ดาวเสาร์
ดาวเสาร์

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รองจาก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า[3][4] แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า[5][6][7] ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้าดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกของเราได้ไม่ดีนัก

ดาวเสาร์

เดคลิเนชันของขั้วเหนือ: 83.54°
พื้นที่ผิว: 4.27×1010 กม.²
(83.703×โลก)
องค์ประกอบ: >93% ไฮโดรเจน
>5% ฮีเลียม
0.2% มีเทน
0.1% ไอน้ำ
0.01% แอมโมเนีย
0.0005% อีเทน
0.0001% ไฮโดรเจนฟอสไฟด์
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น: 113.71504°
คาบดาราคติ: 10,757.7365 วัน
(29.45 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก: 378.09 วัน
คาบการหมุนรอบตัวเอง: 0.4440092592 วัน
(10 ชม. 39 นาที 22.40000 วินาที)
กึ่งแกนเอก: 1,426,725,413 กม.
(9.53707032 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร: 120,536 กม.
(9.449×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 0.68730 กรัม/ซม.³ (น้อยกว่าน้ำ)
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง: 9.87 กม./วินาที
(35,500 กม./ชม.)
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 338.71690°
ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: 1,503,983,449 กม.
(10.05350840 หน่วยดาราศาสตร์)
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร: 9.136 กม./วินาที
ความเร็วหลุดพ้น: 35.49 กม./วินาที
ความเอียงของแกน: 26.73°
ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ: 40.59°
(2 ชั่วโมง 42 นาที 21 วินาที)
อุณหภูมิพื้นผิว:   เคลวินต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
82 K143 K
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 1,349,467,375 กม.
(9.02063224 หน่วยดาราศาสตร์)
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร: 9.638 กม./วินาที
ปริมาตร: 7.46×1014 กม.³
(688.79×โลก)
อัตราส่วนสะท้อน: 0.47
เส้นรอบวงของวงโคจร: 59.879 หน่วยดาราศาสตร์
ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว: 140 กิโลปาสกาล
ความเอียง: 2.48446°
(5.51° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร: 10.182 กม./วินาที
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร: 10.456เมตร/วินาที²
(1.066 จี)
มวล: 5.6846×1026 กก.
(95.162×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้ว: 108,728 กม.
(8.552×โลก)
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.05415060
อุณหภูมิ: 93 K (ที่ยอดเมฆ)
จำนวนดาวบริวาร: 61[1][2]
ความแป้น: 0.09796

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดาวเสาร์ http://www.astronomycast.com/astronomy/episode-59-... http://www.astrophysicsspectator.com/tables/Planet... http://www.astrophysicsspectator.com/tables/Saturn... http://www.sciencedaily.com/news/space_time/saturn... http://scienceray.com/astronomy/general-informatio... http://www.solarviews.com/eng/saturn.htm http://nssdc.gsfc.nasa.gov/planetary/factsheet/sat... http://saturn.jpl.nasa.gov/home/index.cfm http://saturn.jpl.nasa.gov/news/features/feature20... http://mynasa.nasa.gov/worldbook/saturn_worldbook....