทียมที่พบมากที่สุดคือดาวเทียมถ่ายภาพโลก ซึ่งถ่ายภาพทางดาวเทียมคล้ายกับการถ่ายภาพทางอากาศ แต่ดาวเทียมสำรวจโลกบางดวงอาจใช้วิธีการรับรู้ระยะไกลโดยไม่สร้างรูปภาพขึ้นมา เช่น GNSS radio occultationดาวเทียมสำรวจด้วยการรับรู้ระยะไกลเกิดขึ้นครั้งแรกพร้อม ๆ กับการปล่อยดาวเทียมครั้งแรก คือ สปุตนิก 1 ของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500)[1] โดยสปุตนิก 1 ส่งคลื่นวิทยุกลับมาบนโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาไอโอโนสเฟียร์[2] สำหรับสหรัฐอเมริกา นาซาได้ปล่อยดาวเทียมดวงแรกของอเมริกา คือ en:Explorer 1 เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) ซึ่งข้อมูลที่ดาวเทียมส่งกลับมาจากเครื่องตรวจจับรังสีทำให้เกิดการค้นพบแถบรังสีแวนอัลเลนขึ้น[3] และดาวเทียม TIROS-1 ที่ปล่อยเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ภายใต้โครงการ Television Infrared Observation Satellite (TIROS) ของนาซา ส่งภาพโทรทัศน์ของรูปแบบสภาพอากาศจากอวกาศลงมาครั้งแรก[1]จากข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2551[update] ในวงโคจรของโลกมีเคยดาวเทียมสำรวจมากกว่า 150 ดวงที่เก็บข้อมูลผ่านเครื่องตรวจจับข้อมูลและรับข้อมูลมากกว่า 10 terabits ทุกวัน[1]ดาวเทียมสำรวจโลกส่วนมากจะมีเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการทำงานที่ความสูงอยู่ระดับต่ำ แต่จะหลีกเลี่ยงความสูงที่ต่ำกว่า 500-600 กิโลเมตรเพราะมีแรงต้านสสารที่มากในความสูงระดับต่ำมาก ทำให้ต้องมีการดันความสูงวงโคจรอยู่บ่อยครั้ง เช่นดาวเทียมสำรวจต้องอยู่ที่วงโคจรต่ำและวงโคจรผ่านขั้วโลกเพื่อที่จะให้ครอบคลุม(เกือบ)ทั่วโลก วงโคจรที่ต่ำจะมีคาบการโคจรประมาณ 100 นาทีและในระหว่างนั้นโลกก็หมุนไป 25° ทำให้เส้นทางของดาวเทียมเทียบกับเส้นทางในวงโคจรรอบที่แล้วรอบก่อนขยับไปทางทิศตะวันตก 25° องศาด้วย และทำให้การติดตามยานอวกาศทางภาคพื้นดินเลื่อนไปทางทิศตะวันตก 25° องศา และดาวเทียมส่วนมากจะอยู่ในวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ยานอวกาศที่มีเครื่องมือสำหรับความสูงที่ 36,000 กิโลเมตรอาจใช้วงโคจรค้างฟ้าแทน ซึ่งวงโคจรระดับนี้ทำให้สามารถเห็นโลกได้มากกว่า 1/3 โดยไม่ถูกขัดจังหวะ ทำให้ยานอวกาศในวงโคจรค้างฟ้า 3 ดวงที่อยู่ห่างกัน 120° สามารถครอบคลุมได้เกือบทั้งโลกยกเว้นส่วนขั้วโลก และดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศส่วนมากจะใช้วงโคจรนี้

ใกล้เคียง

ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียม ดาวเทียมสำรวจโลก ดาวเทียมสปุตนิก 1 ดาวเทียมไทยโชต ดาวเทียมไกอา ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสัน ดาวเทียมฮิปปาร์โคส ดาวเทียมธีออส-2

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดาวเทียมสำรวจโลก http://mbrsc.ae/en/page/dubai-sat-1 http://mbrsc.ae/en/page/dubai-sat-2 http://www.sasmac.cn/portal/html/fc4f335929b0df0d0... http://www.spaceref.com/news/viewpr.html?pid=15216 http://earthobservatory.nasa.gov/Drought/ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19498953 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2690060 http://www.nesdis.noaa.gov/satellites.html //doi.org/10.1016%2Fj.asr.2015.02.033 //doi.org/10.1511%2F2008.74.390