ลักษณะและการใช้งานของดาวเทียม ของ ดาวเทียมไทยคม

ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารภายใต้ชื่อ ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 8 ดวง ใช้งานได้จริง 5 ดวง ดังนี้

ภาพรวม

ดาวเทียมไทยคม
ดาวเทียมผู้ผลิตวันขึ้นสู่อวกาศ
(UTC)
จรวดสถานที่ปล่อยจรวดผู้รับจ้างลองจิจูดสถานะอ้างอิง
ไทยคม 1Hughes Space Aircraft18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 Ariane 4 (44L) Kourou ELA-2 Arianespace120° ตะวันออกปลดระวาง
ไทยคม 2Hughes Space Aircraft8 ตุลาคม พ.ศ. 2537 Ariane 4 (44L) Kourou ELA-2 Arianespace78.5° ตะวันออกปลดระวาง
ไทยคม 3อาเอร็อสปาซียาล,
now Thales Alenia Space
16 เมษายน พ.ศ. 2540 Ariane 4 (44LP) Kourou ELA-2 Arianespaceปลดระวาง
(ออกจากวงโคจร 2 ตุลาคม 2006)
ไทยคม 4 (IPSTAR)Space Systems/Loral สหรัฐอเมริกา11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 Ariane 5 EGS Kourou ELA-3 Arianespace119.5° ตะวันออกปฏิบัติการ[1]
ไทยคม 5Alcatel Alenia Space ฝรั่งเศส27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 Ariane 5 ECA Kourou ELA-3 Arianespace78.5° ตะวันออกปฏิบัติการ[2]
ไทยคม 6Orbital Sciences Corporation6 มกราคม พ.ศ. 2557 Falcon 9 v1.1 Cape Canaveral SLC-40 สเปซเอ็กซ์78.5° ตะวันออกปฏิบัติการ[3]
ไทยคม 7Space Systems/Loral สหรัฐอเมริกา7 กันยายน พ.ศ. 2557 Falcon 9 v1.1 Cape Canaveral SLC-40 สเปซเอ็กซ์120° ตะวันออกปฏิบัติการ[4]
ไทยคม 8Orbital Sciences Corporation28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 Falcon 9 v1.2 Cape Canaveral SLC-40 สเปซเอ็กซ์78.5° ตะวันออกปฏิบัติการ

ไทยคม 1

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)

เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"

ไทยคม 2

ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 104°24'57.7 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี ก่อนที่จะตกลงสู่มหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ 2562

ไทยคม 3

ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ

ไทยคม 4

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6,805 กก.

ไทยคม 5

ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี และครอบคลุม 18 แห่ง ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก [5] [6] [7]

) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3

ไทยคม 6

ไทยคม6 เป็นดาวเทียม สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation แต่ขนส่งโดยบริษัท SpaceX เนื่องจากดาวเทียมดวงนี้มีน้ำหนักถึง 3,000 กิโลกรัม จรวดของ Orbital Sciences Corporation ไม่สามารถขนส่งได้ ชื่อของจรวจของ SpaceX ที่ส่งดาวเทียม "ไทยคม 6" คือ "Falcon 9" มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)

ไทยคม 7

ไทยคม 7 เป็นดาวเทียมประเภท 3 แกน รุ่น FS1300 ผลิตโดย บริษัท สเปซ สิสเต็มส์/ลอเรล ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรัฐอเมริกา มวลในวงโคจร ประมาณ 3,700 กิโลกรัม มีอายุการใช้งานนาน 15 ปี ประกอบด้วยย่านความถี่ ซี-แบนด์ (C-Band) จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ ซึ่งมีพื้นที่ให้บริการกว้างครอบคลุมภูมิภาคเอเชียใต้ อินโดจีน รวมถึงออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ภายในบีมเดียวกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อข้ามภูมิภาคได้ ดาวเทียมไทยคม 7 จะจัดสร้างแล้วเสร็จและจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ณ ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออกได้ในปี 2557.

ไทยคม 8

ไทยคม8 เป็นดาวเทียมรุ่นใหม่ สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ไทยคม 8 โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เดียวกับ ไทยคม 5 และ ไทยคม 6 มีน้ำหนักราว 3,100 กิโลกรัม มีจานรับส่งสัญญาณ เคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 24 ทรานสพอนเดอร์ ซึ่งมีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียใต้ และทวีปแอฟริกา ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง ทั้ง (High Definition TV) และ (Ultra High Definition TV)

ใกล้เคียง

ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียม ดาวเทียมสปุตนิก 1 ดาวเทียมสำรวจโลก ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมไทยโชต ดาวเทียมไกอา ดาวเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสัน ดาวเทียมฮิปปาร์โคส ดาวเทียมธีออส-2

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดาวเทียมไทยคม http://www.ipstar.com/en/tech_space_key.htm http://www.spacenews.com/satellite_telecom/110531-... http://www.oknation.net/blog/print.php?id=4235 http://www.prachachat.net/ict/news-367130 http://www.thaicom.net/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89... http://www.thaicom.net/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89... http://www.thaicom.net/SAT_THCOM4.aspx http://www.thaicom.net/SAT_THCOM5.aspx http://www.thaicom.net/SAT_THCOM6.aspx http://www.thaicom.net/SAT_THCOM7.aspx